AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

คำสอนดี ๆ ในการเลี้ยงดูลูกแบบคนจีน

การเลี้ยงดูลูก ของพ่อแม่ทุกคนต่างก็มีวิธีเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป แต่ผลสุดท้ายพ่อแม่ก็หวังเพียงให้ลูกโตขึ้นไปเป็นคนดี และใช้ชีวิตเอาตัวรอดอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งก็ไม่แตกต่างกับคำสอนดีๆ ใน การเลี้ยงดูลูกแบบคนจีน  ที่พ่อแม่คนไทยอย่างเราก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย

แต่ก่อนจะเข้าถึงคำสอนในการเลี้ยงลูกแบบชาวจีน ขอเล่าถึงข้อคิดที่ได้จากหนังจีนเรื่องหนึ่งซึ่งทำให้รู้เลยว่า ประโยคที่ว่า “คนไทยเลี้ยงลูกอย่างฮ่องเต้ แต่คนจีนเลี้ยงลูกให้เป็นฮ่องเต้” ก็คงจะเป็นเรื่องจริง โดยในหนังเรื่องนี้สะท้อนวิถีชีวิตพ่อหม้ายลูกติดชาวจีนคนหนึ่ง ซึ่งหาเลี้ยงลูกอยู่เพียงลำพังด้วยความยากจนข้นแค้นภายในบ้านร้างที่ไม่มีแม้แต่พัดลมคลายร้อน ประตูหน้าต่างผุพัง เป็นกรรมกรหาเลี้ยงชีพ ไม่มีแม้แต่ทีวี  ทั้งสองคนพ่อลูกจึงต้องแอบไปดูทีวีของเพื่อนบ้านจากข้างถนนใกล้บ้าน แต่ถึงแม้จะยากจน แทบไม่มีจะกิน พ่อของเขาก็พยายาม สอนลูกให้มีความรับผิดชอบ เช่นต้องทำการบ้าน ต้องแปรงฟัน ต้องอาบน้ำ ซักผ้าด้วยตนเอง สอนให้เข้านอน ตื่นนอนเป็นเวลา ให้ความสำคัญเรื่องการเรียน โดยเฉพาะคะแนนสอบของลูก ลูกต้องสอบให้ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าที่พ่อตั้งเป้าเอาไว้ วางเงื่อนไขให้ลูกมุ่งมั่น “ต้องทำไห้ได้” ขณะไปโรงเรียนก็พร่ำ สอนให้ลูกเป็นคนดี ไม่ให้รังแกคนอื่น ห้ามมีเรื่องกับคนอื่น ในขณะเดียวกัน ลูกก็ถูกกลั่นแกล้งจากเพื่อนนักเรียนที่มีฐานะร่ำรวยกว่าอยู่เป็นประจำ เขาไม่ได้ตอบโต้แต่อย่างใด เพียงแต่ขอร้องเขาว่า “อย่ารังแก อย่าทำเขาเขาไม่ได้ทำอะไรผิด” แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เพื่อนเหล่านั้นพูดจาถากถางดูถูกพ่อของเขา เขาจะตอบโต้ทันทีด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เขาปฏิบัติตามคำสอนของพ่อทุกประการด้วยความอดกลั้นและอดทน

เช่นนั้นเองคนจีนจึงได้ชื่อว่าเป็นยอดในการสอนลูกหลานให้เป็น คนขยัน อดทน ฉลาดซื่อสัตย์และกตัญญู แล้ว 4 คำสอนดีๆ ในการเลี้ยงลูกของคนจีนจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

4 คำสอนดี ๆ ใน การเลี้ยงลูกแบบคนจีน

1. เด็กทารก (ขวบปีแรก)

เลี้ยงให้มั่น อย่าปล่อยให้ห่างตัว เป็นช่วงที่ควรโอบกอดให้มากๆ เพื่อให้เด็กรู้สึกอบอุ่นสบายใจที่ได้รับการทนุถนอมและความคุ้มครอง

++++++++++++++++++++++++++

 

 

 

 

2. เด็กอ่อน (1-5 ปี)

