ลูกติด ipad …ทุกวันนี้อุปกรณ์เทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทในชีวิตมนุษย์เรามากขึ้น แม้กระทั่งเด็กๆ ตัวเล็กตัวน้อยก็มีแท็บเล็ต สมาร์ทโฟนใช้เล่นติดมือกันอย่างคล่องแคล่ว นั่นเป็นเพราะการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ปล่อยให้ลูกน้อยอยู่กับสิ่งเหล่านี้เร็วก่อนวัยอันควร!
ตอนนี้หันไปทางไหนก็อาจจะเห็นคุณแม่นั่งทานข้าว เล่นมือถือ แล้วปล่อยให้ลูกนั่งสไลด์ไอแพดเล่น หรือบางคนอาจจะกำลังปั่นงานที่บ้าน เลยเปิดทีวีช่องการ์ตูนให้ลูกน้อยดู หรือวางไอแพดให้สไลด์เล่น พร้อมถุงขนมกองข้างตัว นั่นก็เพื่อที่จะหยุดการวิ่งเล่นซนของลูก และให้คุณแม่สามารถทำงานบ้านได้อย่างสำเร็จ
แต่เชื่อหรือไม่ว่าสิ่งเหล่านี้หากทำบ่อยๆ นานๆ จนลูกน้อยชิน อาจทำให้ลูกน้อยขาดพัฒนาทางร่างกายและสมองอย่างที่ควรจะเป็น จนกระทั่งรู้ตัวอีกที เด็กๆ อาจเสี่ยงโรค “ออทิสติกเทียม” ได้
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : สมองเด็ก ออทิสติก เติบโตช้า เพราะอะไร แล้วจะพัฒนาได้ไหม ?
ระวัง ลูกติด ipad เพราะแม่ใช้เลี้ยงตั้งแต่เล็ก เสี่ยงเป็นออทิสติก
ซึ่งจากอาการของออทิสติกเทียมนี่เอง ทำให้ผู้เป็นลุงคนหนึ่งได้สังเกตเห็นหลานชาย ว่าอาจเสี่ยงเป็นโรคนี้ เพราะเนื่องจากผู้เป็นแม่ (น้องสาว) ได้ใช้ไอแพดในการเลี้ยงลูกมาตั้งแต่เล็กๆ โดยผู้เป็นลุงได้เล่าแชร์ประสบการณ์นี้ผ่าน เว็บไซต์พันทิปผ่าน User tan_www มีชื่อกระทู้ว่า “แชร์ประสบการณ์ น้องสาวใช้iPadเลี้ยงลูก จนคิดว่าลูกเป็นออทิสติก เรียกชื่อไม่หัน ไม่สบตา พูดภาษาคนไม่เป็น”
มีรายละเอียดดังนี้…
น้องสาวอยู่ ตจว.ครับ (ที่จริงคือน้องภรรยา) มีลูกคนที่ 2 เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ipad กำลังฮิตเลย ลูกคนโตก็ต้องดู (4ขวบ) สอนการบ้าน ทำนู่นนี่นั่นให้คนโต รวมถึงเวลาส่วนตัวตัวเองด้วย
วิธีที่ง่ายที่สุดคือ เอา ipad ให้ลูกตั้งแต่ 1 ขวบ 6 เดือน
ตื่นมาก็ให้ไปเลย ลูกก็เล่นไป แม่ก็สบายกวาดบ้าน ซักผ้า ล้างขวดนม ลูกเล่น ipad วันละ ประมาณ 6 ชั่วโมงทุกวันตั้งแต่ 1 ขวบ 6 เดือน ถึง 2 ขวบ
ช่วงเกือบ 2 ขวบ พาไปฉีดวัคซีน พยาบาลถามชื่ออะไร ไม่ตอบ ไม่สบตา จนพยาบาลบอกลูกเหมือนเด็กออทิสติกเลย shock กันทั้งบ้าน
ค้นข้อมูลอาการเด็กออ คือ ไม่สบตา เรียกชื่อไม่หัน เดินเขย่งเท้า ชอบหมุนวงล้อ อาการครบเลย (หนักสุดคือ เรียกชื่อไม่หัน ไม่สบตา)
