เด็ก 1-3 ปี
พัฒนาการเด็กเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งในวัย เด็ก 1-3 ปี เด็กจะ พูดจาโต้ตอบได้ดี เคลื่อนไหวของร่างกายได้มากขึ้น ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้
ลูกชายเล่นตุ๊กตา ลูกสาวเล่นรถ เบี่ยงเบนทางเพศรึเปล่าเนี่ย
ในช่วงวัยเตาะแตะนี้ หากลูกชายอยากเล่นตุ๊กตา หรือ ลูกสาวชอบเล่นรถ อย่าเพิ่งตกใจไป ควรปล่อยให้เขาเล่นก่อน เพราะจริงๆแล้วการดูแลตุ๊กตาเป็นการแสดงให้เห็นว่าลูกมีทักษะในการเข้าอกเข้าใจคนอื่นนะ ส่วนการที่ลูกสาวชอบเอารถมาเล่นชนกัน ก็แค่การทดลองเพื่อเรียนรู้เรื่องเหตุและผล เท่านั้นเอง เอาเป็นว่าถ้าคุณอยากให้ลูกรู้จักความเป็นเพศหญิงและชายให้มากขึ้น อาจหาโอกาสบอกเขาว่า ผู้หญิง หรือ ผู้ชายควรทำอะไรบ้าง บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียล พาเรนติ้ง
แค่ 3 ขวบโกหกเป็นแล้วหรือ
หากเขาโกหกเพื่อปัดปัญหาให้พ้นตัวอีก คุณอาจจะลองพูดว่า “ แม่รู้ว่าลูกรู้สึกแย่ที่ทำแล้วแตก แต่เรามาช่วยกันเช็ดน้ำที่หกกันนะ"
3 วิธีง่ายๆ ฝึกวินัยวัยเตาะแตะ
1. เมื่อลูกอยากได้ของเล่น ณ บัดนาว ให้ปฏิเสธทันทีแล้วปล่อยให้ร้องไห้ จากนั้นเสนอรางวัลอื่นที่ไม่ใช่สิ่งของให้แทน 2. ลูกไม่ยอมใส่เสื้อผ้าเองสักที เพื่อให้ลูกช่วยเหลือตัวเองได้ เราอาจแค่ติดกระดุมให้สักเม็ดสองเม็ด แล้วปล่อยที่เหลือให้ลูกได้จัดการเอง 3. เมื่อบอกให้ลูกเก็บของเล่น กลับปาลงพื้น แบบนี้อย่าบังคับหรือ ดุแรงๆ เด็ดขาด ลองเสนอทางเลือกอื่น หรือ บอกผลลัพธ์ที่จะได้รับหากไม่ให้ความร่วมมือ บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง
วัยเตาะแตะมีสัตว์เลี้ยงได้ไหมนะ
การมีสัตว์เลี้ยงถือเป็นความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ คุณพ่อ คุณแม่ จึงควรพิจารณาให้ดี และละเอียดถี่ถ้วน
เปลี่ยน “ข้อห้าม” เป็น “คำแนะนำ”
เปลี่ยน “ข้อห้าม” เป็น “คำแนะนำ” เสริมความคิดสร้างสรรค์ให้ลูกได้ “อย่าเสียงดัง!” “อย่าร้องไห้นะ!” “ห้ามโยนของเล่นแบบนั้น!” “ห้ามวิ่งเล่นในห้องนี้!” มีอีกสารพัดข้อห้ามที่คุณแม่คงใช้จนเคยชิน แม้คุณแม่จะเตือนลูกน้อยด้วยความหวังดี อยากให้ลูกปลอดภัยและอยากให้บ้านเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่คุณแม่รู้หรือไม่ว่าข้อห้ามต่างๆ ของคุณแม่กลายเป็นคำสั่งห้ามความคิดสร้างสรรค์ของลูกวัยนี้โดยไม่รู้ตัว แต่ไม่ต้องห่วงค่ะ คุณแม่สามารถเปลี่ยนข้อห้ามต่างๆ ให้เป็นคำแนะนำที่มีวัตถุประสงค์เดียวกันได้ เพียงแต่แนะนำสิ่งที่ลูกควรทำแทนการออกคำสั่ง และเสริมข้อดีของการทำตามคำแนะนำนั้นอีกเล็กน้อย ลองดูตัวอย่างข้างล่างนี้ได้เลยค่ะ “อย่าเสียงดัง!” “หนูลองพูดเบาลงอีกนิดได้มั้ยจ๊ะ แม่อยากได้ยินเสียงพี่เขาพูดชัดๆ จ้ะ” “อย่าร้องไห้นะ!” “แม่รู้ว่าตอนนี้หนูไม่พอใจ แต่เรามายิ้มให้กัน แล้วไปหาไอศกรีมกินกันดีไหมจ๊ะ” “ห้ามโยนของเล่นแบบนั้น!” “หนูลองค่อยๆ วาง แล้วต่อให้มันสูงขึ้นดีมั้ยจ๊ะ” “ห้ามวิ่งเล่นในห้องนี้!” “หนูไปวิ่งเล่นที่สนามหน้าบ้านกว้างๆ น่าจะสนุกกว่านะ” “อย่าตีน้อง!” “น้องชอบให้หนูกอดเบาๆ มากกว่านะจ๊ะ” “อย่าทำน้ำหกนะ!” “ค่อยๆ เทน้ำ แล้วถือแก้วดีๆ นะจ๊ะ หนูจะได้มีน้ำไว้ดื่มเยอะๆ” บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสาร เรียล พาเรนติ้ง
สอนเรื่องเพศกับลูกเตาะแตะยังไงดีนะ?
