AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

แม่โพสต์เตือน! หลัง ลูกขาดอากาศหายใจ เพราะนอนคว่ำ

เป็นที่น่าสลดหดหู่ใจอีกครั้งกับข่าวคราวการจากไปของทารกวัยเพียง 3 เดือนกว่า ที่คุณแม่จับให้ลูกนอนคว่ำจน ลูกขาดอากาศหายใจ บนที่นอน

เรียกได้ว่าเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนักภายหลังจากที่ Drama-addict ได้โพสต์ข่าวคราวการจากไปของทารกวัย 3 เดือน กับสองวัน ที่คุณแม่ได้แชร์เตือนครอบครัวอื่นเพื่อเป็นอุทาหรณ์ของการปล่อยให้ลูกนอนคว่ำตั้งแต่อายุยังน้อย โดยคุณแม่เล่าว่า

####เตือนแม่ๆทุกคนนะคะ ####
#การปล่อยลูกน้อยนอนคว่ำ เราคนนึงค่ะที่ปล่อยน้องนอนคว่ำตั้งแต่สะดือหลุดได้12วัน น้องมีพัฒนาการดีแข็งแรงทุกอย่าง กลับหน้าเองตลอด ตั้งแต่เริ่มนอนคว่ำ จน3เดือนค่ะ จนน้องพลิกกลับมาหงายเอง ชูคอเอง เพราะความชะล่าใจของแม่ค่ะ พอน้องอายุได้แค่ 3เดือนกับ2วัน วันนั้นแม่นั่งรีดผ้าอยู่หน้าห้องแม่เทียวดูน้องทุก30นาที พอเวลา 1.30 คุณแม่เข้าไปดูน้องครั้งสุดท้ายจับน้องว่าฉี่ไหม น้องก็กลับหน้าขยับตัวอยู่เลยค่ะ และพอเวลา 02.00 แม่เข้าไปอีกครั้งเพื่อจะปลุกน้องขึ้นมากินนม จับน้องที่กำลังนอนคว่ำหน้า แต่น้องกับไม่ขยับตัว คุณแม่เริ่มใจสั่นและรีบดูว่าน้องมีอะไรปิดจะหมูกไหม แต่ไม่ค่ะ พอดูหน้าน้องกับคว่ำลงไปกับที่นอน น้องเริ่มซีด ตาโรย คุณแม่กับคุณพ่อรีบอุ้มน้องขึ้นรถ ทั้งผายปอดทั้งปั๊มหัวใจลูก ไปจนถึงโรงบาล หมอก็พยายามช่วยเต็มที่ค่ะ และแล้วน้องก็ต้องจากคุณพ่อกับคุณแม่ไปค่ะ ด้วยความที่เป็นลูกคนแรกหมอช่วยยื้ออยู่3 ชม. เต็มค่ะ จนหมอบอกกับแม่ว่าให้ปล่อยน้องไปนะคะคุณแม่เพราะหมอทำทุกวิถีทางแล้ว หัวใจน้องไม่ตอบสนอง เท่านั้นแหละค่ะแม่แทบล้มทั้งยืน ทำอะไรไม่ถูก เลยค่ะ พอเห็นแม่ๆลงรูปลูกนอนคว่ำหน้าทีไรรุ้สึกกลัวทุกทีค่ะ ####อยากให้แม่ๆดูแลน้องอย่างใกล้ชิดอย่าละห่างสายตานะคะ เพราะบางทีเค้าไม่มีเสียงร้องอะไรเลย เพื่อเตือนเรา พอจะรู้อีกทีก็สายไปแล้ว#### 

ซึ่งงานนี้เรียกได้ว่า เหล่าคุณพ่อคุณแม่หรือแม้แต่คนที่ไม่มีลูกเองนั้นได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างไม่หยุดหย่อน บ้างก็ว่า สาเหตุเพราะคุณแม่อาจจะอยากให้ลูกมีหัวสวย หัวทุย เลยหัดให้ลูกนอนคว่ำตั้งแต่ยังเล็ก เป็นต้น

ด้วยความรักและเป็นห่วงกับทุก ๆ ครอบครัว ทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงอยากที่จะขอนำเสนอสาเหตุของการเสียชีวิตของทารกที่เกิดขึ้นบ่อยและมากที่สุดคือ “โรคไหลตายในทารก” หรือเรียกอีกอย่างว่า Sudden Infant Death Syndrome (SIDS) และไม่ใช่แต่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นนะคะ ที่เกิดการสูญเสียนี้ ยกตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาที่ พบว่ามีเด็กทารกสูญเสียจากภาวะดังกล่าวประมาณ 1.5 คนต่อเด็ก 1,000 คน โดยสาเหตุหลัก ๆ นั้นมาจาก การที่ “ลูกขาดอากาศหายใจ” เพราะคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกนอนคว่ำ

การนอนคว่ำนั้น เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการตายฉับพลันของเด็กทารก สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นได้จัดตั้งโครงการ “Back to sleep” หรือ “โครงการให้เด็กนอนหงาย” เริ่มตั้งแต่ในปี 1992 และจากการจัดตั้งโครงการนี้ ทำให้คุณพ่อคุณแม่ระวังกันมากขึ้น ทำให้การตายของทารกด้วยโรค SIDS นั้นลดลงอย่างชัดเจน

โรคไหลตายหรือ SIDS คืออะไร … อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปค่ะ


เครดิต: Drama-addict

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

โรคไหลตายหรือ SIDS คืออะไร?

โรคไหลตายในเด็ก หรือ SIDS (Sudden Infants Death Syndrome) คือภาวะที่ทำให้เด็กทารกเสียชีวิตเฉียบพลันขณะนอนหลับ มักเกิดกับเด็กทารกแรกเกิด – 1 ขวบ โดยเฉพาะในช่วง 2 – 4 เดือนแรก และสามารถเกิดได้กับเด็กที่มีสุขภาพดี ไม่มีโรคภัยมาก่อน สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด ซึ่งปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ยังคงค้นคว้าหาคำตอบอยู่

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เด็กเสียชีวิต คือ

อ่านวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรค SIDS เพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไป


เครดิต: Ahlulbait

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรค SIDS 

  1. จัดท่านอนให้ลูกอยู่ในท่าที่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น การนอนตะแคง หรือนอนหงาย เป็นต้น

2. อุณหภูมิในห้องนอนจะต้องไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป

3. ให้ลูกน้อยดื่มนมแม่ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเสียชีวิตในเด็ก

4. ไม่สูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงลูกน้อย ไม่ให้เข้าใกล้คนสูบบุหรี่

5. ต้องมั่นใจว่าเบาะหรือฟูกควรแน่น ไม่อ่อนยวบยาบจนเกินไป

6. ควรปล่อยให้เตียงของลูกน้อยโล่งเสมอ ไม่ขึงผ้ากันรอบเตียง ไม่มีสิ่งของใด ๆ อยู่บริเวณศีรษะรอบเตียง

7. เลือกชุดนอนให้ลูกน้อยอุ่นพอเหมาะ และใส่ได้พอดี ไม่คับหรือหลวมเกินไปจนรุ่มร่าม

8. ถ้าเป็นชุดนอนที่มีผ้าเนื้อบาง ต้องห่มผ้า โดยเลือกผ้าเนื้อเบา ให้ปลายเท้าของลูกอยู่ติดปลายเตียงเสมอ

9. วิธีการห่มผ้าคือสอดผ้าห่มให้กระชับตัวลูก หากใช้ผ้าห่มผืนหนา หรือหนัก เมื่อลูกดิ้น หรือหน้าคว่ำ อาจถูกผ้าห่มกดทับจมูก และปาก และเป็นสาเหตุให้ขาดอากาศหายใจได้

ทั้งนี้วิธีที่ป้องกันลูกได้ดีที่สุดก็คือ การที่คุณพ่อคุณแม่ดูแลลูกอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาแม้กระทั่งเวลาลูกนอนหลับนั่นเองค่ะ และสำหรับคุณแม่ท่านไหนที่อยากจะให้ลูกมีหัวสวยแล้วละก็ วันนี้ เราก็มีวิธีการทำให้ลูกหัวสวยโดยไม่ต้องนอนคว่ำมาฝากกันค่ะ 

คลิกอ่านวิธีการทำอย่างไรให้ลูกหัวสวยได้โดยไม่ต้องนอนคว่ำ

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่กำลังตั้งคำถามว่า “อยากให้ลูกหัวสวย แต่ไม่อยากให้นอนคว่ำ” นั้นจะมีวิธีการไหนได้บ้าง วันนี้ทีมงาน Amarin Baby & Kid ได้เตรียมวิธีการทำให้ลูก “หัวทุยสวย” มาฝากกันค่ะ

 

  1. คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะช่วยลูกจัดท่านอน ด้วยการให้ลูกนอนตะแคงซ้าย – ขวา สลับกันไป
  2. เลือกหมอนที่นุ่ม สบายสำหรับเด็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นหมอนหนุนที่เป็นหลุม เพราะอาจจะยิ่งทำให้ความบิดเบี้ยวของกะโหลกศีรษะลูกนั้นมีมากขึ้น
  3. อุ้มสลับข้างไปมาซ้ายขวา อย่าอุ้มลูกด้านใดด้านหนึ่งเพียงเดียวเป็นระยะเวลานาน
  4. อย่าให้ลูกนอนในรถเข็นหรือคาร์ซีทนานจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้ศีรษะของลูกนั้นผิดรูปได้

เป็นอย่างไรบ้างคะ แค่ 4 ข้อง่าย ๆ เท่านี้ ก็สามารถทำให้หัวของลูกคุณแม่ทุยสวยได้ไม่ยากแล้วละค่ะ

 

อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม

ท่านอนของลูกแต่ละวัย นอนท่าไหนถึงจะดี และเหมาะสม

นอนแยกห้อง แบบฝรั่ง VS นอนรวมกับพ่อแม่แบบไทย อย่างไหนดีกับลูกมากกว่ากัน!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids