“ห้ามลูกดูยูทูปไม่ได้ ลูกไม่ฟัง หรืองอแงจะดูให้ได้” แม่ๆเคยเจอประสบการณ์แบบนี้ใช่ไหมคะ สำหรับเด็กยุคนี้ ยูทูปเป็นโลกใบใหญ่ที่มีเรื่องสนุกให้เด็กๆเรียนรู้ได้ไม่รู้จบ ถ้าแม่ลองใช้ไม้อ่อนแล้วยังดื้อ สู้ด้วยไม้แข็งยังไม่ได้ผล แอป Youtube Kids เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่แม่ปานใช้เป็นตัวช่วย จำกัดเนื้อหา และควบคุมเวลาที่ลูกใช้ดูยูทูปได้สำเร็จ จะดีแค่ไหน ต้องเริ่มต้นติดตั้งอย่างไร ลองมาดูกันนะคะ
Youtube Kids แอปทางเลือกเมื่อ “ห้ามลูกดูยูทูปไม่ได้” ต้องทำแบบนี้
Youtube Kids เป็นแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาต่อยอดมาจากยูทูปหลักเพื่อแยกคลิปวิดีโอที่เหมาะสมกับเด็กและครอบครัวมาไว้ในที่เดียว เพื่อให้ลูกของเราเข้าไปเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ ดูการ์ตูน หรือรายการสำหรับเด็ก ซึ่งผ่านการคัดกรองแล้วว่าไม่มีเนื้อรุนแรง เป็นพิษกับเด็ก โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ปกครอง
จากการร้องเรียนของครอบครัวจากทั่วโลกพบว่า ท่ามกลางคลิปวิดีโอนับพันล้านคลิปที่เผยแพร่ในยูทูปทกวัน มีเนื้อหาไม่เหมาะสมแฝงอยู่แบบเนียนๆ และการดึงเนื้อหาที่มีประวัติการดูมาไว้ด้วยกัน ทำให้เด็กเข้าถึงคลิปเหล่านั้นได้ง่ายแม้แต่เวลาสั้นๆที่พ่อแม่ห่างจากลูกเพียง 5 – 10 นาที เช่น มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับฆ๋าหรือทำร้าย ใช้ยาเสพติด ชาเลนจ์ต่างๆที่ท้าให้เกิดอันตรายกับชีวิต การเล่นแกล้งกันแบบรุนแรง เหตุการณ์โศกนาฏกรรม ขโมยของ และการแฮ็กซ์ข้อมูล เป็นต้น
Youtube Kids ดีอย่างไร มีติดไว้ปลอดภัยกับลูก
การทำงานของYoutube Kidsถูกออกแบบมีวิธีใช้งานใกล้เคียงกับแอปยูทูปที่เด็กๆคุ้นเคย แต่ปรับดีไซน์ให้สะดุดตา ด้วยสีสันและเสียงเอฟเฟ๊กต์ชวนให้เด็กสนใจ คลิปต่าๆงถูกคัดกรองให้ครอบคลุมเนื้อหาที่มีประโยชน์กับเด็กทั้งจากคนไทยและต่างชาติ โดยแบ่งออกเป็นหมวดหลักๆได้แก่ แนะนำ (recommend) โชว์ (show) เพลง (music) เรียนรู้ (learning) และสำรวจ (explore) ง เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงเนื้อหาเกี่ยวข้อง และง่ายต่อการตรวจสอบของพ่อแม่
นอกจากเนื้อหาโดยรวมที่ปลอดภัยแล้ว แอปYouTube Kidsยังเป็นเครื่องมือให้พ่อแม่สามารถควบคุมการดูยูทูปของลูกแบบ 360 องศา ทั้งด้านเนื้อและเวลา ดังต่อไปนี้
- การควบคุมเนื้อหาที่เหมาะกับวัยของลูก
เมื่อเข้าแอปYoutube Kidsจะต้องกรอกปีค.ศ.เกิดของลูกตามความเป็นจริง เพื่อให้แอปสำรวจและค้นหารายการที่เหมาะสมกับวัยของลูกมาโชว์ไว้ในหมวดต่างๆข้างต้นอัตโนมัติ เมื่อพ่อแม่เข้าไปดูแล้วว่าเนื้อหาของช่องนั้นๆเหมาะกับลูก สามารถเลือกติดตามให้ลูกเห็นเนื้อหาเฉพาะช่องได้
ส่วนการเสิร์ชหาคลิปต่างๆพ่อแม่สามารถตั้งได้ว่าจะอนุญาตให้ลูกเสิร์ชได้ด้วยตัวเองหรือไม่ ด้วยคำสั่ง Search on และ Search off หากไม่อนุญาตทุกครั้งที่ลูกอยากดูเนื้อหาใหม่ๆ จะต้องได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ด้วยการกดรหัสส่วนตัว หรือตอบคำถามจากแอปเท่านั้น
**ถ้าพ่อแม่เห็นว่าเนื้อหาของคลิปไม่เหมาะสม สามารถบล็อกคลิปหรือเลือกบล็อกทั้งช่องได้ เพียงเลือก block this videoก็ส่วนคัดเนื้อหาไม่ดีทิ้งไปได้แล้ว**
2.ตัวจับเวลา ควบคุมเวลาดูที่เหมาะกับลูกคุณ
พ่อแม่ต่างรู้กันดีว่าการปล่อยให้ลูกดูแท๊ปเล็ตหรือมือถือเป็นเวลานาน ส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพและพฤติกรรม เช่น สายตาเสีย พัฒนาการหยุดนิ่ง ล่าช้า หรือมีพฤติกรรมต่อต้านรุนแรง ถ้าห้ามลูกดูยูทูปไม่ได้ ทางออกที่ดีวิธีหนึ่ง คือการ “กำหนดเวลา” ชัดเจนว่าจะให้ลูกดูยูทูปได้เป็นเวลาเท่าไหร่
สำหรับเด็กเล็กวัยก่อน 6 ขวบ ไม่ควรอยู่หน้าจอเกิน 30 นาทีต่อวัน เพื่อไม่เป็นการขัดขวางพัฒนาการด้านอื่นๆ แต่ถึงจะรู้ดีว่าควรทำอย่างไร หลายครั้งการสั่งให้ลูกดึงตัวเองออกจากหน้าจออาจไม่ง่าย เพราะเด็กเล็กยังควบคุมตัวเองได้ไม่ดีพอ ยิ่งห้าม ยิ่งดุกลายเป็นว่าเด็กมีพฤติกรรมต่อต้าน แถมยังส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว
ในแอปYoutube Kidsออกแบบให้สามารถกำหนดเวลาดูสำหรับผู้ปกครองเท่านั้น ผ่านฟังก์ชั่น Timer ที่อยู่ใน Setting แค่ใช้นิ้วเลื่อนเวลาที่ต้องการให้ลูกดู แล้วกดตกลง เมื่อลูกดูถึงระยะเวลาที่กำหนด หน้าจอจะออกจากแอปทันที ช่วยให้ลูกหยุดดูได้โดยไม่มีเงื่อนไข
อ่านต่อ วิธีเช็กว่าลูกดูคลิปปลอดภัยหรือไม่ หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
3.เช็กได้ตลอดลูกดูอะไรไปบ้าง
เวลาที่พ่อแม่ไม่อาจอยู่หน้าจอพร้อมลูกได้ แต่Youtube Kidsช่วยให้รู้ได้ว่า “ลูกดูคลิปอะไรไปบ้าง” ถ้าเปรียบเทียบกับยูทูปปกติจะเช็กได้จาก History ซึ่งเด็กเข้าไปลบข้อมูลเองได้ แต่ในแอปนี้พ่อแม่เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายกว่า เพียงแค่กดไปยังลูกศรซ้ายมือ ก็จะเห็นคลิปเก่าที่ลูกได้ทันที ที่สำคัญคือ ลูกไม่สามารถเข้าไปลบข้อมูลประวัตินี้ได้
ฟังก์ชั่นนี้ยังใช้ควบคุมเนื้อหาอีกขั้น หากเช็กแล้วพ่อแม่พบว่าเนื้อหาของประวัติคลิปไม่เหมาะสม พ่อแม่สามารถลบจากประวัติได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
4.ใช้ได้หลายเครื่อง ควบคุมได้ด้วยกฎเดียว
สำหรับบ้านไหนที่มีลูกหลายคน และมีอุปกรณ์ไอทีประจำตัว พ่อแม่ไม่ต้องกังวลว่าจะดูแลไม่ทั่วถึง หรือต้องสมัครด้วยหลายบัญชีYoutube Kidsอนุญาตให้ผู้ปกครองสร้างโปรไฟล์ของลูกๆแต่ละคน และออกกฎกติกาเดียวกันได้ แต่คลิปวิดีโอจะแตกต่างไปตามอายุของเด็ก
ส่วนเด็กโตอายุราว 10 ปีขึ้นไป ที่พ่อแม่สามารถปล่อยให้ลูกเลือกดูคลิปเองได้อย่างอิสระแล้ว เด็กๆสามารถตั้งรหัสส่วนตัวเพื่อเข้า-ออกหน้าโปรไฟล์ของตัวเองได้ เหมาะกับเด็กวัยนี้ที่มีความเป็นตัวเอง และไม่ชอบการควบคุมแบบเด็กๆ
5.ไร้ช่องคอมเม้นต์ ไม่มีโฆษณา ลดเสี่ยงชักชวนหรือการคุกคาม
ข้อดีอีกอย่างของ Youtube Kids คือการที่แอปไม่เชื่อมโยงกับโซเชียลมีเดียอื่นๆ จึงไม่มีช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างของคลิป หรือฟังก์ชั่นแชร์คลิปไปยังช่องทางโซเชียลอื่นๆ ช่วยปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลจากภายนอก ลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการชักชวน หรือ bully ของบุคคลภายนอก จึงมั่นใจได้ว่า ลูกปลอดภัยเมื่ออยู่หน้าจอแน่นอน
ถ้าคลิปไหนดูบ่อยๆ หรือเป็นคลิปการศึกษา ช่วยเสริมพัฒนาการคุณพ่อคุณแม่เลือกดูแบบ offline เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานให้มากขึ้น
ทั้งนี้Youtube Kidsยังไม่สามารถคัดกรองเนื้อหาของคลิปทั้งหมดได้ 100 % เพราะบางคลิปอาจมีเนื้อหารุนแรงและใช้คำหยาบแอบแฝงอยู่ ทางดีที่สุด พ่อแม่ควรนั่งดูยูทูปพร้อมกับลูก หรือลองสุ่มดูคลิปที่ลูกชอบดูเป็นประจำก่อนที่จัดให้อยู่ใน playlistของลูก คุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจสอบการ์ตูนที่เหมาะสมกับลูกแต่ละวัยได้จากเว็บไซต์ www.commonsensemedia.org เพียงใส่ชื่อการ์ตูนลงไป ก็จะทราบทันทีว่าการ์ตูนเรื่องนั้นเหมาะกับลูกในวัยนั้นหรือไม่
MUST READ: พ่อแม่ปล่อยลูกเล็กดู การ์ตูนฮีโร่-แฟนตาซี บั่นทอนทักษะชีวิต
MUST READ :ลูกติดจอ ติดมือถือ แก้ได้ด้วยกฎ 3 ต้อง 3 ไม่
อย่างไรก็ตาม การใช้แอปเป็นเพียงเครื่องมือในการป้องกันลูกจากภัยไซเบอร์ แต่สิ่งที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ความฉลาด ความคิดปฏิภาณที่แท้จริงคือการได้เล่นกับพ่อแม่ ทำกิจกรรม พบเจอประสบการณ์จริง ฉะนั้นพ่อแม่ควรใช้เวลาอยู่กับลูกมากที่สุด แทนที่จะปล่อยให้ “ยูทูปเป็นพี่เลี้ยงลูก” เพราะแท้จริงแล้วเด็กๆเองไม่ได้ต้องการอะไรไปมากกว่าพ่อแม่ของเขา
อ่านวิธีติดตั้งแอป Youtube Kids แบบง่ายๆ ทำตามได้เลยหน้า3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
วิธีติดตั้งแอป YouTube Kids เบื้องต้น
การใช้Youtube Kidsยังจำกัดเฉพาะแอพพลิเคชั่นที่ติดตั้งในมือถือหรือแท๊ปเล็ต แต่การเข้าจากเว็บไซต์ยังใช้งานไม่ได้ สามารถเลือกดาวน์โหลดได้ทั้งในระบบ Android และ IOS ฟรี!! ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนใช้งานได้ที่นี่
หลังจากดาวน์โหลดเสร็จแล้ว เมื่อเข้าใช้งานครั้งแรกจะเริ่มเข้าสู่ “การตั้งเริ่มต้น” (Get Started) ซึ่งเป็นการสร้างบัญชีให้ลูกก่อน
กรอกค.ศ.เกิดของผู้ปกครองให้ครบ 4 หลัก (วิธีคำนวนหาค.ศ. เช่น พ.ศ. 2525 – 543 = 1982 /เกิดปีค.ศ. 1982)
เลือกบัญชี Google เพื่อเข้าใช้งาน จากนั้นอ่านข้อตกลงการใช้งาน แอพจะให้ใส่รหัสผ่านบัญชี Google (ถ้าไม่มีให้เลือกที่ปุ่ม SIGN UP)
สร้างโปรไฟล์ของลูก เลือกภาพโปรไฟล์ได้ตามต้องการ ใส่ชื่อ อายุ และวันเกิดตามความเป็นจริง เพื่อที่แอปจะเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมให้ เมื่อลูกกดภาพโปรไฟล์ก็สามารถเข้าสู่หน้าแรกของYoutube Kidsได้ทันที
กรณีที่พ่อแม่ต้องการตั้งค่าเพิ่มเติมให้กดที่ภาพ “แม่กุญแจ” ก่อน เพื่อกำหนดรายการหรือตั้งเวลาที่เหมาะสมกับลูกแต่ละวัย หากลูกพยายามเข้าไปแก้ไขสิ่งที่พ่อแม่ตั้งค่าไว้แอปจะส่งรายงานไปทางอีเมลให้ทราบทันที
สำหรับพ่อแม่ที่ต้องการให้ลูกดูยูทูปหรือเล่นอุปกรณ์ไอทีน้อยลง ลองเปลี่ยนเวลาว่างของลูกให้ไปสนใจกิจกรรมอื่นๆที่ตัวเองชอบ เพราะหลายครั้งเด็กไม่ได้ติดยูทูปจากความอยากดู เพียงแต่เขารู้สึกเบื่อและไม่รู้จะทำอะไร ถ้าพ่อแม่ลองหยิบยื่นกิจกรรมอื่นที่ทำให้ลูกได้ไม่ต่างกัน เชื่อว่าไม่นานลูกก็จะลืมยูทูปไปได้เองในที่สุด
บทความน่าสนใจอื่นๆ
ไม่อยากให้ลูกเป็น “โรคสมาธิสั้น ADHD” หยุดหยิบยื่นสิ่งเหล่านี้
แม่เตือน! ลูกเล่นมือถือนาน เกินไป สุดท้ายตาอักเสบ
การ์ตูนอันตรายชวนลูกฆ่าตัวตาย Momo Challenge คือ อะไร?
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://support.google.com/youtube/answer/2801964?hl=th www.it24hrs.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่