ลูกโกหก แค่เพียง 3 ขวบก็โกหกได้แล้วจริงหรือ? - Amarin Baby & Kids
ลูกโกหก

ลูกโกหก แค่เพียง 3 ขวบก็โกหกได้แล้วจริงหรือ?

event
ลูกโกหก
ลูกโกหก

ลูกโกหก กับอาการป่วยทางจิต

คนเราทุกคนเคยพูดโกหก แต่เด็กที่โกหกบ่อยๆ มักบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพทางจิตบางอย่าง แต่อาจยังไม่ถึงขั้นป่วยเป็นโรคจิตใดๆ แต่อาจพบอาการทางจิตเวชในเด็กกลุ่มนี้ได้ คือ

1.โรคสมาธิสั้น เด็กที่สมาธิสั้น อาจจะส่งผลให้มีปัญหาด้านการเรียนรู้ ทำให้เรียนไม่เก่ง ไม่ชอบทำการบ้าน ไม่ได้ส่งการบ้าน ซึ่งอาจจะนำมาด้วยการโกหกเพื่อที่จะทำให้พ้นผิด

2.โรคพฤติกรรมผิดปกติ เด็กอาจจะมีพฤติกรรมชอบลักขโมย ก้าวร้าว เช่น ชอบรังแกสัตว์ ชอบเล่นไฟ หรือชอบเล่นอะไรรุนแรง ทำร้ายผู้อื่น รวมถึงการโกหกหลอกลวง

รับมืออย่างไรเมื่อ ลูกโกหก

ในกรณีที่เด็กเล็กๆ เล่าเรื่องไปตามความคิด หรือจินตนาการของตัวเอง คุณพ่อ คุณแม่ก็ควรจะบอกลูกว่า “นั่นไม่ใช่เรื่องจริงนะลูก” และพยายามแก้ไขให้ตรงตามความเป็นจริง อย่าเพิ่งโกรธ หรือกังวลจนเกินไปว่าลูกจะกลายเป็นคนไม่ดีเมื่อโตขึ้น

ส่วนในกรณีที่เด็กโตชอบพูดโกหก คุณพ่อ คุณแม่ก็ต้องแก้ไขให้ตรงตามความเป็นจริง เช่น “พ่อแม่รู้นะ ว่ามันไม่ใช่อย่างนั้น” แล้วค่อยๆ สื่อสารกับลูกเเพื่อทำความเข้าใจอย่างใจเย็น เพราะเหตุผลที่เด็กโกหกอาจจะไม่ใช่เรื่องเลวร้ายก็เป็นได้ เช่น อาจกลัวพ่อแม่เสียใจ อาจโกหกเพราะกำลังแอบทำเรื่องดีๆ บางเรื่องที่ยังไม่สามารถบอกได้

ทำอย่างไรเมื่อลูกโกหก
สื่อสารกับลูกเเพื่อทำความเข้าใจอย่างใจเย็น

 

แต่ถ้าลูกน้อยโกหกซ้ำๆ ก็อาจจะถือว่าเป็นพฤติกรรมในทางลบที่คุณพ่อ คุณแม่ควรที่จะลงโทษบ้าง เมื่อลูกน้อยแสดงออกทางพฤติกรรมที่ไม่ดี โดยการลงโทษอย่างมีเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์และความรุนแรง หลีกเลี่ยงการตี ลูกจะได้เรียนรู้และรับผิดชอบถึงผลของการโกหก ส่วนในเด็กที่พูดโกหกแล้วรู้สึกสำนึกผิด กล้าที่จะสารภาพและขอโทษ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรที่จะเข้าใจ และชื่นชมกับการรู้จักยอมรับผิด แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ตำหนิติเตียนลูก และลงโทษรุนแรง แทนที่จะทำให้ลูกกลัว ไม่กล้าที่จะทำผิดอีก อาจจะกลายเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกน้อยปิดบังความจริงมากขึ้น

สำหรับวิธีช่วยให้ลูกเรียนรู้คุณค่าของการพูดความจริง ความรู้สึกละอายจะเป็นตัวสอนลูกเอง เช่น เมื่อลูกพูดโกหกเพื่อปัดปัญหาออกจากตัว ก็ลองพูดประมาณว่า “พ่อแม่รู้ว่าลูกรู้สึกแย่ที่ทำแก้วแตก มาช่วยพ่อแม่เช็ดน้ำตรงนี้ก็ได้นะจ๊ะ แล้วเดี๋ยวต่อไปพ่อแม่จะให้ใช้แก้วพลาสติกแทน” วิธีนี้เป็นการให้ความสำคัญกับความรู้สึกของลูกและยังจะช่วยปิดโอกาสที่ลูกจะใช้คำโกหกเพื่อแก้ตัวอีกด้วย

อ่าน “วิธีพูดกับลูกที่ชอบโกหก” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up