AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

แชร์ประสบการณ์ตรง!! สิ่งที่พ่อแม่ควรทำเพื่อกล่อมลูกนอนหลับ

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำเพื่อกล่อมลูกนอนหลับแบบฉบับพ่อแม่เชิงบวก

การนอน  ของลูกน้อยถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะการนอน ถือเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาส่วนต่างๆของร่างกายลูกน้อยให้สมบูรณ์แข็งแรง ดังนั้นเด็กๆควรได้ นอนหลับ 12-18 ชั่วโมง ต่อวัน แต่บางครั้งการที่จะทำให้ลูกน้อยนอนหลับได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย เด็กบางคนไม่ยอมนอนหรือนอนได้ไม่นานก็ร้องตื่น ดังนั้นเราจึงมีวิธีช่วยให้ลูกของคุณนอนหลับได้ง่าย สบาย และนานขึ้นกว่าเดิมดังนี้ค่ะ


1. หลีกเลี่ยงกิจกรรมจอสกรีน ก่อนนอนทุกชนิด

มีงานวิจัยที่ระบุว่า screen time จะรบกวนระบบการนอนของร่างกายของเด็ก เพราะแสงจากหน้าจอเป็นการเลียนแบบแสงจากเวลากลางวันซึ่งจะยับยั้งฮอลโมนเมลาโทนีน (ถูกสร้างโดย ต่อม Pineal gland ในสมอง การหลั่งของเมลาโทนินเกี่ยวข้องกับช่วงเวลากลางวัน-กลางคืน เมื่อถึงเวลากลางคืน ความมืดเข้ามาแทนที่ทำให้แสงสว่างหายไปจากจอรับภาพของดวงตา สัญญาณแห่งความมืดก็จะกระตุ้นให้ต่อมไพเนียลทำหน้าที่สังเคราะห์ “เมลาโทนิน” ออกมา เพื่อเตือนให้ร่างกายต้องการพักผ่อนและให้เกิดการง่วงนอนและนอนหลับสนิท) แสงจากจอสกรีนไม่กี่นาทีก็ส่งผลต่อการหลั่งของเมลาโทนีนช้ากว่าเดิมได้หลายเท่า ดังนั้นการถูกรบกวนด้วยแสงดังกล่าวก็จะส่งผลให้นาฬิกาชีวิตของเด็กเปลี่ยนแปลงไปและส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลระบบฮอลโมนและระบบประสาทของสมองได้ในที่สุด

2. งดดูภาพ สื่อ หรือกิจกรรมที่ทำให้เด็กกลัว

โดยเฉพาะเด็กเล็ก เพราะความกลัวส่งผลต่อการกระตุ้นให้เด็กๆเกิดความรู้สึกที่ตื่นเต้นตื่นกลัว และทำให้รู้สึกหลับได้ยากขึ้น พูดในเชิงวิทยาศาสตร์ก็คือเมื่อร่างกายเกิดความกลัววิตกกังวล อดีนารีนจะถูกหลั่งออกมาซึ่งส่งผลให้เกิดอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้น และผลิตออกซิเจนทำให้มีพลังงานในร่างกายที่เพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อตื่นตัว และพร้อมที่จะดิ้นรนต่อสู่ตามสัญชาตญานของแกนสมอง

นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความเครียดคลอติโซลสารพิษในสมองหลั่งอกอมาได้อีกด้วย ดังนั้นกลเม็ด เงามืด ตุ๊กแกกินตับ ผีจะมาหลอก ฟ้าร้องฮึมๆ เสียงปริศนา ที่หลอกให้ลูกกลัวแล้วให้อยู่นิ่งหลับตา อาจจะได้ผลบ้างในบางครั้ง แต่ระวังผลกระทบ ทางทีดีอย่าให้เด็กๆ เกิดความรู้สึกเหล่านี้ก่อนลูกจะหลับฝันดีในคืนนั้นเลย จากฝันดีอาจกลายเป็นฝันร้ายของลูกตลอดไปก็ได้

