AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

กลวิธีแก้อาการ ” สุดหวง ” ของลูก

แต่การไม่แบ่งปันเสียเลยเมื่อเล่นกับเด็กคนอื่นๆ คุณพ่อคุณแม่อาจกังวลว่าเดี๋ยวจะไม่มีใครคบ แถมเสียโอกาสเรียนรู้ไปหรือเปล่ามาลองดูว่าจะรับมืออย่างไรได้บ้าง เมื่อเจ้าหนูออกอาการ“ไม่แบ่ง” ทั้งหลาย

• เมื่อเจ้าหนูแย่งกันซึ่งๆ หน้าด้วยสารพัดวิธีฉก ฉวย คว้า ดึงของจากมือเพื่อน

แก้ทางกันหน่อย อาการไม่สุภาพทั้งหลายนี้ เมื่อเห็นปุ๊บ(แม้เพื่อนที่ถูกฉกไม่โวยวายเพราะยังงงอยู่) คุณควรเข้าไปทันทีบอกเขาว่า “ทำอย่างนี้ไม่น่ารักเลยลูก เปลี่ยนกันเล่นดีกว่าไหมลูก”จากนั้นโน้มน้าวให้เขาคืนของเล่นให้เพื่อน แต่ไม่ใช่ด้วยการบังคับอาจต้องใช้เวลาสักหน่อย แต่ก็ยังดีกว่าปล่อยให้พฤติกรรมไม่น่ารักที่เขาทำนั้นได้รับการยอมรับ

• เมื่อเจ้าหนูเป็นลูกอีช่างเก็บหวงไปทุกสิ่งอย่าง บางคนก็ฮากว่าด้วยการพยายามขนทุกอย่างไปกองสุมไว้มุมห้อง มิหนำซ้ำยังวางท่าหวงก้างยังกับแมงมุมหวงของสุดๆ

แก้ทางกันหน่อย ของเล่นชิ้นโปรดจะเก็บจะงำไม่ให้ใครแตะต้องก็เข้าใจได้ แต่ถึงขั้นหวงทุกอย่างไว้กับตัวเอง ก็ต้องถามกลับหน่อย “ลูกเก็บทุกอย่างไว้คนเดียวหมด แล้วน้องแพทจะเล่นอะไรล่ะจ๊ะ” ให้เวลาลูกแบ่งของเล่นให้เพื่อนบ้าง พอเล่นไปสักพัก คุณก็ให้สัญญาณเด็กๆได้ “เด็กๆ ได้เวลาเปลี่ยนกันเล่นแล้ว” เด็กๆ ก็จะได้เล่นกันทั่วถึง

• เมื่อเจ้าหนูออกลูกตื้อแถมรุนแรงต้องเอาของเล่นมาให้ได้ เตาะแตะบางคนก็แสนแสบด้วยการตามติดเพื่อนและจ้องตาจนเพื่อนเริ่มกลัวพอสบโอกาสก็กระชากของเล่นชิ้นนั้นจากมือเพื่อนไป ทิ้งความงงงันไว้ให้เพื่อนตัวน้อย

แก้ทางกันหน่อย “หนูว่าน้องแพทจะรู้สึกยังไงที่ลูกทำแบบนี้”หรือการพูดผลตรงๆ ที่จะเกิดขึ้นก็ได้ “คงไม่มีใครอยากเล่นกับลูกแน่ ถ้าลูกทำแบบนี้ แต่ถ้าลูกแบ่งให้เพื่อนเล่นด้วย เขาก็จะแบ่งให้ลูกเล่นนะ”

ค่อยๆ ปรับแก้กันไป ด้วยคำพูดที่เป็นกลางและอารมณ์ที่หนักแน่น มีสติให้มากเข้าไว้ การช่วยแก้นิสัยที่ไม่เหมาะสมของเขาในวันนี้จะช่วยให้ลูกเข้าใจว่า การแบ่งปันคืออะไร เมื่อลูกโตกว่านี้ คุณแม่กว่า 16% ในหมื่นกว่าคนจาก babycenter.com บอกว่าไม่เคยละเลยที่จะแปรงฟันให้ลูกเลย ในขณะที่อีก 16% นั้นละเลยเป็นประจำ!! (ส่วนที่เหลือบอกว่าละเลยบ้าง แต่ก็เดือนละไม่กี่ครั้งเองน่า)

 

 

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง