ระวัง! ลูกน้อยที่พูดเก่ง ร่าเริงสดใส อาจกลายเป็นใบ้ได้ เพราะโทรศัพท์มือถือ …ตามมาดูเรื่องจริง กับ ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ ว่าร้ายแรงแค่ไหน กันเลยค่ะ
แชร์จากเรื่องจริง! ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์
ทำลูกเกือบเป็นใบ้
ปัจจุบัน ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ก็จะเห็นทั้งผู้ใหญ่ ไปจนถึงลูกเล็กเด็กแดง โดยเฉพาะวัยที่ไม่ถึง 2 ขวบ บางคนยังพูดไม่ได้ด้วยซ้ำ แต่กลับใช้มือปัดหน้าจอสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งเป็นภาพที่เห็นกันคุ้นตา
ซึ่งตัวเด็กเองยังไร้เดียงสา แต่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ ถึงจะมีคุณอนันต์ แต่ ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ ก็มีมากด้วยเช่นกัน หากใช้ไม่เป็น ไม่ถูกที่ ถูกเวลา ถูกสถานการณ์ หรือไม่ถูกกับคนในแต่ละช่วงวัย
ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ในยุคนี้ ก็มักจะมีเหตุผลมาประกอบเสมอเพื่อหยิบยื่นเจ้าอุปกรณ์เหล่านี้ให้กับลูกตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อ
- ไม่มีเวลาดูแล เพราะต้องทำงาน
- เดี๋ยวลูกไม่ทันสมัย กลัวลูกด้อยกลัวคนอื่น
- หรือแม้แต่เหตุผลที่พอจะฟังขึ้นหน่อยก็อยากให้ลูกได้เรียนรู้ เพราะมีหลายแอพพลิเคชั่นที่เป็นประโยชน์ในด้านการศึกษา
ซึ่งนั้นก็ถือว่าเป็นข้อดีอย่างหนึ่ง แต่ข้อดีนั้นจะเพียงพอหรือไม่ถ้าเทียบกับช่วงอายุ และผลกระทบที่กำลังจะเกิดตามมา
โดยเรื่อง ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ มีผลการศึกษาของ Dr. Jenny Radesky กุมารแพทย์แห่งศูนย์การแพทย์บอสตัน สหรัฐอเมริกา และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาการของเด็ก ซึ่งได้ศึกษาพฤติกรรมของพ่อแม่ที่มีลูกเล็ก ๆ ที่รับประทานอาหารในร้านอาหาร พบว่า…
พ่อแม่ 55 คนใช้สมาร์ทโฟนในระหว่างการรับประทานอาหาร แม้ว่าเด็กจะร้องไห้ หรือแสดงพฤติกรรมที่เรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่อย่างไรก็ตาม พ่อแม่จะสนใจการพูดคุยโทรศัพท์มากกว่าลูก
Dr. Radesky กล่าวว่า… เด็กเรียนรู้ภาษา เรียนรู้เกี่ยวกับอารมณ์และการควบคุมอารมณ์ของตนเอง โดยการเฝ้าดูอากัปกิริยา การสนทนา และการแสดงออกทางสีหน้าของผู้คนที่อยู่รอบตัว หากเด็กหรือพ่อแม่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่หน้าจอ ก็จะทำให้ขาดการเรียนรู้ดังกล่าว
ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการในด้านต่างๆ อันหมายถึง เด็กจะต้องการให้ผู้อื่นตอบสนองต่อตนเองในแบบอย่างเดียวกับที่สมาร์ทโฟนตอบสนอง คือ ต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว มีสีสัน บางครั้งอาจถึงขั้นก้าวร้าว
อ่านต่อเรื่องจริง! “ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ ทำลูกเกือบเป็นใบ้” คลิกหน้า 2
ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ จนลูกเกือบเป็นใบ้!
ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่ยังมองไม่เห็นภาพว่า การปล่อยให้ลูกอยู่แต่กับโทรศัพท์ หรือให้ ลูกเล่นโทรศัพท์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต จะมีผลเสียอย่างไร ตามมาอ่านเรื่องจริงที่ทางทีมงาน Amarin Baby & Kids ไปเจอมา ซึ่งเล่าว่า…
ขออนุญาตเล่ากรณีตัวอย่างที่ผู้เขียนได้เคยเห็นมาเองกับตัว คือ ลูกชายวัย 7 ขวบ ของญาติฝั่งแม่นั้นเป็นเด็กที่ติดแท็บเล็ตมาก ขอย้ำว่ามากจริงๆ! ตอนแรกที่แม่เราเล่าให้ฟังเราก็ไม่คิดว่าจะหนักมากอะไรก็คงติดเหมือนเด็กทั่วไป แต่ไม่ใช่เลย น้องคนนี้มีอาการเก็บตัวอยู่แต่ในห้องตัวเอง จ้องอยู่แต่หน้าจอแท็บเล็ตทั้งวัน และเกือบทั้งคืน (จากที่แม่ของน้องบอกตอนได้คุยกัน) ถามว่าน้องจ้องอะไรนะหรอ น้องเล่นเกมส์ ดูยูทูป วนอยู่แบบนั้นตลอด
ช่วงแรกที่บ้านก็ไม่ได้อะไรชอบซะอีกที่น้องไม่ต้องออกไปเล่นนอกบ้านให้เป็นห่วง แต่เริ่มรู้สึกไม่ดีแล้วในระยะหลังเพราะน้องมีอาการไม่พูดไม่จากับใคร ถามอะไรก็ไม่ตอบ ไม่ออกจากห้อง เวลาทานข้าวแม่ก็เอาไปให้หรือออกมากินเองบ้างเป็นบางครั้ง
ถึงเวลาเปิดเทอมน้องก็ไปตามปกตินะ แต่ก็ไม่สามารถที่จะเรียนรู้เรื่องได้ คือเหม่อลอยบ่อย แม่ก็กังวลกลัวลูกจะมีปัญหาทางจิต ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะเขาก็เป็นคนต่างจังหวัดไม่ได้คิดถึงเรื่องการไปพบจิตแพทย์แต่อย่างใด ประกอบกับที่บ้านของเขานั้นเป็นร้านขายก๋วยเตี๋ยวจึงยุ่งวุ่นวายแต่กับลูกค้ากันทั้งบ้าน จนมีคนแนะนำหลายคนเข้าจึงตัดสินใจพาน้องไปหาหมอ
แต่ก็ยังเป็นหมอโดยทั่วไปอยู่แต่คุณหมอก็ให้คำแนะนำมาว่าให้ลูกเลิกเล่นแท็บเล็ตซะ เพราะมันคือสาเหตุหลักเลย เนื่องจากมันเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เข้าถึงโดยง่าย มีภาพ มีเสียง เคลื่อนไหวไปมา ทำให้เด็กรู้สึกสนใจและอยากจะเล่นมันไปเรื่อยๆ และที่สำคัญมันเป็นการสื่อสารทางเดียว เด็กได้ดูได้ยินอยู่ฝ่ายเดียว เด็กไม่สามารถตอบโต้ใดๆได้ จึงเกิดความเคยชินทำให้ไม่พูดไปโดยปริยาย
และที่เด็กเหม่อลอยนั้นเป็นเพราะสมาธิสั้น เกิดจากภาพและเสียงจากจอที่รวดเร็วไม่กี่วินาทีก็เปลี่ยนทำให้เด็กไม่ทันได้เกิดกระบวนการคิด หมอยังแนะนำอีกว่าให้ครอบครัวให้เวลากับลูก ลองชวนเขาออกมาช่วยงานก็ได้ พูดคุยถามโน่นนี่กับเขาบ่อยๆ ทางครอบครัวก็ทำตามที่คุณหมอแนะนำ
น้องก็มีอาการค่อยๆ ดีขึ้น อาจจะหงุดหงิดในช่วงแรกเพราะไม่ได้เล่นแท็บเลต แต่ตอนนี้ก็เริ่มกลับมาเป็นปกติแล้ว โชคดีที่น้องยังติดไม่ถึงปีจึงง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงหน่อย เสริมอีกนิดนอกจากข้อเสียดังกล่าวมาแล้ว จอแสดงผลของอุปกรณ์เหล่านี้ยังส่งผลไม่ดีต่อระบบประสาทตาอีกด้วย
ขอบคุณเรื่องราว ผลเสียของการให้ลูกดูมือถือ ทำลูกเกือบเป็นใบ้ จากเพจ Tom & Kate Baby Bedding
เทคโนโลยีนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียเท่าๆกัน อยู่ที่การเลือกใช้ประโยชน์ แต่ข้อเสียนั้นจะเกิดมากถ้าใช้โดยไม่เหมาะสมกับช่วงวัย ยิ่งกับเด็กด้วยแล้ว การคิด วิเคราะห์ แยกแยะยังไม่เป็นระบบเหมือนกับผู้ใหญ่ จึงมีผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างมาก หากไม่อยากให้ผลกระทบดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นกับลูกคุณ ก็ลองทบทวนดูว่า แน่ใจแล้วหรือ? ที่จะปล่อยให้ลูกอยู่กับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต
