AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกสมาธิสั้น แก้ไขด้วยวิธีการเลี้ยงแบบสมัยใหม่!

10 วิธีช่วยแก้ปัญหาลูกสมาธิสั้น

เด็กสมาธิสั้น หรือบางคนอาจเรียกว่าเด็กไฮเปอร์ เมื่อ ลูกสมาธิสั้น จะทำอะไรได้ไม่นาน จะวอกแวก ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย ในเด็กเล็กจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ

สังเกตอาการ ลูกสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้นในเด็ก ถ้าเป็นเด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด มักซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก เหลียวซ้ายแลขวา ยุกยิก แกะโน่นเกานี่ อยู่ไม่สุข ปีนป่าย นั่งไม่ติดที่ ชอบคุย และชอบส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง

โรคสมาธิสั้นในเด็ก

ถ้าลูกของคุณมีลักษณะอาการอยู่ในข่ายข้างต้น จนทำให้เกิดผลเสียต่อตัวเด็กเป็นอย่างมาก เช่น ทำงานไม่ทันเพื่อน ทำการบ้านไม่เสร็จ กระทบต่อผลการเรียน ดูฉลาดคล่องแคล่วแต่ผลการเรียนไม่ดี นอกจากนี้ยังอาจทำให้เพื่อนไม่ค่อยอยากเล่นด้วยเพราะเล่นแรง หรือก่อให้เกิดความรำคาญแก่คนรอบข้างอย่างมาก ก็ให้สงสัยได้เลยว่าลูกของคุณอาจจะเป็นสมาธิสั้น ควรพาไปพบจิตแพทย์เด็ก เพื่อตรวจยืนยัน และหาแนวทางดูแลช่วยเหลือต่อไป

และด้วยวิธีการเลี้ยงดูลูกในยุคนี้ ทำให้สังเกตได้ว่า ปัญหาเด็ก สมาธิสั้น จะมีให้พบให้เห็นอยู่เรื่อย และมีแนวโน้มที่สูงขึ้นด้วยซ้ำไป ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เด็กเป็นโรคนี้กันบ่อยนี้ ก็เกิดจากผู้เลี้ยงดูนี่แหละ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่จะทำอย่างไรดีที่จะช่วยลูกรักให้ห่างจากโรคนี้ได้ เราไปดูวิธีกันค่ะ

  1. อย่าเปิดทีวี ให้มีเสียงดังจนเกินไป หรือสภาพแวดล้อมในบ้านต้องไม่วุ่นวายหรือมีการทะเลาะกันบ่อยครั้ง
  2. หามุมสงบสำหรับเด็ก เพื่อให้เกิดสมาธิในการทำการบ้าน
  3. ฝึกฝนวินัยให้เด็ก สร้างกรอบกฎเกณฑ์ มีตารางเวลาชัดเจน ไม่ปล่อยละเลยหรือตามใจ
  4. มีการสื่อสารที่สั้นและชัดเจน หากไม่แน่ใจให้เด็กทบทวนว่าสิ่งที่สั่งสอนไปคืออะไรบ้าง
  5. มีความเข้าใจในพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้นอย่างจริงจังและจริงใจ

อ่าน >> วิธีช่วยลูกแก้สมาธิสั้น 6-10 และวิธีเพิ่มสมาธิให้ลูก คลิกเลย

  1. จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้เกิดความมีระเบียบ ไม่ปล่อยให้บ้านรกรุงรัง
  2. อย่าทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย
  3. ไม่ควรจับกลุ่มให้เด็กสมาธิสั้นอยู่ใกล้ชิดกับเด็กที่มีปัญหาแบบเดียวกัน เพราะจะทำให้กลายเป็นเด็กที่เกเรก้าวร้าวได้
  4. ส่งเสริมจุดแข็งข้อดีในตัวเด็ก เพื่อให้เด็กรู้สึกดี และเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง
  5. จัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ให้ได้ใช้เวลาว่างอย่างมีประโยชน์ และใช้พลังงานส่วนเกินอย่างเหมาะสม รวมถึงเป็นการฝึกสมาธิไปในตัว เช่น ออกกำลังกาย หรือเล่นดนตรี ตามที่เด็กสนใจ

ช่วยลูกเพิ่มสมาธิได้อย่างไร?

ถ้าเด็กสมาธิสั้น ทำอะไรก็มักไม่สำเร็จ และส่งผลเสียมากมายทั้งต่อตัวเด็กเอง และคนรอบข้าง ดังนั้นการช่วยเหลือเด็กให้มีสมาธิจึงสำคัญมาก แนวทางเพิ่มสมาธิจะทำควบคู่กัน 3 แนวทาง คือ

1. การใช้ยาเพิ่มสมาธิ


2. การฝึกฝนการควบคุมตัวเอง

ลูกสมาธิสั้น ไม่ใช่ปัญหาสำคัญ แต่สำคัญที่ว่า จัดการกับสมาธิสั้นได้เหมาะสมหรือไม่มากกว่า


ขอบคุณข้อมูลจาก นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา (จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น)

และ แฟนเพจ เฟสบุ๊ค Babysayhi