5 อันดับยอดฮิต… โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ในเด็กเล็ก
โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เกิดจากอากาศเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อย มีความชื้นมากทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตและแพร่เชื้อได้ดี โดยเฉพาะเด็กเล็กก็มีโอกาสเจ็บป่วยมีโอกาสเกิดโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจได้ง่าย
ซึ่งพ่อแม่ควรสังเกตดูอาการลูกน้อยขณะป่วยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะรักษาโรคได้ทันท่วงที เรามาดูกันค่ะว่า 5 โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ยอดฮิตมีอะไรบ้าง
1. โรคหวัดและโรคไข้หวัดใหญ่
80-90% ของโรคหวัดเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียที่ซ้ำเติมเป็นเหมือนพวกถือโอกาสเข้ามาซ้ำเติมด้วย โดยทั่วไปมนุษย์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีแบคทีเรียในทางเดินหายใจอยู่แล้ว เมื่อไรเราอ่อนแอมันก็จะมาซ้ำเติม ขึ้นกับว่าเชื้อรุนแรงมากน้อยแค่ไหน เชื้อที่อันตราย เช่น เชื้อฮิบ และ เชื้อนิวโมคอคคัส
การรักษาโรคหวัดเป็นการรักษาตามอาการเพราะยาที่เรามีไม่ได้รักษาเจาะจงเชื้อไวรัสหวัดชนิดใดโดยเฉพาะ หากอาการไม่หนักก็ดูแลที่บ้านได้ มีเพียงยาโอเซลทามิเวียร์ที่เป็นยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งสายพันธุ์ A และ B แต่ต้องใช้รักษาตั้งแต่ระยะแรกของการป่วยจึงจะได้ผลดี หากตรวจหาเชื้อก่อโรคไม่ได้ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีการติดเชื้อหรือว่าหมอวินิจฉัยผิดแม้ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาเชื้อไวรัสมากมายแต่ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมเชื้อไวรัสได้ทุกชนิด และอาจทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากโดยไม่จำเป็น แพทย์จะทำต่อเมื่อมีข้อบ่งชี้พิเศษเช่น มีอาการหนัก
ในกรณีติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน ทารกคลอดก่อนกำหนด หรือมีโรคหัวใจ ปอด หอบหืด โรคเลือด โรคประจำตัวอื่นๆ หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งหากเป็นไข้หวัดใหญ่จะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้มาก ควรดูแลใกล้ชิดและหากจำเป็นควรเริ่มยาโดยเร็ว หรือจะรอดูอาการก็ได้ แล้วแต่การตัดสินใจร่วมกันกับแพทย์
2. โรคปอดบวมหรือโรคปอดอักเสบ
เด็กที่ป่วยอาจจะมีไข้หรือไม่ก็ได้ ที่สำคัญคือมักไอมากและหายใจเร็ว แพทย์จะวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในกระแสเลือด หากเป็นปอดบวมที่รุนแรงผลค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในกระแสเลือดจะต่ำลง ตรวจพบเสียงเสมหะในทางเดินหายใจ และอาจมีการทำเอ็กซเรย์ปอดเพื่อประเมินสภาพปอดว่าเป็นฝ้าขาวมากน้อยเพียงใด
การรักษาจะเริ่มจากทำให้เด็กหายใจได้สะดวกโดยดูดเสมหะออก อาจให้ยาสำหรับการติดเชื้อหากมีข้อบ่งชี้ หากมีอาการปอดบวมรุนแรงก็จะมีการตรวจว่าเชื้อก่อโรคเป็นเชื้ออะไร รวมถึงการให้การดูแลเรื่องการหายใจฯลฯ ในรายที่เป็นรุนแรงอาจถึงขั้นต้องเข้าดูแลในไอซียู และอาจถึงขั้นต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ
3. ไซนัสอักเสบ
ไซนัสเป็นโพรงอากาศด้านในกะโหลกศีรษะ จัดเป็นหนึ่งในทางเดินหายใจส่วนบน เวลาเป็นหวัดลูกอาจมีปัญหาคัดในโพรงไซนัสได้บ้างเป็นธรรมดา เมื่อหายจากหวัดก็จะหายไปเอง ในบางรายอาจไม่หายพร้อมหวัด ทำให้โพรงไซนัสตัน มีน้ำมูกสีเขียวหรือเหลือง ปวดกระบอกตาซึ่งต้องรักษา ถ้าอาการถึงขั้นนี้ลูกอาจจะไอเป็นสัปดาห์ หากเป็นเยอะจะมีกลิ่นลมหายใจ ร่วมกับมีน้ำมูกเขียว บางคนติดไอกระแอม รักษาได้ด้วยการล้างจมูก พ่นจมูก อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะช่วงหนึ่ง ในเด็ก 80-90% มักเป็นไซนัสอักเสบแบบเฉียบพลัน หายภายใน 1-2 สัปดาห์ถ้ารักษาถูกต้องโดยไม่ต้องผ่าตัด ต่างจากผู้ใหญ่
การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือจะพาน้ำมูกและสิ่งที่เหนียวปิดรูไซนัสออกมา ทำให้หนองหรือน้ำมูกที่ค้างในโพรงไซนัสออกมาได้ง่ายขึ้น ทำให้แบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนภายในโพรงไซนัสตายไปเอง เยื่อบุทางเดินหายใจบวมน้อยลง เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น หากได้รับยาปฏิชีวนะ ยาจะเข้ามากำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ออกซิเจนได้ดีขึ้น การล้างจมูกจึงช่วยให้หายเร็วขึ้น
อ่านต่อ >> “โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ในเด็กเล็ก” คลิกหน้า 2
4. คออักเสบ
พ่อแม่มักกังวลว่าลูกคอแดงหรือไม่ซึ่งเป็นเพียงการตรวจพบ ไม่ว่าจะป่วยด้วยไวรัสหรือแบคทีเรียก็อาจทำให้คอแดงได้ แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียจริงๆ ต่อมทอนซิลจะแดง บวมโต มีหนอง หนองอาจไม่ขาวสะอาด ไวรัสบางชนิดก็ทำให้มีหนองได้แต่หนองจะสีขาวสะอาดกว่า ปัจจุบันไม่ค่อยตรวจพบหนองมากนักเพราะพ่อแม่พาลูกมาหาหมอเร็ว
หากลูกเจ็บคอ แสบคอ หรือคันคอนิดหน่อยส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อไวรัส แค่ให้ลูกพักผ่อนเต็มที่ จิบน้ำบ่อยๆ ก็ดีขึ้นได้แล้ว แต่บางครั้งอาจเป็นร่วมกับไซนัสอักเสบ พูดอู้อี้ น้ำมูกสีเหลืองหรือเขียว หรือบางครั้งเจ็บคอมาก มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต สงสัยว่าอาจติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมได้ ควรพามาพบแพทย์ แพทย์ก็อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ ถ้าลูกเจ็บคอเล็กน้อยไม่อยากให้ซื้อยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อมาใช้เอง หากทำได้จะช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น ลดโอกาสการติดเชื้อดื้อยาลงไปได้
5. หลอดลมอักเสบ
เกร็ดน่ารู้เรื่อง“ป่วย” ของลูก
1. ลูกมีไข้สูง เช็ดตัว+กินยา ดีที่สุด หากลูกมีไข้ขึ้นสูงในเวลาสั้นๆ ไม่กี่ชั่วโมงและไข้สูงขึ้นเร็วอาจเกิดปัญหาชักจากไข้สูงได้ จึงควรเช็ดตัวเพราะจะทำให้ไข้ลดลงได้ในเวลาไม่กี่นาที หากกินยาลดไข้อย่างเดียวจะใช้เวลานานเกิน 30 นาทียาจึงจะดูดซึมและออกฤทธิ์ การเช็ดตัวขอให้ใช้น้ำอุ่นสบายจะดีที่สุดถ้าไม่สะดวกก็ใช้น้ำก๊อกทั่วไปแทนได้ ข้อห้ามคือ อย่าใช้น้ำแข็งหรือแอลกอฮอล์ หากลูกชักจากไข้สูง ดูแลอย่าให้สำลักหรือหยุดหายใจ ไม่เอานิ้วล้วงคอเพราะจะยิ่งกระตุ้นให้หยุดหายใจ เมื่อหยุดชักแล้ว เช็ดตัวลูก ให้กินยา รอให้ไข้ลดแล้วค่อยพาไปหาหมอก็ได้เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าลูกชักจากไข้สูงหรือจากการติดเชื้อในสมอง หากติดเชื้อในสมองต้องรักษาทันที
2. ทำใจว่าการเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมดาและเป็นไปตามฤดูกาลโรคระบาดเหมือนพายุฝนที่พัดมาแล้วก็ผ่านไป พายุลูกเก่าจากไป ลูกใหม่ก็พัดมาอีกได้ เช่น โรคมือเท้าปาก ไข้หวัดใหญ่ เชื้ออาร์เอสวี หรือเชื้อเอนเทอโรไวรัสกลุ่มอื่นๆ ซึ่งอาจจะระบาดพร้อมๆ กันก็ได้เราต้องทำใจ จะไม่ให้ลูกป่วยเลยสักครั้งก็คงเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่เราทำทั้งพ่อแม่และหมอก็คือ ดูแลให้ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนให้ดีที่สุด ดูแลจนหาย ทุกครั้งที่เด็กป่วย ภูมิคุ้มกันของเขาจะดีขึ้น เมื่อผ่านไปจนอายุ 5-6 ขวบ เด็กกลุ่มนี้ก็จะแข็งแรงขึ้นเอง
3. ใช้ยาให้ถูก ควรเอาใจใส่ว่ายาที่ได้ไปมีวิธีใช้อย่างไร หากผู้ดูแลเด็กอ่านฉลากยาไม่ชัด หรืออ่านแล้วไม่เข้าใจทำให้ใช้ยาผิด อาจใช้ยาเกินขนาดหรือกินไม่ครบได้ ทำให้ลูกไม่หายสักทีหรือมีผลข้างเคียงอื่นๆ ได้
4. พาลูกไปรับวัคซีนที่สำคัญวัคซีนที่แพทย์แนะนำซึ่งช่วยลดความเสี่ยงโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้แก่ วัคซีนฮิบ วัคซีนไอพีดี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ปรึกษาแพทย์ได้เลยว่าควรพาลูกไปฉีดเมื่ออายุเท่าไร ส่วนวัคซีนพื้นฐานตามเกณฑ์อายุก็สำคัญเช่นกัน
5. ไม่ควรไปเปรียบเทียบลูกเรากับลูกคนอื่นเพราะการใช้ชีวิต ความแข็งแรงของร่างกาย และสภาพแวดล้อมของเด็กแต่ละคนต่างกัน การเจ็บป่วยแม้มีสาเหตุจากเชื้อเดียวกันอาการก็อาจหนักเบาแตกต่างกันในเวลาที่ลูกเราป่วยควรยึดถืออาการของลูกเราเป็นสำคัญ การดูแลเอาใจใส่จากเราจะทำให้การรักษาได้ผลดีที่สุด
6.หากลูกป่วยควรให้หยุดเรียนเรื่องนี้นอกจากเพื่อตัวลูกเองแล้วยังถือเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม โรงเรียนไม่ได้มีแค่ลูกเรา แต่มีลูกคนอื่นด้วย ควรหยุดเพื่อจะได้ไม่ไปแพร่เชื้อให้คนอื่น เมื่อลูกได้พักที่บ้านก็จะได้พักผ่อน กินได้ นอนได้ และไม่ต้องไปรับเชื้ออื่นๆ ซ้ำเติมอีกด้วย
7.ปรอทวัดไข้ วัดทางรักแร้ดีที่สุด ปรอทแบบวัดทางหูและแบบแปะที่หน้าผากแม้ใช้ง่ายแต่ไม่แม่นยำมีค่าความคลาดเคลื่อนในการวัดอุณหภูมิได้มากปรอทวัดไข้ที่แม่นยำและใช้ง่ายที่สุดคือปรอทดิจิตอลวัดที่รักแร้ แม้จะต้องใช้เวลานานก็วัดได้ดีที่สุด ส่วนปรอทแก้วที่มีสารปรอทในแก้วในปัจจุบันไม่แนะนำแล้วเพราะอาจแตกเกิดอันตรายขึ้นได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : นพ. ประสงค์ พฤกษานานนท์ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อในเด็ก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์