อาการเจ็บป่วยของลูกน้อย …สำหรับลูกในช่วงทารกเป็นสิ่งที่คุณพ่อและแม่จะต้องให้การดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากสภาพร่างกายของเด็กยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ เช่นเดียวกันกับระบบอวัยวะภายในที่ยังไม่พร้อมสำหรับการทำงานหนัก ระบบภูมิคุ้มกันอันเป็นกำแพงป้องกันเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ยังถือว่ายู่ในระดับที่อ่อนแอเมื่อเทียบกับวัยผู้ใหญ่
อาการเจ็บป่วยจึงเป็นประสบการณ์ที่คุณพ่อและแม่มือใหม่จะได้ประสบกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งบางรายอาจจะเป็นเพียงอาการเล็กๆ น้อยๆ แต่ในบางคนอาจจะมีความผิดปกติรุนแรงจนเข้าไปกระทบต่อระบบการเจริญเติบโตของพวกเขาได้เช่นกัน ดังนั้นการดูแลเอาใจใส่และคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดจะช่วยให้ลูกน้อยปลอดภัยและสามารถรักษาได้ทันการ
9 อาการเจ็บป่วยของลูกน้อย
ไม่ว่าอาการนี้จะเกิดขึ้นกับเด็กเล็กหรือเด็กโต คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักสังเกตว่าผิดปกติหรือไม่อาการเจ็บป่วยของลูกน้อยแบบไหนต้องพาลูกไปหาหมอทันที มาดูอาการที่อันตราย และต้องรีบพาส่งโรงพยาบาลกันค่ะ
1. ตัวร้อน เกิน 38.5 องศาเซลเซียส
ถ้าลูกมีไข้ต่ำๆ ให้กินยาลดไข้ หรือเช็ดตัว ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อบรรเทาอาการได้ แต่ถ้าลูกเริ่มมีไข้สูง กินอาหารไม่ได้ ตัวร้อนข้ามวันทำอย่างไรไข้ก็ไม่ลดลงต้องพาส่งโรงพยาบาล เพื่อตรวจสอบอาการไข้หวัดใหญ่และอาการไข้เลือดออกทันทีค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
2. อาการปวดแบบรุนแรง
เช่น ปวดท้อง ปวดหัว ถ้ามีอาการปวดท้อง จะมีอาการปวดจนตัวงอ มือกำแน่น เท้าจิกลง ไม่กินอาหาร ถ่ายผิดปกติ ต้องรีบพาพบแพทย์ เพราะอาจเกิดอาการลำไส้อักเสบ หรือเป็นไส้ติ่งอักเสบได้ แต่ถ้ามีอาการปวดหัว สังเกตอาการจาก ซึมลง ไม่แจ่มใส กินอาหารไม่ได้ พูดไม่ชัด เดินไม่ปกติ อาการแบบนี้อาจรุนแรงถึงขั้นเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ค่ะ
3. อาเจียน
ถ้าลูกมีอาการอาเจียนบ่อยและมากขึ้นเรื่อยๆ อาจทำให้ขาดน้ำได้ หัวใจจะเต้นเร็วและมีอาการความดันต่ำ อาจทำให้ไตวาย ซึ่งอันตรายมาก และถ้าลูกมีอาการร่วมกับอาเจียนอื่นๆ เช่น ปวดหัว ชัก ไข้สูง อาการแบบนี้ลูกอาจเป็นอาการของการติดเชื้อในสมอง หรือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ค่ะ
อ่านต่อ “อาการเจ็บป่วยของลูกน้อยที่พ่อแม่ต้องพาส่งโรงพยาบาลทันที” คลิกหน้า 2
4. หายใจผิดปกติ
ถ้าลูกมีอาการไอเหมือนมีเสมหะ หายใจไม่เป็นจังหวะ หายใจเร็ว หน้าอกบุ๋ม หัวใจเต้นเร็ว ตัวเขียว ซึม อาการนี้ลูกอาจมีภาวะหายใจล้มเหลว ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้ เพราะอาจเกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น ปอดอักเสบ หรือ ปอดบวมค่ะ
5. ผื่นลมพิษ
ถ้าเป็นผื่นทั่วไปจะขึ้นน้อยๆและกระจายตัว แต่ถ้าเป็นผื่นลมพิษจะขึ้นหนาๆมีอาการประมาณ 2-3 วันก็ไม่หาย และยังมีอาการร่วมอื่นๆ เช่น เป็นไข้ มีอาการบวม หายใจไม่สะดวก อาเจียน อาการแบบนี้ต้องรีบพบหมอเพราะอาจติดเชื้อในกระแสเลือดได้ค่ะ
6. มีไฝหรือปานใหญ่ผิดปกติ
หากคุณสังเกตว่าลูกมีไฝเกิดขึ้นใหม่ หรือไฝมีการเปลี่ยนแปลงควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ เพราะอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะกลายเป็นมะเร็ง ควรหมั่นตรวจสอบผิวลูกระหว่างอาบน้ำทุกเดือน และแจ้งแพทย์เมื่อคุณสังเกตเห็นไฝมีรูปร่างผิดปกติ ไม่มีขอบ ไม่เป็นสีเดียวกัน หรือใหญ่ขึ้น เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณของโรงมะเร็งผิวหนัง
สำหรับปานแต่กำเนิด อาจปรากฏตั้งแต่แรกเกิดหรือภายในอายุ 2-3 เดือน ขนาดของปานจะขยายขนาดขึ้นตามการเจริญเติบโตของเด็ก และจะคงอยู่ตลอดชีวิต เด็กที่มีปานชนิดนี้ ส่วนใหญ่จะไม่พบมีความผิดปกติอื่นๆของร่างกายร่วมด้วย แต่หากพบปานชนิดนี้ปริมาณมากหรือมีขนาดใหญ่ อาจพบได้ในโรคพันธุกรรมบางชนิด ดังนั้นหากพบปานขนาดใหญ่หรือมีหลายอัน ควรพาบุตรหลานของท่านไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัย
must read : ปานแดงอันตรายไหม
อ่านต่อ “อาการเจ็บป่วยของลูกน้อยที่พ่อแม่ต้องพาส่งโรงพยาบาลทันที” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
7. ปัสสาวะน้อยลง
อาการปากแห้ง ปัสสาวะน้อยลง และกระหม่อมบุ๋มในทารก ผิวแห้ง อาเจียนหรือท้องเสียอย่างหนัก เป็นสัญญาณของภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการช็อคได้ ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์
must read : สี ปัสสาวะ บอก โรค ได้อย่างไร?
8. ริมฝีปากม่วง
หากลูกปากม่วง หรือเขียวคล้ำ และมีปัญหาการหายใจ มีเสียงจากบริเวณอกและปอด อาจเกิดจากการสำลัก อาการภูมิแพ้ ปอดอักเสบ ไอกรน และครูป ควรโทรเรียกหน่วยฉุกเฉิน 1669 แต่หากไม่มีอาการรุนแรง ให้นับอัตราการหายใจของลูกภายใน 30 วินาทีแล้วคูณด้วยสอง อัตราปกติสำหรับเด็กแรกเกิดควรน้อยกว่า 60 ครั้ง สำหรับทารกอายุน้อยกว่า 1 ปีควรหายใจน้อยกว่า 40 ครั้ง สำหรับเด็ก 1-3 ปีควรน้อยกว่า 30 ครั้ง และสำหรับเด็ก 4-10 ปีควรน้อยกว่า 24 ครั้ง
9. อาเจียนหลังตกจากที่สูง
ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนที่อยู่ในวัยพลิกคว่ำอาจตกจากเตียงหรือที่สูง และหมดสติ หรืออาเจียน หรือกระดูกหัก ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที
อาการที่กล่าวมาเป็น อาการเจ็บป่วยของลูกน้อย ที่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายๆ และอาจมีอาการค่อนข้างรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อพ่อแม่สังเกตเห็นว่ามีอาการแบบนี้ควรรีบพาลูกพบแพทย์ด่วนเลยค่ะ
อ่านต่อบทความน่าสนใจ
ข้อมูลอ้างอิง ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
http://children.webmd.com