3. สร้างกิจวัตรก่อนนอน

กิจกรรมที่คล้ายๆกันในทุกๆวันให้เป็นกิจวัตร หากอยากให้เด็กๆนอนเร็วขึ้นก็ให้ขยับเวลาเหล่านี้ให้เร็วขึ้นด้วย และชวนเด็กๆมีส่วนร่วม เช่น เลือกชุดนอน เลือกหนังสือที่จะฟังก่อนนอน หรือกิจกรรมการเล่นเบาๆก่อนนอนที่ลูกอยากเล่น จะช่วยให้เด็กๆเรียนรู้ว่าในการควบคุมกิจกรรมของตนเองและเรียนรู้ที่จะเข้าใจว่าถึงเวลาที่จะนอนแล้ว ซึ่งเป็นวิธีการเชิงบวกที่จะส่งผลต่อการนอนที่มีประสิทธิภาพของเด็กและมีความพันธ์เชิงบวกกับพ่อแม่ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้อย่าลืมอาหารที่รับประทานช่วงเย็นหรือก่อนนอนที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น โคล่า ดาร์กช็อคโกแลต เค้กช็อคโกแลต ที่พ่อแม่อาจจะหลงลืมไปด้วย

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยกล่าวว่า การออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายตื่นตัว 2 ชั่วโมงก่อนที่จะมีอาการเพลียง่วงนอน ดังนั้นถ้าจะชวนให้ลูกๆเต้นกันก่อนนอน 2 ชม. ก็น่าจะดี รับรองหลับสบายแน่นอนค่ะ

4. สร้างบรรยากาศที่สงบเงียบก่อนนอน

อ่านหนังสือนิทานก่อนนอน เปิดไฟหรี่ๆ งดการเปิดโทรทัศน์ เสียงในห้องนอนให้สงบเงียบ รวมถึงพ่อแม่เองหากมีเรื่องที่ต้องทำหลังจากลูกนอนแนะนำให้นอนพักพร้อมลูกก่อนแล้วค่อยตื่นขึ้นมาทำ เพราะความกระวนกระวายใจของพ่อแม่เองก็ส่งผลต่อบรรยากาศการนอนของลูกด้วย

อ่าน >> วิธีการกล่อมลูกนอนหลับ ข้อ 5-8 ต่อ คลิกเลย

5. ชวนคุยเรื่องเชิงบวก

คือชวนถามว่าวันนี้ลูกสนุกกับอะไรบ้าง แล้วแม่ชื่นชมกับลูกอะไรบ้างในวันนี้ บอกกับเขาว่าค่ำคืนนี้ได้เวลาที่เราจะพักผ่อนแล้วและพรุ่งนี้เราจะได้ตื่นขึ้นมาทำอะไรสนุกยิ่งกว่าวันนี้อีก มีสิ่งที่น่าสนุกรอเราอยู่ในวันพรุ่งนี้ ซึ่งการพูดเชิงบวกเหล่านี้จะเป็นพลังที่ดีให้เด็กอิ่มเอมใจและหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

6. ตั้งสติเข้าใความต้องการความปั่นป่วนของเด็ก

หลายๆครั้งเราพ่อแม่ผู้ใหญ่อย่างเราก็หงุดหงิดใจกับการจัดการการนอนของเด็กๆ เพราะเราใช้เหตุผลคาดหวังในสิ่งที่เราอยากได้แต่สิ่งเหล่านั้นไม่ได้ช่วยทำให้ลูกนอนเร็วขึ้นหรือนอนหลับลงด้วยสภาวะที่สู่โหมดปกติ เด็กบางคนจะปั่นป่วนสับสนในความต้องการของตัวเองมากในเวลาง่วงนอน หรือเด็กบางคนตื่นร้องไห้กลางดึก เพราะเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายหลายๆอย่าง

