คุณพ่อ คุณแม่เคยสงสัยกันบ้างไหม ว่าทำไมเด็กผู้หญิงถึงดูเรียนเก่ง และทำอะไรได้ดีกว่าเด็กผู้ชาย หลายคนอาจจะเข้าใจว่าเป็นทักษะส่วนตัวที่ได้ฝึกฝนมา เพราะผู้หญิงเป็นเพศที่อดทน และมีความตั้งใจมากกว่า เรามาดู สมองเด็กหญิงชาย ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรกันค่ะ
อาจารย์ธิรดา สุวัณณะศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษา & Holistic Medicine ได้ให้ความรู้เอาไว้ดังนี้
การที่เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงมีความแตกต่างกันทางความคิดและการแสดงออก เป็นเพราะฮอร์โมนเพศ ในช่วงแรกของชีวิต คือช่วงก่อนคลอด และหลังคลอด ทารกชายจะเพิ่มการสร้างฮอร์โมน testosterone มากขึ้น ในช่วงสัปดาห์ที่ 8 – 24 ก่อนคลอด และสัปดาห์ที่ 2 – 26 หลังคลอด ทำให้เด็กผู้ชาย และเด็กผู้หญิงแตกต่างกัน พฤติกรรมจะเริ่มแตกออกมาเมื่ออายุครบ 1 ขวบ คือ
- เด็กผู้ชาย จะมีความก้าวร้าว ความซุกซน ชอบของเล่นที่เคลื่อนไหวได้ เช่น รถ เครื่องบิน ปืน
- เด็กผู้หญิง จะเลียนแบบพฤติกรรมของคุณแม่ และชอบเล่นตุ๊กตา ประมาณ 80-90%
ความแตกต่างของสมองเด็กหญิงชาย
สมองของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ซีก แต่ละซีกควบคุมการทำงานของร่างกายฝั่งตรงข้าม เช่น สมองข้างขวาควบคุมการทำงานของร่างกายข้างซ้าย และสมองข้างซ้ายควบคุมการทำงานของสมองข้างขวา และมีขนาดใหญ่ไม่เท่ากัน โดยธรรมชาติจะสร้างสมองซีกซ้ายให้ใหญ่กว่าสมองซีกขวา คนส่วนใหญ่จึงถนัดมือขวามากกว่ามือซ้าย แต่ก็ยังมีคนบางส่วนที่ถนัดมือซ้ายมากกว่ามือขวา และพบมากในผู้ชาย โดยสมองของผู้ชายจะโต และน้ำหนักมาก โดยผู้หญิงจะมีเซลล์ประสาทมากกว่าผู้ชาย ถ้าสมองเสียหาย ผู้ชายจะได้รับผลกระทบมากกว่าผู้หญิง
- พัฒนาการของสมองพบว่า ทารกชาย สมองซีกขวาจะพัฒนาก่อนสมองซีกซ้าย ซึ่งตรงข้ามกับทารกหญิง ที่สมองซีกซ้ายจะพัฒนาก่อนสมองซีกขวา
- สมองซีกซ้ายเกี่ยวข้องกับการรับรู้ ความเข้าใจภาษา การพูด สมองซีกขวาเกี่ยวข้องกับตำแหน่ง สถานที่และทิศทาง ดังนี้ผู้ชายจึงรู้เรื่องระยะทาง ขนาดรูปร่างมากกว่าผู้หญิง
- ผู้ชายจะหมุนมโนภาพเป็น 3 มิติ ในขณะที่ผู้หญิงจะเห็นภาพในมุมมองที่กว้างกว่า จดจำ และเก็บรายละเอียดได้มากกว่า สังเกตการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ได้ดีกว่าผู้ชาย
- ผู้หญิงจะมีสมองเกี่ยวข้องกับความคิดที่มีความจุมากกว่าผู้ชาย ซึ่งกระตุ้นการทำงานของอารมณ์ ทำให้ผู้หญิงช่างคิด และใช้อารมณ์มากกว่าผู้ชาย ในขณะที่ผู้ชายจะมีสมองเพื่อความอยู่รอด
- ผู้หญิงมีทักษะการฟัง ความเข้าใจภาษา รวมถึงพูดดีกว่าผู้ชาย เก็บความจำและเหตุการณ์ได้ดีกว่า ทำให้จดจำเรื่องราวเก่าๆ ได้ละเอียด แต่ผู้ชายจะจำเฉพาะเรื่องสำคัญๆ