อ่านต่อ >> “9 ผลเสียของการให้ลูกดูมือถือ ที่พ่อแม่ไม่คาดคิดมาก่อน” คลิกหน้า 3
9 ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์
ทั้งนี้ก่อนจะไปพูดถึง ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ก่อนว่า สมองส่วน frontal lobe ของลูกน้อยทำหน้าที่ควบคุม ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก การรับรู้ ความเข้าใจและการใช้เหตุผล การแก้ไขปัญหาและความจำในระยะยาว และส่วน temporal ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น การพูด การได้ยิน และความจำเรื่องใหม่ๆ
ซึ่งสมองทั้ง 2 ส่วน จะมีพัฒนาการไปเรื่อยๆ จนถึงช่วงวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่มีการพัฒนามากกว่าวัยอื่น สมองส่วนดังกล่าวอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับส่วนของหู เด็กที่ใช้สมาร์ทโฟนติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จึงอาจมีผลต่อสมองซึ่งเกี่ยวข้องการเรียนรู้ และการทำงานขั้นสูง ดังนั้นตามมาดูกันค่ะว่าจะมี ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์มือถือ นานเกินไปซึ่งเกิดขึ้นกับสุขภาพของลูกน้อยโดยตรงอะไรบ้าง ที่พ่อแม่หลายคนมองข้าม
1. ขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง >> ลูกจะมีพฤติกรรมแยกตัว ขาดการพูดคุย หรือปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ และคนรอบข้าง รวมไปถึงอาจมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง เพราะว่ามีใจจ่ออยู่กับสมาร์ทโฟน / แท็บเล็ต
2. พฤติกรรมก้าวร้าว >> คนที่ติดการใช้มือถือและไม่ได้ใช้ในเวลาที่ต้องการ มักจะเกิดอาการหงุดหงิด ก้าวร้าว เพราะไม่ได้ดั่งใจ ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กๆ ที่ติดเล่นเกมในสมาร์ทโฟน
3. ทำลายจอประสาทตา >> แสงสีฟ้าจากจอสมาร์ทโฟนสามารถทำลายจอประสาทตา (เรติน่า) จนนำไปสู่โรคจอประสาทตาเสื่อมได้ ซึ่งสูตรที่ใช้กันเพื่อดูแลสุขภาพตา คือ 20-20-20 โดยมองจอแค่ 20 นาที จากนั้นพักสายตามองที่อื่น 20 วินาที โดยมองสิ่งที่อยู่ไกลจากตัวเอง 20 ฟุต เพื่อคลายความล้าจากการใช้สายตา
Must read : ติดจอ เล่นสมาร์ทโฟนหนัก เสี่ยงภัยทางสายตา
4. เสียสมาธิ >> การใช้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดีย ส่งผลให้เสียสมาธิได้ เพราะแทนที่จะจดจ่อกับการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ลุล่วง ก็ต้องมาพะวงกับเสียงแจ้งเตือนต่างๆ ที่เข้ามาจนขาดสมาธิ
5. ทักษะการพูดและการสื่อสารพัฒนาได้ช้า >> เพราะการเล่นแท็บเล็ตลดโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารแบบตัวต่อตัวของเด็ก
6. รบกวนการนอนหลับ >> แสงจากจอมือถือหรือแท็บเล็ตที่สว่างๆ ส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมน “เมลาโทนิน” ที่ช่วยควบคุมการนอนหลับ เนื่องจากการปล่อยฮอร์โมนดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับแสงสว่างเป็นสำคัญ อีกทั้งยังเป็นปัญหาต่อคุณภาพการนอนหลับ ทำให้เด็กนอนฝันร้าย หรือนอนไม่หลับ ซึ่งมีผลทำลายการทำงานของเซลล์ประสาท ส่งผลระยะยาวไปถึงตอนโตได้
7. ปวดเมื่อคอ >> ส่วนใหญ่แล้วเวลาที่ก้มมองจอโทรศัพท์เพื่อพิมพ์ข้อความต่างๆ คนเรามักจะก้มคอราว 60 องศา ซึ่งเป็นท่าที่ไม่เหมาะสม เพราะจะส่งให้เกิดอาการปวดคอได้หากก้มเป็นเวลานานๆ