สำหรับลูกเล็กวัยเตาะแตะนี้ วิธีเริ่มต้นสอนเรื่องเพศที่ง่ายที่สุดอยู่ในการสอนให้เขารู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายนั่นเอง ควรสอนเรื่องอะไร อย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ
สัญญาณพัฒนาการ 6 ข้อ หนูไม่ใช่ทารกแล้วนะ
ไม่ว่าคุณแม่จะถูกมัดมือไพล่หลังหรือมือไม่ว่างเจ้าแสบต้องพยายามยัดเศษอาหารเละๆน่าขยะแขยง เพราะอมเล่นสักพักแล้ว และตัดสินใจว่าไม่กินดีกว่า ใส่มือราวกับเป็นภารกิจสำคัญสุดชีวิต
7 วิธีช่วยลดระดับ “ลูกกลัวความมืด”
ปิดไฟนอนทีไร ร้องโวยวายทุกที ลูกกลัวความมืด แบบนี้มีวิธีช่วยอย่างไรได้บ้าง…
ลูกอายเป็นแล้วนะ! ช่วยลูกเตาะแตะรับมือ “ความอาย” กันเถอะ
เมื่อลูกวัยเตาะแตะอายหรือเขิน ถือเป็นเรื่องปกติและถือได้ว่าลูกน้อยมาถึงอีกจุดหนึ่งของพัฒนาการทางอารมณ์แล้ว! เป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับพ่อแม่ค่ะ งั้นมาดูวิธีช่วยลูกรับมือกับความอายกันดีกว่า
3 ขวบแล้ว ทำไมยังขี้อาย
ตรงกันข้ามการแสดงออกด้วยคำพูดและท่าทางจะทำให้ลูกรู้สึกมั่นใจขึ้นว่ามีคนเข้าใจเขา และการช่วยกันหาทางออก จะทำให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่เข้าใจว่าเขากำลังเจอเรื่องยากและพยายามที่จะผ่านไป
ขนม เครื่องดื่ม แฝง คาเฟอีน
เนื่องจากคาเฟอีนออกฤทธิ์ต่อร่างกายของเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กมีน้ำหนักตัวที่น้อยกว่า คาเฟอีนจึงออกฤทธิ์รุนแรงกว่าและคงอยู่ในร่างกายเด็กได้นานกว่าผู้ใหญ่ จึงควรระวังไม่ให้เด็กบริโภคคาเฟอีนเกินวันละ 100 มิลลิกรัม
อันตราย ในบ้าน 12 สิ่งสำหรับลูกวัยใกล้ 3 ขวบ
เข้าวัยเตาะแตะ ทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายของลูกก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความอยากรู้โลกตามวัย พอใกล้ 3 ขวบ ก็วิ่งได้ แต่สิ่งที่วัยนี้ไม่มีทางรู้ก็คือ ปลอดภัยกับอันตราย
ปวดหัวกับลูก เหวี่ยงทีไรไม่กัด ก็ตี ทุกที
ขณะที่เห็นลูกกัด หรือออกอาการใดๆ ให้พูดกับลูกด้วยท่าทีสงบ และน้ำเสียงหนักแน่น
รับมือแบบวิน-วิน เตาะแตะหัวฟัดหัวเหวี่ยง
เมื่อเข้าสู่โหมดอารมณ์โกรธแล้ว เด็กวัยนี้มักจะแสดงความโกรธออกมาทางกาย มารู้จักวงจร “ความโกรธ” ของลูก และวิธีรับมือเวลาลูกอาละวาดด้วยเหตุผลต่างๆ กันค่ะ
มาสอนลูกน้อยหัดพูดกันเถอะ
แทนที่จะกังวล เรามาช่วยกันเสริมทักษะการพูดของลูกน้อยกันดีกว่าค่ะ
“นอนกลางคืน” เรื่องต้องใส่ใจ วัย 1-3 ขวบ
การนอนกลางคืนสำคัญต่อวัยนี้อย่างไร และการนอนที่ “เหมาะสม” ของเด็กวัยเตาะแตะควรเป็นแบบไหน เรามีคำตอบมาให้คุณที่นี่!
พี่กับน้องเล่นด้วยกันได้ไหม?
ลูกชายสองคนของดิฉันอายุ 4 ขวบ และ 2 ขวบ เรื่องมีอยู่ว่า เด็กๆ แถวบ้านชอบเล่นกับลูกคนโตมากเลยค่ะ ทุกคนดูจะห้อมล้อมตัวเขาตลอดเวลา
3 ขวบ รู้จักแบ่งปันแล้ว จริงๆนะ
เด็กเล็กวัยเตาะแตะก็รู้จักแบ่งของให้เพื่อนแล้วนะ แม้จะไม่ได้เข้าใจและแบ่งปันตลอดเวลา