AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

” มารยาทบนโต๊ะอาหาร ” เรื่องที่พ่อแม่ควรสอนลูก

มารยาทบนโต๊ะอาหาร คือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนสามารถสอนลูกได้ตั้งแต่เล็ก ๆ เพื่อที่จะได้พาลูกเข้าสังคมได้อย่างไม่ต้องอายใคร

รู้สึกอย่างไรคะ เวลาที่เราไปร้านอาหารแล้วเห็นคนเคี้ยวอาหารเสียงดัง จั๊บ ๆ หรือทานมูมมาม? โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนหน้าตาดี บุคลิกดี เป็นต้น เรียกได้ว่า ต่อให้ดูดีแค่ไหนแต่มีพฤติกรรมดังกล่าว ก็ย่อมส่งผลให้ต้องสูญเสียภาพลักษณ์ดี ๆ ดังนั้น การปลูกฝังให้ลูกปฏิบัติและเข้าใจถึง  จึงกลายเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ไปโดยปริยาย

 

 

มาราลี แมกกี ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกมารยาท จากศูนย์ให้คำปรึกษาเรื่องบุคลิกภาพ เมืองวินเทอร์พาร์ก สหรัฐอเมริกาให้ความเห็นว่า เด็กวัยตั้งแต่ 5 ขวบขึ้นไป สามารถบังคับกล้ามเนื้อมัดเล็กให้หยิบจับช้อนส้อมเพื่อตักอาหารส่งเข้าปากเองได้อย่างถนัดมือแล้ว นั่นแปลว่า ลูกจะเริ่มทานข้าวอย่างเป็นระเบียบไม่เลอะเทอะเหมือนเมื่อก่อนแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็อาจจะมีพฤติกรรมบางอย่างหลงเหลืออยู่ให้คุณพ่อคุณแม่ได้กลุ้มใจเล็กน้อยบ้าง นั่นก็คือ การเคี้ยวอาหารเสียงดัง เรียกได้ว่าดังไป 3 บ้าน 7 บ้านเลยก็เป็นได้ แล้วแบบนี้คุณพ่อคุณแม่จะต้องทำอย่างไร ถ้าไม่ใช่ฝึกให้ลูกรู้และเข้าใจถึง “มารยาทบนโต๊ะอาหาร”

สิ่งที่พบบ่อย ๆ ถึงความผิดพลาดที่พบเห็นบ่อย ๆ ได้แก่

เริ่มสอนให้ลูกได้รู้จักกับมารยาทบนโต๊ะอาหารอย่างไรดี คลิก!

เริ่มสอนลูกเรื่อง มารยาทบนโต๊ะอาหาร อย่างไรดี?

 

 

คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มสอนลูกให้รู้จักกับ มารยาทบนโต๊ะอาหาร ด้วยการตั้งกฎเล็ก ๆ น้อย ๆ ประจำบ้านก่อนก็ได้นะคะ ยกตัวอย่างเช่น

  1. อยากรับประทานอะไรให้พูด สำหรับการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาไปรับประทานอาหารนอกบ้าน คุณพ่อคุณแม่อาจจะเปิดโอกาสให้ลูกเป็นคนเลือกเมนูที่อยากทานเอง ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการปลูกฝังลูกไปในตัวด้วยว่า หากสั่งมาแล้วจะต้องรับผิดชอบด้วยการรับประทานให้หมด นอกจากนี้ยังเป็นการสอนให้ลูกได้รู้จักคิดไปในตัวได้อีกด้วยนะคะ
  2. ช่วยเหลือตัวเองและคนรอบข้าง การสอนให้ลูกรู้จักจัดการกับภาชนะของตัวเองและช่วยเหลือคนรอบข้างด้วยการช่วยหยิบช่วยจัดเตรียมจาน ชาม ช้อนส้อม และแก้วน้ำ ทั้งของตัวเองและของคนอื่นนั้น ถือเป็นมารยาทในการรับประทานร่วมกันกับผู้อื่น เพราะจัดได้ว่าเป็นการแสดงออกถึงความมีน้ำใจที่น่ารักอย่างหนึ่งละค่ะ
  3. นี่! คือเวลารับประทานอาหาร ไม่ใช่เด็กเล็ก ๆ อีกต่อไปแล้ว ที่ต้องทานไปเดินเล่นไปด้วย เพราะเมื่อลูกเริ่มโตขึ้น ลูกจะเริ่มเข้าใจอะไรมากขึ้น การสอนให้ลูกได้รู้ว่า นี่! คือเวลารับประทานอาหาร ลูกจะต้องนั่งอยู่ที่โต๊ะ โดยไม่ลุกไปเดินเล่นที่ไหน เว้นเสียแต่ ลุกขอตัวไปทำธุระส่วนตัว เช่น การเข้าห้องน้ำ เป็นต้น
  4. เคี้ยวเก็บเสียง ไม่จำเป็นต้องบอกคนอื่นหรอกว่า อาหารที่เรารับประทานอยู่นั้น อร่อยมากแค่ไหน เพราะนอกจากจะเป็นเรื่องน่าอายแล้ว ยังเป็นการสร้างความรำคาญให้กับคนที่อยู่ในบริเวณใกล้ ๆ นั้นด้วย
  5. ปิดปาก การปิดปากในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง การเอามือปิดปากขณะเคี้ยวข้าวหรอกนะคะ แต่เป็นการปิดปากของเราให้มิดขณะเคี้ยว ไม่ใช่เคี้ยวไปเปิดปากไป หรือบางทีพูดไปขณะเคี้ยวบ้างก็มี ทำให้เศษอาหารที่อยู่ในปากนั้นกระเด็นออกมาข้างนอก แค่คิดก็รู้สึกขยะแขยงกันแล้วใช่ไหมละคะ
  6. รู้จักช่วยยก เก็บ ล้าง หากเป็นการรับประทานอาหารกันภายในครอบครัว การสอนให้ลูกได้รู้จักกับการช่วยหยิบ ช่วยจับนั้น เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรสอนเป็นอย่างยิ่งเลยละค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น สามารถล้างจานได้ด้วยแล้วนี่ยิ่งดีใหญ่ เผื่อในอนาคตเวลาลูกไปบ้านเพื่อน ญาติพี่น้องหรือบ้านใครเขา จะได้ไปช่วยเขาทำ แน่นอนค่ะว่า ดีกว่าการไปนั่งเฉย ๆ และชี้นิ้วสั่ง เป็นแน่
  7. ไม่ต้องรีบ ไม่จำเป็นเลยค่ะ ที่จะต้องรีบกิน เพราะนอกจากจะส่งผลเสียต่อระบบการย่อยของทางเดินอาหารแล้ว ยังทำให้ดูไม่ดี ที่สำคัญทำให้คนที่ร่วมโต๊ะอาหารอึดอัด และต้องรีบรับประทานให้เสร็จไว ๆ ตามไปด้วย
  8. หัดใช้ช้อนกลาง การใช้ช้อนกลางตักอาหารจานหรือชามกลางนั้น ควรที่จะมีเป็นอย่างยิ่งเลยละค่ะ เพราะเราไม่มีโอกาสได้รู้เลยว่า ใครไม่สบาย หรือเป็นอะไรหรือเปล่า ดังนั้น สอนให้ลูกรู้จักใช้ช้อนกลางอย่างเคยชิน ดีกว่าให้ลูกรับประทานสบายแล้วได้เชื้อโรคไม่สบายแถมกลับมาด้วยนะคะ