8. ปวดหัว >> การใช้สมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน จะส่งให้ได้รับรังสีจากคลื่นโทรศัพท์ที่แผ่ออกมามากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งรังสีดังกล่าวส่งผลต่อระบบประสาทด้วยทำให้เกิดอาการข้างเคียงตามมา นั่นคือปวดศีรษะ ปวดไมเกรน หรือบางรายก็อาจจะมีอาการที่รุนแรงกว่านั้น
9. Cellphone Elbow คือ อาการปวดชา หรือเหน็บชาบริเวณปลายแขนและมือ จากการถือสมาร์ทโฟนด้วยท่าทางที่งอแขนเป็นมุมแคบกว่า 90 องศานานเกินไป ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขก็อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกิดข้องอติดแข็งที่นิ้วนางกับนิ้วก้อยได้
คลิป ยืนยันจากรายการ ชัวร์นะแม่ อย่าแชร์มั่ว เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรเล่นแท็บเล็ต
ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : AMARIN TVHD
อย่างไรก็ดีเรื่อง ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ นี้มิได้ต่อต้าน หรือห้ามการใช้หรือเล่นสมาร์ทโฟนของเด็กโดยสิ้นเชิง เนื่องจากการก้าวทันเทคโนโลยีใหม่ๆ ยังมีความจำเป็นในโลกปัจจุบัน ประโยชน์ของเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ ก็มีอยู่ ตัวย่างเช่น เกมส์ต่างๆ ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสายตา การใช้สายตาค้นหาสิ่งของ ช่วยในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว นักวิจัยพบว่า การใช้อินเทอร์เน็ตและการเล่นเกมส์มีประโยชน์ในเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่น ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ สื่อสาร เกิดความสัมพันธ์ในระหว่างเพื่อน
เพียงแต่ในเด็กวัยต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงสมาร์ทโฟน ทีวี คอมพิวเตอร์ ฯลฯ และในเด็กที่โตขึ้น ควรจำกัดเวลาการเล่นในแต่ละวัน ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง คุณพ่อคุณแม่ควรเล่นไปด้วยกัน มีการพูดคุย โต้ตอบ เห็นหน้ากัน และควรหาเกมส์ที่ส่งเสริมการสร้างคำศัพท์ต่างๆ ช่วยในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ และเรียนรู้ทางด้านภาษา เป็นเกมส์ที่มีลักษณะไม่รุนแรงก้าวร้าว ไม่มีการใช้กำลังต่อสู้ห้ำหั่น ทำร้ายกัน
อีกทั้งในวันหยุดต่างๆ ควรมีช่วงวันที่คุณพ่อคุณแม่และลูกน้อย ปลอดสมาร์ทโฟน ปลอดแท็บเล็ต โดยการพาลูกออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ให้ลูกน้อยได้สัมผัสกับธรรมชาติ ดิน โคลน ต้นไม้ใบหญ้า ให้เท้าของเขาได้สัมผัส ดิน โคลน หรือหญ้าบ้าง ตลอดจนเดินชมพิพิธภัณฑ์ต่างๆ อย่าให้ภาพในจอมาแทนภาพในชีวิตจริง หรืออย่าปล่อยให้สมาร์ทโฟนเป็นของเล่นของเด็กแทนลูกบอลหรือตุ๊กตา และที่สำคัญอย่าให้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต เลี้ยงดูลูกแทนคุณพ่อคุณแม่เลย
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- อุทาหรณ์! ลูกติดจอรุนแรงระงับอารมณ์ไม่ได้
- ป้องกันลูกติดมือถือ สไตล์คุณพ่อลูกสอง เต๋า สมชาย
- ระวัง! ลูกจ้องจอนาน เสี่ยง สายตาสั้นเทียม ตัดแว่นได้ไม่ตรงค่าสายตา
- โทรศัพท์ touch screen ทำ ‘สมองลูกเติบโตช้า
- กรมสุขภาพจิตพบ! เด็กเล็กเป็นโรค ไฮเปอร์เทียมมากขึ้น เพราะพ่อแม่ให้ลูกเล่นแท็บเล็ต-มือถือ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.pharmacy.mahidol.ac.th , www.amarintv.com , www.sanook.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่