คุณพ่อ คุณแม่หลายคนที่มีลูกน้อยตั้งแต่วัยเตาะแตะไปจนถึงเด็กโต อาจมีปัญหาที่ลูกน้อยชอบ คลาน เดิน ปีนป่าย กระโดด และวิ่งเล่นได้ตลอดเวลา แล้วก็เกิดความกังวลว่า ลูกอยู่ไม่นิ่ง อยู่ไม่สุข แบบนี้จะเป็นสัญญาณของเด็กสมาธิสั้นหรือไม่? อย่าเพิ่งได้กังวลกับเรื่องนี้ มาหาคำตอบกันค่ะ
ลูกอยู่ไม่นิ่ง เป็นสัญญาณของเด็กสมาธิสั้นหรือไม่?
เด็กเล็กๆ ในวัยเตาะแตะ ไม่เคยรู้สึกเหนื่อยกับกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา เพราะเขากำลังเรียนรู้ที่จะใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในร่างกายในการพัฒนาร่างกายของตัวเอง ถ้าคุณพ่อ คุณแม่ยังเป็นกังวลว่าลูกจะเป็นเด็กสมาธิสั้น คุณพ่อ คุณแม่ก็สามารถสังเกตอาการได้โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ เด็กขาดสมาธิ กับเด็กซนไม่อยู่นิ่ง ถ้าลูกมีอาการมากกว่า 6 ข้อดังต่อไปนี้ แสดงว่าลูกน้อยสมาธิสั้น
วิธีสังเกตลูกน้อยสมาธิสั้น
1.อาการของเด็กขาดสมาธิ
- ไม่สามารถตามสิ่งที่พ่อแม่ และครูสั่งจนเสร็จได้
- ไม่ค่อยฟังเวลาพูดด้วย
- ไม่ตั้งใจฟัง
- เก็บรายละเอียดไม่ได้
- ไม่มีสมาธิในการเรียน และการเล่น
- ผิดพลาดบ่อยๆ
- ไม่มีระเบียบ
- พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ความคิด หรือสมาธิ
- วอกแวกง่าย
- ทำของหายอยู่บ่อยๆ ขี้ลืม
อ่านต่อ > อาการของเด็กซน ไม่อยู่นิ่ง คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
2.อาการของเด็กซน ไม่อยู่นิ่ง
- ยุกยิกไม่อยู่สุข นั่งไม่ติดที่
- ลุกเดินบ่อยๆ เมื่ออยู่ในบ้านหรือห้องเรียน
- ชอบวิ่ง และปีนป่ายสิ่งต่างๆ
- พูดมาก พูดไม่หยุด
- เล่นเสียงดัง
- ตื่นตัวตลอดเวลา
- ตื่นเต้นง่าย
- ชอบตอบคำถามก่อนที่พ่อแม่พูดจบ
- รอคอยไม่เป็น
- ชอบขัดจังหวะ หรือแทรกเวลาคนอื่นพูด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การรักษาสมาธิสั้น
ถ้าคุณพ่อ คุณแม่สังเกตลูกน้อยแล้วพบว่าลูกน้อยมีอาการมากกว่า 6 ข้อให้รีบรักษา โดยวิธีการรักษามีทั้งหมด 3 วิธี ได้แก่ การกินยา การปรับพฤติกรรม และการช่วยเหลือเรื่องการเรียน แต่วิธีที่ได้ผลมากที่สุดคือ กินยาเพิ่มสมาธิ ร่วมกับกับการฝึกเทคนิคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ฉะนั้นถ้าพบว่าลูกเป็นเด็กสมาธิสั้น ให้รีบพาไปปรึกษาเพื่อรับการรักษาด้วยยา และขอคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ลูกน้อยค่ะ
เครดิต: ผศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่นภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
ไม่อยากให้ลูกเป็น “โรคสมาธิสั้น ADHD” หยุดหยิบยื่นสิ่งเหล่านี้