คลิกอ่าน วิธีการปฏิบัติและใช้คำพูดสอนลูกให้ถูกต้อง


เครดิต: ตุ๊บปอง ตุ๊บปอง

การสอนของคุณพ่อคุณแม่เกี่ยวกับ มายาทบนโต๊ะอาหาร นั้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบข้อผิดพลาดอันเกิดจากการใช้คำพูดที่รุนแรงสอนลูก ซึ่งในวันนี้ เราก็จะมายกตัวอย่างถึงวิธีการปฏิบัติและใช้คำพูดสอนลูกอย่างไรให้ถูกต้องมาฝากกันค่ะ

 

วิธีการปฏิบัติและใช้คำพูดสอนลูกให้ถูกต้อง

ใช้คำพูดและเหตุผล ใช้ตัวช่วย
วิธีแก้ไขที่ถูกต้อง พูดคุยกับลูกเพื่อประเมินทำไมทำเสียงดังเป็นเพราะเล่นสนุก หรือจับไม่ถนัด เปลี่ยนภาชนะกินข้าวของลูกเสียใหม่ ใช้พลาสติกน้ำหนักเบา ตกไม่แตก
วิธีแก้ไขที่ผิด ดุด่าลูก เช่น “บอกกี่ครั้งแล้วทำไมยังทำไม่ได้สักที” คิดว่าใช้ภาชนะหนัก ๆ เช่น พวกจานกระเบื้อง สแตนเลส ใช้ฝึกเด็กกินข้าวได้

 

ใช้คำพูดและเหตุผล ใช้ตัวช่วย
วิธีแก้ไขที่ถูกต้อง บอกลูกว่าเป็นพฤติกรรมที่ดูไม่ดีเวลากินอาหาร   ให้สอนอย่างมีเทคนิคและให้คำชมเป็นแรงเสริมว่า “เก่งมากเลยจ้าที่ลูกปิดปากเวลาเคี้ยว” เมื่อลูกทำได้อย่างเหมาะสม นำกระจกมาตั้งให้ลูกดูท่าทางการเคี้ยวของตัวเอง ครั้งต่อไปหากลูกเผลอ บอกลูกว่า “เอาอย่างนี้นะลูก เวลาที่หนูพูดแล้วมันเห็นข้าวที่เคี้ยวอยู่แล้วน่าเกลียด แม่จะสะกิดลูกจะได้รู้สึกตัว”
วิธีแก้ไขที่ผิด ดุลูก “น่าเกลียด อย่าทำแบบนี้อีกนะ เดี๋ยวคนอื่นจะหาว่าพ่อแม่ไม่สอน” ตีปากลูก เด็กจะตกใจและมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับการรับประทานอาหาร

 

ไม่ยากกันเลยใช่ไหมละคะ กับวิธีการสอนลูกให้เข้าถึง มารยาทบนโต๊ะอาหาร ลองนำไปปรับใช้กันดูนะคะ

อ่านเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติม:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids