เด็กวัยเตาะแตะยังไม่สามารถสื่อสารผ่านคำพูดได้ การแสดงออกเหล่านี้จึงเป็นวิธีหนึ่งที่พวกเขาใช้แสดงความรู้สึกหรือควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
มาร์ก ดับเบิ้ลยู โรเบิร์ต ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาคลินิก ประจำมหาวิทยาลัยไอดาโฮ อธิบายว่า นิสัยชอบดึงผมนี้เกิดจากสาเหตุหลักๆ 3 ประการนั่นคือ
• ปฏิกิริยาตอบสนองเด็กๆ พบว่า ทำแบบนี้แล้วคนอื่นจะมีปฏิกิริยา พวกเขาจึงอยากทำอีกเช่น พอหนูๆ เห็นว่าดึงผมพี่แล้วพี่ร้องเสียงดัง เขาก็รู้สึกสนุกจนคอยดึงผมพี่หรือคนอื่นๆ ต่อ เหมือนที่เด็กๆ ชอบเปิด-ปิดสวิตช์ไฟนั่นแหละ
• หยุดนะ! บางครั้งเจ้าตัวเล็กของคุณอาจจะดึงผมคนอื่นเพื่อหยุดสิ่งไม่ดี (ในสายตาของพ่อหนูแม่หนู) ที่กำลังจะเกิดขึ้นเช่น ตอนที่เพื่อนกำลังจะแย่งของเล่นชิ้นโปรดไป หรือตอนที่คุณพ่อกำลังจะอุ้มไปหาหมอ
• หาทางออกเด็กวัย 2 ขวบเริ่มพัฒนาทักษะการเรียนรู้เพื่อหาทางออกในสถานการณ์ต่างๆ เช่น เมื่อเห็นพี่สาวกำลังจะหยิบคุกกี้ชิ้นสุดท้าย เขาก็รีบดึงผมพี่เอาไว้จนพี่สาวร้องลั่น
“สำหรับเด็ก วิธีนี้อาจได้ผลสองต่อ”ศาสตราจารย์โรเบิร์ตกล่าว “นอกจากแม่จะเข้ามาไกล่เกลี่ยแบ่งคุกกี้ชิ้นสุดท้ายให้ด้วยแล้ว ยังทำให้พี่สาวต้องหยุดคิดถ้าจะหยิบคุกกี้คราวหน้า”
บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง