เมื่อลูกเป็นไข้ อีกงานหนึ่งที่ยากสำหรับคนเป็นแม่คือการป้อนยาลูก โดยเฉพาะเด็กที่ไม่ชอบกินยา กินแล้วอ้วกออกบ้าง หรือไม่ยอมกินบ้าง จึงได้มีการนำ ยาลดไข้แบบเหน็บ มาใช้เพื่อลดไข้ลูก ยาพารานี้จะใช้อย่างไร มาดูกันค่ะ
แม่สนไหม? ยาลดไข้แบบเหน็บ สำหรับเด็กที่กินยายาก
ยาพาราใช้แก้อะไร?
พาราเซตามอลสามารถบรรเทาปวดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดจากข้อเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อ และใช้เป็นยาลดไข้ พาราเซตามอลที่เป็นยาเดี่ยวจะบรรเทาอาการปวดขั้นอ่อนถึงปานกลางเท่านั้น ไม่มีผลต่ออาการปวดขั้นรุนแรง เช่น แผลผ่าตัดใหญ่ หรือมะเร็ง และไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ สำหรับ ยาลดไข้แบบเหน็บ ก็สามารถบรรเทาอาการปวดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้เหมือนยาพาราแบบทานทั่ว ๆ ไป คือ ใช้บรรเทาอาการไข้ ตัวร้อน ปวดศีรษะซึ่งเกี่ยวเนื่องกับหวัด แต่ขนาดยาพาราเซตามอลจะมีปริมาณยาเพียง 125 มิลลิกรัม เหมาะสำหรับเด็กทารก เด็กที่ไม่ชอบรับประทานยา หรือให้ยาขณะหลับ และผู้ป่วยที่รับประทานยาไม่ได้ เช่น หลังผ่าตัด หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียนอยู่
วิธีการใช้ ยาลดไข้แบบเหน็บ
- ล้างมือให้สะอาด
- ให้ลูกนอนคว่ำหรือตะแคงแล้วคว่ำสะโพกลง
- ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดจับก้นลูกทั้ง 2 ด้าน โดยใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ช่วยแหวกให้ก้นขยายออก
- ใช้มือข้างที่ถนัดจับยาให้ที่มีปลายแหลมชี้ออกมา
- ค่อย ๆ สอดยาเข้าไปที่ทวารช้า ๆ และเบา ๆ จนสุด
- ปล่อยให้ลูกนอนในท่าเดิมประมาณ 10-15 นาที (สำหรับเด็กทารก ขณะที่ลูกนอนคว่ำ ควรมีผู้ปกครองดูแลอยู่ตลอดเวลา)
ดูคลิปวิธีการใช้ ยาลดไข้แบบเหน็บได้ที่นี่
ขอบคุณ Dr. Pakky หม่ามี้หมอเด็ก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ขนาดการใช้ยา และข้อควรระวังในการใช้ยาพาราแบบเหน็บทวาร
ขนาดการใช้ยา และข้อควรระวังในการใช้ ยาพาราแบบเหน็บทวาร
ขนาดการใช้ยา
- เด็ก 1-2 ปี ใช้ยาเหน็บ 1 แท่ง
- เด็ก 2-6 ปี ให้ใช้ 2 แท่ง
สอดเข้าทางทวารหนักทุก 4 ชั่วโมง เท่าที่ต้องการ และสูงถึง 5 ครั้งต่อวัน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง
ข้อควรระวังในการใช้ยาพาราแบบเหน็บทวาร
- ไม่ควรใช้ยาเหน็บเกิน 4 ครั้งต่อวัน และไม่ติดต่อกันเกิน 3 วัน
- ไม่ควรใช้ในผู้แพ้ยาพาราเซตามอล ถั่วเหลือง peanut
- ไม่ควรให้ยาร่วมกับการรับประทานยาที่มีพาราเซตามอล
- ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่การทำงานของตับหรือไตมีความผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
- ยาพาราเซตามอลจะดูดซึมเร็วขึ้นหากให้ร่วมกับ Metoclopramide หรือ Domperidone
- ควรเก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส
การใช้ยาพาราเซตามอล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการทานหรือแบบเหน็บ มีผลในการออกฤทธิ์ยาไม่แตกต่างกัน เพียงแต่การใช้ยาแบบเหน็บจะสะดวกในการใช้งานในกรณีที่เด็กกินยายาก กินแล้วอ้วก หรือกำลังนอนหลับอยู่ นอกจากนี้ ยาพาราแบบเหน็บยังสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็วกว่า นับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่ให้ได้เลือกใช้ยาตามความเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
ยาน้ำลดไข้ ของเด็ก แต่ละยี่ห้อแตกต่างกันอย่างไร พ่อแม่ควรรู้!
ยาแก้ไอ เด็ก ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย
คู่มือพ่อแม่ควรรู้ ทำอย่างไรเมื่อ “ลูกมีไข้”
วิธีการเช็ดตัวลดไข้ ด้วยน้ำอุ่นผสมมะนาว
ขอบคุณข้อมูลจาก : บ้านหมอยา168 โดย ภก.ชนันท์ กิจทวี, Dr.Pakky หม่ามี้หมอเด็ก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่