โรคฉี่หนู อันตรายใกล้ตัวลูกน้อยที่ชอบสัตว์เลี้ยง - amarinbabyandkids
โรคฉี่หนู

โรคฉี่หนู อันตรายใกล้ตัวลูกน้อยที่ชอบสัตว์เลี้ยง

event
โรคฉี่หนู
โรคฉี่หนู

โรคฉี่หนู คืออะไร?

โรคฉี่หนู คืออะไร
โรคฉี่หนู

โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส คือเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในคน และสัตว์ เช่น สุนัข แมว หมู วัว ควาย ม้า แพะ แกะ และที่พบมากที่สุดคือ หนู

โรคฉี่หนู ติดต่อได้อย่างไร?

โรคฉี่หนูติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยขับถ่ายเชื้อโรคออกมาทางปัสสาวะ เชื้อโรคอาศัยได้ในดินที่ชื้นแฉะ และมีน้ำขัง เข้าสู่ผิวหนัง เช่น ซอกนิ้วมือ เท้า และบาดแผล การกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน การหายใจเอาไอละอองที่ปนเปื้อนเข้าไป เข้าทางเยื่อบุต่างๆ เช่น ตา และปาก

banner300x250โรคฉี่หนูมีอาการอย่างไร?

คนที่ได้รับเชื้อไข้ฉี่หนูจะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อ 2-3 วัน ถ้าไม่รักษาอย่างถูกต้องอาจมีโรคแทรกซ้อน คือ ตัวเหลือง ตาเหลือง ไตวาย หรืออาการทางสมองและระบบประสาท และอาจถึงตายได้ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ

1.ไข้ฉี่หนู ระยะมีเชื้อในเลือด มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้หนาวสั่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะน่อง หลัง และหน้าท้อง ปวดศีรษะมาก โดยเฉพาะบริเวณด้านหน้าหรือหลังเบ้าตา เจ็บคอ ไอ เจ็บหน้าอก ผื่น สับสน ไอเป็นเลือด เยื่อบุตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโต คอแดง กดเจ็บกล้ามเนื้อ

2.ไข้ฉี่หนู ระยะมีเชื้อในปัสสาวะ เยื่อหุ้มสมองอักเสบแบบไร้เชื้อ ส่วนใหญ่พบในเด็ก ซึ่งอาจหายได้เองภายในเวลาไม่กี่วันหรืออาจคงอยู่นานเป็นสัปดาห์ สำหรับภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ม่านตาอักเสบ จอตาอักเสบ มักเกิดตามหลังอาการเริ่มแรกของโรคนานหลายเดือน และคงอยู่ได้นานเป็นปี

3.ไข้ฉี่หนู ระยะรุนแรง มีอัตราการตายอยู่ที่ประมาณ 5-15% มีอาการดีซ่าน ผิวเหลืองเป็นสีเหลืองจนแทบจะเป็นสีส้ม มีอาการตับโตร่วมกับกดเจ็บ ม้ามโต ตับวาย ไตวายเฉียบพลัน ไอ มีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย ระบบหายใจล้มเหลว มีเลือดกำเดา มีจ้ำเลือดตามผิวหนัง ตับอ่อนอักเสบรุนแรง ฯลฯ

โรคฉี่หนูมีอาการอย่างไร
โรคฉี่หนูมีอาการอย่างไร

อ่านต่อ “โรคฉี่หนูป้องกัน และรักษาอย่างไร?” คลิกหน้า 5

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up