- ผู้ชายจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือความเครียดในช่วงสั้นๆ ได้ดีกว่าผู้หญิง แต่ผู้หญิงจะควบคุมอารมณ์ได้ดีกว่าผู้ชาย ซึ่งใจร้อน และหงุดหงิดง่ายกว่าผู้หญิง ผู้หญิงอดทนต่อปัญหาระยะยาวได้ดี
อ่านต่อ “การเรียนรู้ของเด็กเริ่มต้นจากการฝึกฝน” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การเรียนรู้ของเด็กเริ่มต้นจากการฝึกฝน
พ.ญ. จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ ได้ให้ความรู้เรื่องการเรียนรู้ของเด็กเอาไว้ดังนี้ พันธุกรรม การอบรมเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม และอายุ ก็เป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาสมองลูกน้อยต่างเพศ ในช่วง 2 ขวบแรก เด็กเรียนรู้ด้วยการฝึกการรับรู้ การทำงานของกล้ามเนื้อ และการตอบสนอง การคิดขึ้นอยู่กับการทำงานของร่างกาย เด็กสามารถใช้คำที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของ หรือคน แต่ยังไม่สามารถใช้คำสื่อสารได้
เมื่อครบ 2 ขวบ เด็กจะสามารถเข้าใจสิ่งต่างๆ ในโลก เช่น รู้ว่าแม่มีอยู่ ไม่ว่าจะมองเห็นหรือไม่ รู้ว่าจะเลิกเล่นของเล่นโดยไม่ต้องมีใครมาทำให้ดู รู้ว่าอะไรที่ทำให้แม่โกรธ อะไรทำให้พ่อหัวเราะ และวิธีเล่นกับพี่ หรือแหย่พี่อย่างไรให้โกรธ
การเรียนรู้เป็นไปเมื่อรับรู้ความรู้สึก และฝึกฝนทักษะ รวมถึงประสบการณ์จากสิ่งรอบตัว ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 พัฒนาความรู้สึก และกล้ามเนื้อเริ่มจากความเข้าใจเรื่องง่ายๆ ก่อน ก็จะเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ชัดเจนขึ้น ยากและซับซ้อนขึ้น แต่ละขั้นตอนของการเรียนรู้ เด็กก็จะทำความเข้าใจไปด้วย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ทุกคนถูกกำหนดมาตั้งแต่เกิดให้กระตือรือร้นในการเรียนรู้ ทำความเข้าใจโลก ผู้คน สิ่งของ และความคิด ธรรมชาติสร้างคนขึ้นมาเพื่อเรียนรู้ และอยู่รอด เด็กๆ เรียนรู้ได้ตั้งแต่ในท้องของคุณแม่ เป็นรากฐานของความฉลาดของสมอง เมื่อคลอดออกมาก็ต้องเรียนรู้ เช่น การได้ยินเสียง การมองเห็น การได้กลิ่น การรับรส เมื่อรับรู้ข้อมูลต่างๆ แล้ว สมองก็จะลำเลียงความรู้ และเพิ่มความรู้อื่นๆ ตามมามากขึ้น
การใช้ประโยชน์ของข้อมูลที่ได้รับ คือการดึงออกมาใช้ ฝึกปฏิบัติ นำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา คิดค้นเรื่องใหม่จากฐานความรู้ที่มีอยู่ สมองก็จะจดจำเป็นความทรงจำระยะยาว กระบวนการการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความถนัด ลองฝึกฝนอยู่เป็นประจำ จะช่วยพัฒนาสมองให้ฉลาดยิ่งขึ้น
เครดิต: อาจารย์ธิรดา สุวัณณะศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษา & Holistic Medicine, พ.ญ. จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