ลูกติดโทรศัพท์ – แท็บเล็ต พ่อแม่ต้องระวังให้มากและคอยห้าม เพราะทางกรมสุขภาพจิต ตรวจพบเด็กไทยป่วยโรคไฮเปอร์กว่า 4 แสนคน โดยเฉพาะเด็กเล็กเป็นโรค “ไฮเปอร์เทียม” มากขึ้น เหตุพ่อแม่ให้ลูกเล่นเกมในแท็บเล็ต มือถือ ทำให้เด็กคุมสมาธิไม่ได้ อารมณ์ร้อน และรอคอยไม่เป็น
พบ! เด็กเล็กเป็นโรค “ไฮเปอร์เทียม” มากขึ้น เหตุเพราะปล่อยให้ลูกเล่นแท็บเล็ต-มือถือ
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า โรคจิตเวชที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กวัยเรียนนั้น พบว่า กลุ่มเด็กนักเรียนอายุ 6-15 ปี ที่มีปัญหาการเรียน ผลการเรียนไม่ดี หรือเรียนไม่ทันเพื่อน มักจะพบมีโรคทางจิตเวชแอบแฝงที่พบบ่อยที่สุดมี 4 โรค ได้แก่ โรคออทิสติก โรคสมาธิสั้น โรคแอลดีหรือภาวะบกพร่องในการเรียนรู้ และสติปัญญาบกพร่อง
⇒ Must read : รวม 11 โรค กับวิธีสังเกต ลูกมีปัญหาสุขภาพจิต
โดยเกิดมาจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ซึ่งเด็กที่เป็นออทิสติกและมีสติปัญญาบกพร่องจะตรวจพบพัฒนาการที่ผิดปกติได้เร็วตั้งแต่อายุยังน้อย ส่วนเด็กที่มีลักษณะของโรคแอลดี (LD) นั้น เด็กกลุ่มนี้ไม่มีปัญหาเรื่องไอคิว แต่มีความผิดปกติทางการอ่านเขียนคำนวณต่ำกว่าเด็กวัยเดียวกัน 2 ชั้นปี จึงควรได้รับการติดตามช่วยเหลือ
สำหรับโรคสมาธิสั้น เป็นโรคที่พบได้มากและมีผลกระทบกับคนรอบข้างได้บ่อยที่สุด โดยผลสำรวจของกรมสุขภาพจิต ปี 2559 พบร้อยละ 5.4 คาดว่ามีเด็กอายุ 6-15 ปี ซึ่งทั่วประเทศมี 7 ล้านกว่าคน เป็นโรคนี้ประมาณ 420,000 คน หรือพบได้ 2-3 คนต่อห้องเรียนที่มีเด็ก 40-50 คน มักพบในเด็กชายมากกว่าหญิง
อีกทั้งอธิบดีกรมสุขภาพจิต ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า โรคสมาธิสั้นเด็กจะมีอาการแสดงหลักๆ 3 ด้าน ได้แก่ ซนอยู่ไม่นิ่ง ขาดสมาธิ และหุนหันพลันแล่น
⇒ Must read : ลูกไฮเปอร์ กับสมาธิสั้น แตกต่างกันอย่างไร?
⇒ Must read : เทคนิคดูแลเรื่องเรียน เมื่อลูกสมาธิสั้น
ซึ่งคนทั่วไปมักนิยมเรียกว่าโรคไฮเปอร์ โดยเด็กจะวอกแวก ทำงานตกๆหล่นๆ ทำอุปกรณ์การเรียนหายประจำ ซุ่มซ่าม ใจร้อน และวู่วาม อาการดังกล่าวเกิดมาจากสมองทำงานผิดปกติ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นเด็กดื้อหรือเป็นเด็กที่ไม่มีความรับผิดชอบ โดยจะพบความผิดปกติชัดเจนขึ้นเมื่ออยู่ชั้นประถมศึกษา
ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองและครูไม่เข้าใจ จะยิ่งทำให้เด็กเกิดปัญหาอารมณ์และพฤติกรรมอาจส่งผลถึงอนาคต เช่น ความเสี่ยงติดสารเสพติด ก่ออาชญากรรม เป็นต้น หากเด็กได้รับการดูแลที่เหมาะสมก็จะสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติ มีอาชีพได้ อย่างไรก็ตาม เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น เมื่อได้รับการบำบัดรักษาแล้ว ประมาณ 2 ใน 3 อาการจะหายหรือดีขึ้น
อ่านต่อ >> “สาเหตุ และวิธีรักษาเมื่อลูกเป็นโรคไฮเปอร์เทียม” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่