การส่งเสริมการเรียนรู้ที่ทำให้ลูกน้อยได้คิด มีส่วนร่วมและลงมือทำด้วยตัวเอง เช่น การอ่านนิทาน การเล่นกีฬา การเล่นดนตรี การทำงานศิลปะ การเล่นเกมที่ต้องเล่นร่วมกับคนอื่น หรือเกมประเภทลับสมอง หรือไขปริศนา จะช่วย “พัฒนาสมองส่วนหน้า” ให้ลูกน้อยได้คิด แก้ปัญหา
รศ.ดร. นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “การส่งเสริมให้ลูกมีทักษะ “การคิดเชิงบริหาร” (Executive Functions) หรือที่เราเรียกสั้นๆ กันว่า EF ก็คือการเลี้ยงดูปกติ ไม่ต้องซื้อหาอะไรราคาแพง เพียงแต่ให้เวลากับลูก พูดคุยกับลูก มีหลายครอบครัวที่คิดว่า แค่ให้ที่อยู่ อาหาร และของเล่น แก่ลูกก็เพียงพอแล้ว ซึ่งจริงๆ แล้วไม่พอ พ่อแม่ต้องมีเวลาเล่นกับลูกด้วย”
กิจกรรม “พัฒนาสมองส่วนหน้า”
1.อ่านนิทานให้ลูกฟัง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
2.ของเล่นที่เหมาะสมตามวัย
อ่านต่อ “4 กิจกรรม ช่วยพัฒนาสมองส่วนหน้าให้ลูกน้อย” คลิกหน้า 2
3.เกมประเภทลับสมอง (Puzzle)
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
4.กิจกรรมที่ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก
อ่านต่อ “พัฒนาสมองส่วนหน้าเริ่มต้นอย่างไร?” คลิกหน้า 3
1.เด็กต้องมีพื้นฐานที่ดีก่อน
หมายถึง พ่อแม่ต้องไม่ละทิ้งการเลี้ยงดูเด็กแบบปกติ ได้แก่ การให้ความรักความอบอุ่น ให้อาหารที่เพียงพอ ที่อยู่อาศัยปลอดภัย หากเด็กไม่ได้รับสิ่งเหล่านี้ครบถ้วน เขาก็จะไม่พร้อมจะเรียนรู้เรื่องใดๆ เพราะสุขภาพกาย และใจเขาไม่แข็งแรงสมบูรณ์พอ
2.ให้เวลา
เมื่อพ่อแม่ให้ปัจจัย 4 แก่ลูกน้อยอย่างครบถ้วนแล้ว ขณะเดียวกัน ลูกก็ต้องการเวลาจากพ่อแม่ด้วย เวลาที่ว่านี้คือ เวลาในการพูดคุย สั่งสอน ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การเล่นหรืออ่านนิทาน เป็นต้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
3.พ่อแม่ต้องเป็นสมองส่วนหน้าแทนลูก
เพราะสมองส่วนหน้าของผู้ใหญ่พัฒนาสมบูรณ์แล้ว ดังนั้นพ่อแม่จึงต้องนำทักษะ EF ที่มีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการสอนลูก
ยกตัวอย่างสถานการณ์ เช่น ลูกถือแก้วน้ำมาแล้วทำน้ำหก วิธีสอนแบบ EF ก็คือ แทนที่จะดุด่าทันที ให้พูดกับลูกว่า “น้ำหกเหรอลูก ไม่เป็นไรนะ เรามาช่วยกันเช็ด หนูไปหยิบผ้ามานะ แม่รู้ว่าหนูไม่ได้ตั้งใจ คราวหน้าหนูก็ระวังหน่อยนะ”
ผลที่ได้คือ หากคราวหน้าเขาทำน้ำหกอีก เขาจะรู้ได้โดยที่เราไม่ต้องบอกว่าต้องหาผ้ามาเช็ดให้สะอาด ลูกจะเรียนรู้ปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาได้ ในทางตรงกันข้าม หากพ่อแม่ไม่ใช้ทักษะ EF เลย ก็จะลงเอยด้วยการโกรธ ดุด่า ตี แต่ไม่สอน เมื่อลูกทำน้ำหกแล้วโดนตีหรือว่าทันที เขาจะไม่เข้าใจ เพราะเขาไม่ได้ตั้งใจทำน้ำหก ทำไมเขาถึงถูกตี และคราวต่อไปเขาจะกลัว ไม่กล้าหยิบจับหรือทำอะไรอีกเลย หรือทำก็ทำได้ไม่ดีเพราะจะกลัวถูกตีตลอดเวลา
อ่านต่อ บทความน่าสนใจ
เรียนแบบไหน? ส่งเสริมให้ลูกน้อยเก่งรอบด้าน
สอนให้ลูกปรับตัวเข้ากับคนแต่ละเจนเนอเรชั่น
นิตยสาร Amarin Baby & Kids ฉบับเดือนกันยายน 2559
Save