ปล่อยให้ห่างตัว แต่อย่าปล่อยให้ห่างมือ เป็นช่วงที่เด็กอยากรู้อยากเห็น จึงควรปล่อยให้ห่างตัว แต่ก็ยังต้องคอยให้การปกป้องคุ้มครอง

 

++++++++++++++++++++++++++

 

* ช่วงวัยทารก และ เด็กอ่อน พ่อแม่จะอบรมดูแลสั่งสอนอย่างใกล้ชิด *

อ่านต่อ >> “คำสอนดี ๆ ในการเลี้ยงดูลูกแบบคนจีน” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

3. เด็กชาย – หญิง (6- 16 ปี)

ปล่อยให้ห่างมือ แต่อย่าปล่อยให้ห่างสายตา เป็นช่วงที่เด็กเรียนรู้สังคมจากการคบหาเพื่อนฝูง จึงควรปล่อยให้ทำกิจกรรมอย่างมีอิสระ แต่ก็ยังต้องคอยช่วยเฝ้าดู เพื่อไม่ให้พลั้งเผลอเดินผิดเส้นทาง

4. วัยรุ่น (16 ปี – 20 ปีขึ้นไป)

ปล่อยให้ห่างสายตา แต่อย่าปล่อยให้ห่างใจ เป็นช่วงที่เด็กมีความคิดเป็นตัวของตัวเอง และกำหนดเส้นทางชีวิตแล้ว พ่อแม่จึงควรปล่อยให้เด็กใช้ชีวิตตามเส้นทางของตน แต่ยังคงเป็นที่พึ่งและที่ยึดเหนี่ยวทางใจ

* วัยเด็กสู่วัยรุ่น พ่อแม่จะคอยเฝ้าดู
อยู่ห่าง ๆ อย่างห่วง ๆ *

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อีกทั้งยังมี คำสอนที่คนจีนสอนลูกหลาน ซึ่งเป็น 5 คำที่ไม่ควรพูด เพราะหากยึดหลักคำที่ไม่ควรพูดนี้ จากเสื่อผืนหมอนใบ ก็กลายเป็นเศรษฐีได้ คนจีนจะมีการสอนข้อห้ามที่ไม่ควรพูดคำ 5 คำอะไรบ้างไปดูกันค่ะ

อ่านต่อ >> “คำสอนที่คนจีนสอนลูกหลาน กับ 5 คำที่ไม่ควรพูด” คลิกหน้า 3

คำสอนที่คนจีนสอนลูกหลาน กับ 5 คำที่ไม่ควรพูด

1. “ยาก” พอพูดคำว่ายาก จะเป็น การบล็อคความสามารถทันที

2. “ทำไม่ได้” จะเป็นการขับไล่ตัว จากสิ่งที่ทำ หรือปิดกั้นการเรียนรู้

3. “ท้อ” เพราะเพียงคำนี้ผุดขึ้น พลังทั้งมวลทั้งร่างกายและจิตใจจะถดถอยสูญสิ้น

4. “ขี้เกียจ” ไม่ควรแม้แต่ พูดเล่น เพราะจะทำให้สร้างความไม่รับผิดชอบ

5. “เหนื่อย” พอพูดคำนี้ออกมา ร่างกาย ก็จะตอบสนองด้วยการอ่อนแอลงทันที

และนี่ก็ถือเป็นหลักจิตวิทยา ( Psychology ) ที่ถูกต้องมากที่สุด สำหรับคนเราทุกคน และตรงกับหลักพุทธศาสนาที่กล่าวไว้ว่า ” จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว “ อีกด้วยเช่นกัน

สำหรับเรื่อง การเลี้ยงลูกแบบคนจีน หรือคนไทย หรือชาติไหน ๆ  สิ่งสำคัญ คือพ่อแม่จงอย่ากลัวความผิดพลาด จงตำหนิลูกบ้าง ในแบบสั่งสอนให้คิด รู้จักคิดปรับปรุง..หากลูกทำผิดไปบ้าง เพื่อสร้างภูมิต้านทานในการเรียนรู้พฤติกรรมลูกให้หัดยอมรับคำตำหนิเป็น..

อ่านต่อบทความน่าสนใจ


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก http://line.me/R/home/public/post?id=jlh9928m&postId=1147459639608069665

Save

Save

Save