อ่านต่อ >> “แชร์ประสบการณ์! ลูกติด ipad เพราะแม่ใช้เลี้ยงตั้งแต่เล็ก เสี่ยงเป็นออทิสติก” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
แม่ร้องไห้หนักมาก ก็คิดว่าลูกหูหนวกมั้ย ไม่ได้ยินเลยไม่หัน หาหมอหู หมอหูบอกไม่เป็น
พาเข้ากทม. มารพ.รามา หมอทดสอบพัฒนาการ หมอบอกก้ำกิ่ง แต่ไม่ฟันธง อาจเป็นโรคติดสื่อ (ติด ipad)
หมอสั่งหยุดเล่นเด็ดขาด และหาของเล่นให้ลูกเล่น อีก 3 เดือนมาใหม่
แต่ก็ไม่ได้ไปละ … ลองพาลูกเข้าโรงเรียน มีเพื่อน อาการดีขึ้นมาก เลิก ipad เด็ดขาด ห้ามทุกคนเปิด TV กลางบ้าน
ชวนเล่นของเล่น เตะบอล ตอนนี้หายดีแล้ว ใช้เวลาฝึก 6 เดือน แต่ก็ยังพัฒนาการช้ากว่าคนอื่นไปครึ่งปี เพราะเวลาที่เสียไปจากการติด ipad 6 เดือน
หมอบอกเด็กเป็นเยอะมากกกก ก็มันสบายจริงๆนะ ถ้าได้เลี้ยงเด็กจะรู้เลย
เลยมาเล่าให้ฟัง เลิกใช้ iPad เลี้ยงลูกนะครับ อันตรายจริงๆ
◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊
เรียกชื่อแล้วลูกไม่ตอบรับ สัญญาณออทิสติกหรือแค่ติดหน้าจอ?
จากกรณีที่ผู้เป็นลุงเล่ามาสำหรับอาการ เรียกชื่อแล้วลูกไม่ตอบรับ อาจสัญญาณออทิสติกหรือแค่ติดหน้าจอ? โดยพญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับอาการนี้ไว้ว่า
สำหรับพัฒนาการทั่วไปโดยปกติของเด็กอายุหนึ่งขวบ ที่เดินได้แล้ว พูดคำ 1 พยางค์ที่มีความหมาย เช่น ป๊ะ ม๊ะ (พ่อแม่) ได้ แสดงว่ามีพัฒนาการสมวัย ยิ่งมองตามเวลาแม่พูดด้วย การได้ยินก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเรียกชื่อแล้วไม่ค่อยหันมา อาจเป็นสัญญาณของภาวะออทิสติก คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบความผิดปกติอื่นๆ หากเข้าข่ายก็ควรพาไปปรึกษาแพทย์ค่ะ
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : 6 สัญญาณออทิสติก ที่ไม่ใช่ ออทิสติก
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : ลูกพูดช้า ทำอย่างไรดี
อีกสาเหตุหนึ่ง คือ การที่ลูกดูโทรทัศน์ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์มากเกินไป จนไม่สนใจเวลาคนเรียก คุณพ่อคุณแม่ลองหยุดให้ลูกใช้อุปกรณ์เหล่านั้น แล้วประเมินว่าลูกตอบสนองดีขึ้นหรือไม่ รวมถึงหมั่นเรียกชื่อลูกบ่อยๆ เวลาชวนกันเล่น ป้อนอาหาร ใส่เสื้อผ้า ฯลฯ เมื่อลูกหันมาก็ยิ้มชมเชย ถ้าลูกไม่ทำ ให้จับคางลูกหันมาหาด้วยความนุ่มนวลและยิ้มแย้ม แล้วชมเชยทุกครั้ง จะช่วยฝึกลูกให้ตอบสนองต่อคนรอบข้างมากขึ้นค่ะ
ให้ลูกดูทีวี เล่นแท็บเล็ต ได้ตอนไหน?
- ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีใช้งานสมาร์โฟนหรือแท็บเล็ต (ipad)
ข้อแนะนำจากสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (The American Academy of Pediatrics) ระบุว่า เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ ผู้ปกครองไม่ควรให้เด็กได้ใช้, สัมผัส, ดูหน้าจอ ของอุปกรณ์ไฮเทคเลย หรือพูดง่ายๆ ว่า ห้ามใช้เลย
ในกรณีนี้คือรวมถึงทีวีด้วย
เนื่องจากเด็กอายุไม่ถึง 2 ขวบนั้นยังเด็กเล็กมาก สมองยังอยู่ในช่วงพัฒนา รวมถึงดวงตาและการรับรู้ต่างๆ ยังไม่เหมาะที่เด็กจะรับสื่อภายนอกใดๆ เข้ามาในช่วงอายุนี้ ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิด และก็เล่นกับลูกด้วยของเล่นปกติ จับต้องได้ในชีวิตจริง
- เด็กอายุ 3-5 ปี เปิดให้เล่น สมาร์โฟนหรือแท็บเล็ต (ipad) ได้เพียง 1 ชั่วโมงต่อวัน
จากผลสำรวจในประเทศอังกฤษพบว่าเด็กอายุ 3-5 ปี มีผู้ปกครองหลายท่านเริ่มให้เด็กได้รับสื่อจากอุปกรณ์ไฮเทคต่างๆ บ้างแล้ว โดยระบุว่าเด็ก 57% เคยเล่นเกมจากอุปกรณ์ไอที, 25% นั่งดูรายการทีวี
ซึ่งอันที่จริงในวัยนี้ ก็ถือว่าเริ่มรับรู้สื่อจากภายนอกได้แล้ว แต่ข้อแนะนำของผู้เชี่ยวชาญยังคงให้จำกัดเวลาในการใช้งาน คือไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
อ่านต่อ >> “เมื่อลูกติดไอแพดไปแล้ว คุณพ่อคุณแม่จะช่วยได้” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
- เด็กอายุ 5-18 ปี เปิดให้เล่น IPHONE, IPAD ได้เพียง 2 ชั่วโมงต่อวัน
สำหรับเด็กในวัย 5 ปีขึ้นไปนั้น ถือว่าอยู่ในช่วงของการเข้าโรงเรียนแล้ว และก็จะได้เรียนรู้จากสื่อต่างๆ มากมาย ซึ่งนอกจากจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้แล้ว ยังเปิดโลกกว้างให้เด็กๆ อีกด้วย
แต่ถึงอย่างนั้นทางถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา ก็ยังคงแนะนำให้ผู้ปกครองจำกัดการใช้สื่อของลูก ให้ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน
ซึ่งก็คงมีหลายคนคิดในใจว่า เด็กระดับประถมหรือมัธยม น่าจะให้ใช้ได้มากกว่านั้นได้ (เพราะก็เห็นใช้กันแทบทั้งวันอยู่แล้ว) แต่ก็ต้องอย่าลืมว่านี่คือข้อแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
เมื่อลูกติดไอแพดคุณพ่อคุณแม่ช่วยได้อย่างไร?
