ประโยคอันตราย หยุด!! ทำร้ายลูกด้วยการใช้คำพูดทำร้ายจิตใจ

ระวัง!!! “ประโยคอันตราย” บาดใจลูก

Alternative Textaccount_circle
event

หยุด!! ทำร้ายลูกด้วยการใช้ ประโยคอันตราย หรือคำพูดทำร้ายจิตใจ..พ่อแม่เช็คด่วนก่อนจะสาย!!

เพราะคงไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากสร้างรอยแผลในใจลูกน้อย แต่บางครั้งด้วยคำพูดพลั้งปากไม่กี่คำจากอารมณ์แรงเพียงชั่วครู่

…คำพูดเหล่านี้ที่คุณเผลอพูดทำร้ายจิตใจลูกน้อยให้เขาเสียใจ บางครั้งเขาอาจร้องไห้ออกมา หรืออาจมีเด็กอีกหลายคนที่เก็บไปคิด บั่นทอนความเชื่อมั่นลึกๆให้ลดลงเรื่อย ๆ อย่างไม่รู้ตัว เมื่อรู้เสียอย่างนี้แล้วคุณยังคิดจะทำร้ายจิตใจของเขาโดยไม่ตั้งใจอีกต่อไปหรือเปล่า?

ลองมาดูกันดีกว่าค่ะว่า คำพูดแบบไหนกันที่ทิ่มแทงหัวใจดวงน้อยๆ…

เด็กโง่! / ทำไมโง่อย่างนี้

ก่อนจะโมโหจนหลุดประโยคนี้ เรื่องหนึ่งที่ลูกวัยเตาะแตะๆ คงอยากบอกพ่อแม่มากๆ คือ ทุกอย่างเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องเรียนรู้ แม้จะเป็นเรื่องแสนง่าย หรือสิ่งนั้นคุณจะทำให้ดู หรือถึงขั้นจับมือเขาทำรอบแล้วรอบเล่าก็ตาม

  •  เช่น เทน้ำหก เหตุการณ์สุดคลาสิคของเด็กเตาะแตะ ที่ผู้ใหญ่มักมองว่าเรื่องง่ายๆ ทำไมลูกถึงต้องเทให้หก เพราะการเทน้ำจากภาชนะหนึ่งไปภาชนะหนึ่ง สำหรับเด็กเล็ก ภาชนะใส่น้ำหนักแค่ไหนเขาถึงจะถือได้ เทได้ และเทแค่ไหนน้ำถึงจะไม่ล้นไม่หก ทั้งหมดนี้ต้องใช้การทำงานของกล้ามเนื้อมือและสายตาที่สัมพันธ์กัน ความสามารถกะประมาณ ฯลฯ คุณว่าการเทน้ำเป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็กเล็กๆ จริงหรือ

ดังนั้น การทดลองและผิดพลาดในเรื่องเดิมๆ ของลูกวัยนี้ ก็เพื่อต้องการทำอะไรด้วยตัวเอง ไม่ได้หมายความว่า เขาโง่  ลองเปลี่ยนประโยคใหม่ เป็น “แม่ว่าถ้าลูกทำแบบนี้จะดีกว่านะ เราลองมาทำด้วยกันไหม” กำลังใจ การทำให้ดู ทำด้วยกัน จะช่วยพัฒนาทักษะของลูกให้ก้าวหน้าได้ดีกว่าด้วย


หยุดร้องนะ ถ้าไม่หยุด เดี๋ยวแม่จะ…

เด็กในวัยนี้ทักษะด้านการสื่อสารยังไม่ดีมากนัก การร้องไห้จึงเป็นวิธีแรกและสำหรับหลายๆ คนก็เป็นวิธีเดียวที่เขาใช้สื่อสาร ดังนั้นถ้าคุณมองข้าม และบังคับให้ลูกทำตามความต้องการของคุณ (ทำให้ลูกหยุดร้องไห้ให้ได้) ด้วยการตะคอก ตวาด หรือสั่งให้หยุดจึงไม่มีผลต่อความเข้าใจของลูกเลยแม้แต่น้อย แต่ถ้าลูกจะหยุดร้องก็เพราะเขากลัวท่าทีของคุณแม่เสียมากกว่า

  • ครั้งต่อๆ ไป เมื่อลูกเกิดความคับข้องใจ เขาก็ยังร้องไห้งอแงเหมือนเดิม ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า “มากกว่า80 เปอร์เซ็นต์ของเด็ก 2 ขวบ ยังทำผิดเรื่องเดิมซ้ำๆ แม้จะเคยถูกลงโทษแล้วก็ตาม” การปรับพฤติกรรมที่ไม่ดีในเด็กเล็กควรช่วยให้ลูกรู้จักความรู้สึกของตัวเอง และรู้วิธีบอกความต้องการของเขาได้จะดีกว่า
อ่านต่อ >> “ประโยคอันตราย” บาดใจลูก ที่พ่อแม่ต้องระวัง คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up