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือตั้งสตินึกย้อนกลับว่าถ้าเราเป็นลูกเราต้องการอะไร และต้องการให้พ่อแม่เข้าใจเขาอย่างไน เราจึงจำเป็นต้องแสดงถึงความเข้าใจในความรู้สึกของเด็กๆก่อน เช่น บอกกับเขาว่าแม่เข้าใจนะว่าลูกอยากเล่น งั้นลูกก็เล่นไปนะอีก 5 นาทีเรานอนกันนะ หรือตัวอย่างบทความครั้งที่แล้ว ซึ่งจะเป็นวิธีการเชิงบวกที่ได้ผลลัพท์ที่ดี หลักสำคัญคือทำให้เด็กๆรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย ช่วยเหลือให้ลูกสงบอยู่ในอารมณ์ที่เป็นปกติ เข้าใจในความปั่นป่วน มากกว่าที่จะทำโทษและเพิ่มความเครียดกดดันให้กับเด็ก

7 ตอบสนองเมื่อลูกร้องเรียกหา

ตามธรรมชาติเด็กๆจะร้องเรียกหาพ่อแม่เมื่อถูกปล่อยให้อยู่ตามลำพังโดดเดี่ยว ดังนั้นเมื่อเด็กๆร้องเรียกในกลางดึก แนะนำให้ตอบสนองด้วยเสียงก่อนเป็นอันดับแรกเพื่อให้เขารับรู้ว่าเราไม่ได้ไปไหนอยู่ใกล้ๆ แล้วกลับเข้ามากอด กล่อมนอนอย่างสงบ ซึ่งไอเดียนี้จะสร้างความไว้วางใจในวิธีการตอบสนองของเราพ่อแม่ได้ลูกจะสงบและกลับไปนอนได้เร็ว

8 กล่อมหลับด้วยกันใกล้ชิด ให้ความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย

ลูก หรือสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมเกือบทั้งหมด ต้องการที่จะอยู่ใกล้ชิดพ่อแม่หรือคนเลี้ยงที่เขารัก ซึ่งเด็กๆก็เช่นกัน จึงขอแนะนำว่า ในเวลาที่กล่อมลูกนอนให้อยู่ใกล้ๆ หากจะเดินออกไปไหนหรือทำอะไรบอกลูกก่อนว่าเราจะไปทำอะไรแล้วจะกลับมา เช่น เดี๊ยวแม่ลุกไปปิดไฟห้องน้ำตรงนี้แล้วจะรีบมานอนด้วยกัน แต่ถ้าเด็กๆไม่โอเคหรือเริ่มกังวลก็ให้ละวางภารกิจนั้นก่อนถ้าไม่เร่งรีบมากนัก รอให้หลับสนิทแล้วค่อยลุกไปทำภารกิจที่เราต้องการ สิ่งนี้จะทำให้ลูกรู้สึกดีกับพ่อแม่และทำให้หลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปแล้วนั้นปัญหาลูกไม่ยอมนอนนั้นเป็นปัญหาที่พ่อแม่ทั่วโลกต่างประสบพบเจอ เพราะหากลองเสิชบทความ บทวิจัยต่างๆมีมากมายเกี่ยวกับปัญหาเรื่องนี้ ดังนั้นพวกเราเองก็สบายใจได้ในระดับหนึ่งว่านี่คือธรรมชาติของมนุษย์ ที่สัมพันธ์กับการเจริญเติบโตตามวัยของสมองและร่างกาย แต่สิ่งที่มนุษย์ทุกวัยยังคงมีและไม่เคยลดเลือนหายคือความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย อบอุ่นใจในการดำรงชีวิต ดังนั้นแล้วเมื่อใดก็ตามที่มนุษย์รู้สึกมั่นคงปลอดภัย สบายใจ อบอุ่นใจก็จะสามารถนอนหลับได้อย่างมีคุณภาพ ส่งผลต่อสมอง พัฒนาการ สุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์ในที่สุด


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก:  พ่อโป๊ะ แม่แป้ง (เว็บไซต์ baannada.com)