หากเด็กติดไอแพดไปแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรนำตารางกิจกรรมในแต่ละวันของลูกมาไล่ดูว่าเขาทำอะไรบ้างในหนึ่งวัน ช่วงที่เล่นไอแพดมากเป็นพิเศษคือช่วงไหน เพื่อหาคำตอบว่าความถี่ในการเล่นเกิดขึ้นเพราะอะไร และถ้าอยากให้ลูกเล่นไอแพดน้อยลง พ่อแม่ก็ต้องหาแรงจูงใจในการดึงลูกไปสู่กิจกรรมใหม่ๆ ให้เขารู้ว่าของเล่นไม่ได้มีแต่ไอแพดอย่างเดียว ยังมีกิจกรรมอีกมากมายที่เล่นแล้วสนุกเหมือนกัน แถมยังมีประโยชน์ในการพัฒนาทักษะมากกว่า ที่สำคัญคือพ่อแม่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมเหล่านั้นด้วย
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : 7 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับดวงตาของเด็กวัยเรียน ที่เกิดจากหน้าจอ
เบื้องต้นถ้าไม่สามารถหักดิบให้ลูกเลิกเล่นไอแพดได้ทันที ควรเริ่มจากการค่อยๆ ลดเวลาลงก่อน ถ้าปกติเคยให้เล่นหนึ่งชั่วโมง ก็ลดเหลือสัก 45 นาที 30 นาที 15 นาที ตามลำดับ ระหว่างนั้นก็หากิจกรรมอื่นสอดแทรกเข้าไป เป็นทางเลือกให้กับลูกว่าถ้าไม่เล่นไอแพดแล้วจะให้เขาทำอะไร จนกระทั่งเหลือเวลาสำหรับการเล่นไอแพดให้น้อยที่สุด
หรือเมื่ออยู่นอกบ้าน พ่อแม่มักชอบยื่นไอแพดใส่มือลูกทันทีด้วยความเคยชิน เพื่อให้เด็กอยู่นิ่งๆ ไม่รบกวน โดยไม่ทันฉุกคิดเลยว่าการกระทำเช่นนั้นส่งผลเสียทำให้ลูกขาดทักษะการใช้ชีวิตประจำวันของเขา เพราะถ้าก้มมองแต่ไอแพดอย่างเดียว เด็กจะขาดโอกาสเรียนรู้เรื่องการช่วยเหลือตัวเองในเรื่องของการทานอาหารเอง การรอคิว การสั่งอาหาร การใช้เงิน การแลกคูปอง เรื่องเล็กๆ น้อยๆ
เรื่องเหล่านี้มองผิวเผินอาจไม่สลักสำคัญอะไร แต่มันเป็นช่วงเวลาที่เราสามารถสอนทักษะการเรียนรู้ของเขา โดยไม่ต้องเสียเงินที่ไหนเลยและยังเป็นช่วงเวลาของครอบครัวที่ได้อยู่ร่วมกันพร้อมหน้าพร้อมตา ซึ่งเราสามารถใช้โอกาสนี้สอนมารยาททางสังคมและเรื่องต่างๆ รอบตัวให้กับลูกได้
สุดท้าย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กในการเล่นไอแพดให้ได้ผลนั้น เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องพัฒนาการช้าและโรคออทิสติก ซึ่งไม่ใช่แค่เด็กที่ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง แต่คุณพ่อคุณแม่และคนเลี้ยงดูก็ต้องพร้อมปรับเปลี่ยนวิธีการตอบสนองต่อลูกด้วยเช่นกัน อย่าลืมนะครับว่าคุณคือคนสำคัญที่สุดสำหรับลูก ถ้าอยากให้ลูกเติบโตเป็นเด็กที่มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจที่สมบูรณ์ ก็ต้องเริ่มจากการปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างที่ดีและสร้างสิ่งแวดล้อมในครอบครัวที่มีคุณภาพให้กับลูกก่อนนะคะ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- เตือน! พัฒนาการลูกเสียจากมือถือของพ่อแม่
- 11 วายร้าย!! ทำลายสมองลูก
- ลูกเป็นออทิสติกเทียม เพราะดูทีวีมากเกินไป
- ต้นเหตุลูกพูดช้า เพราะดูทีวี มือถือ และแท็บเล็ต ประสบการณ์จากคุณแม่
ขอบคุณข้อมูลจาก :คุณ tan_www (pantip.com) , www.phyathai.com