AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เตือนแม่ ของติดจมูกลูก ห้ามล้างจมูกเด็ดขาด

ของติดจมูกลูก เจอแล้วต้องรีบช่วย แต่ต้องระวัง ห้ามใช้วิธีล้างจมูกเด็ดขาด ยิ่งติดลึกเอาออกยาก อาจเสี่ยงหลุดลงหลอดลมทำลูกขาดอากาศหายใจ

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอโดยเฉพาะเด็กวัยซนที่สนุกกับการหยิบจับองชิ้นเล็กชิ้นน้อย ผสมกับความอยากรู้อยากเห็น ลูกลองยัดสิ่งแปลกหลอมเข้ารูจมูกตัวเองโดยไม่รู้ตัว ถ้าเป็นของชิ้นใหญ่สักหน่อยอาจเข้าไปขวางทางเดินหายใจ ทำให้ลูกหายใจไม่ออกถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่มีหลายกรณีที่ของชิ้นเล็กมากไมได้เข้าไปอุดรูจมูกไว้ทั้งหมด ลูกจึงยังหายใจได้เป็นปกติ แต่ทำให้เกิดอาการผิดปกติตามมา เช่น คัดจมูก มีน้ำมูกไหลตลอดเวลาแต่ไม่เป็นหวัด หรือมีน้ำมูกข้นเหนียว เป็นต้น

อย่างกรณีที่เพจ Infectious ง่ายนิดเดียว ซึ่งเผยแพร่ข้อมูลทางการแพทย์ได้โพสต์เหตุการณ์ที่พ่อแม่พาลูกสาววัย 2 ขวบมาพบคุณหมอหลังพบว่ามีเศษพลาสติกติดอยู่ในจมูกของลูก แต่ไม่ทราบว่าเป็นอะไร

เด็กหนอเด็กน้อย!! สาวสวย อายุ 2 ปี เอาเศษพลาสติกยัดจมูก พ่อแม่ไม่รู้ว่าคืออะไร เอาออกไม่ได้ อยู่ลึก รูจมูกขวา

การรักษาของหมอ 

1)ใช้คลิปหนีบกระดาษกาง ถ่าง ออก

2) จับเด็กมัดแน่นๆ ทั้งตัว ให้ดิ้นไม่ได้ ร้องก็ให้ร้องไป

3)ใช้ไฟฉายส่อง ในรูจมูก

4)แล้วค่อยๆเขี่ย จากด้านใน ให้ออกมา

สักพักก็หลุด จุกหยุด  คลายยยยยย ดูแลเหมือนจะเป็น จุกปลายพลาสติกหุ้มไม้แขวนเสื้อ!!

เครดิตภาพ https://www.facebook.com/Infectious1234/

จุกไม้แขวนเสื้อไปอยู่ในจมูกลูกได้อย่างไร

พ่อแม่ส่วนใหญ่มักคิดว่า ของติดจมูกลูก น่าจะเป็นของเล่นที่ลูกเล่นติดมืออยู่เป็นประจำ ความจริงแล้วยังมีสิ่งแปลกปลอมหลายอย่างที่ลูกเผลอหยิบเข้าไปใส่จมูกได้อย่างไม่น่าเชื่อ บางคนอาจใส่แค่ข้างเดียว หรือจมูกทั้งสองข้างก็เป็นไปได้หมด มีทั้งเศษอาหารอย่าง เมล็ดข้าว เมล็ดส้ม น้อยหน่า แตงโม ส้มโอ ละมุด ลำไย หรือเมล็ดถั่วต่างๆ  รวมถึงของใช้ที่คุณพ่อคุณอาจทำตักไว้บนพื้นอย่าง เม็ดกระดุม ยางรัดผม เหรียญสตางค์ ลูกปัด ลูกแก้ว หรือแม้กระทั่งก้อนกรวดเล็กนิดเดียว ฉะนั้นจึงไม่แปลกเลยที่ จุกไม้แขวนเสื้อจะกลายเป็นสิ่งแปลกปลอมในจมูกของหนูน้อยคนนี้ได้เช่นกัน

รวมเคส ของติดจมูกลูก อุบัติเหตุชั่วพริบตาที่พ่อแม่ต้องระวัง

นอกจากจุกไม้แขวนเสื้อแล้ว ยังมีสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ที่ลูกน้อยหยิบเข้าจมูกได้สารพัด พ่อแม่ต้องระวังให้มาก

เคสที่ 1

ลูกชายวัย 2 ขวบของคุณแม่ท่านหนึ่ง ชอบหยิบยางรัดผมใส่จมูก และทำอยู่บ่อยๆ จนคุณแม่ต้องพาไปโรงพยาบาลถึง 3 ครั้ง

เคสที่ 2

ลูกชายยัดเม็ดน้ำหอมปรับอากาศเข้าไปในจมูก แม่ตกใจมากเพราะเม็ดโตพอสมควร โชคดีที่น้องจามแล้วเม็ดน้ำหอมหลุดออกมาเอง

เคสที่ 3

ลูกสาววัย 2 ขวบ ยัดกระดาษห่อลูกเข้าในจมูก ไม่มีใครในบ้านเห็นเลยจนลูกมีน้ำมูกไหลและพาไปพบคุณหมอ ตอนแรกตรวจดูแล้วไม่พบความผิดปกติ แต่กินยาลดน้ำมูกได้ 2 วันยังไม่มี แถมจมูกมีกลิ่นเหม็นเน่ามาก จึงพากลับไปหาหมออีกรอ หลังจากนั้นลูกแอบเอาเม็ดพลาสติกที่เป็นกระสุนของปืดอัดลมใส่จมูกอีก โชคดีว่าพี่ชายเห็นเหตุการณ์ จึงรีบพาไปให้คุณเครื่องดูดออกทันเวลา ไม่เป็นอันตราย

เคสที่ 4

คุณแม่อีกท่านสังเกตเห็นก้อนดำๆนูนๆที่เพดานปาก เข้าใจว่าห้อเลือดเพราะมีอะไรกระแทกปาก จึงพาไปพบคุณหมอฟันลองเขี่ยดูดังป๊อกๆ  พบว่าเป็นเม็ดพลาสติก หลังจากคุณหมอเอาออกแล้วจึงทราบว่าเป็นชิ้นส่วนจมูกของหมวกน้องหมีคู่ใจ ที่ลูกสาวแกะไปอมเล่น

จะรู้ได้อย่างไรว่ามี ของติดจมูกลูก

บางครั้งสิ่งแปลกปลอมมีขนาดไม่ใหญ่จนทำให้หายใจไม่ออก พ่อแม่จึงไม่รู้ว่ามีสิ่งแปลกปลอมติดในจมูกลูก มีวิธีสังเกตง่ายๆ หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวดังต่อไปนี้

  1. ลูกหายใจขัด คล้ายเป็นหืดหอบ หรือสังเกตว่าลูกหายใจสะดวกจากรูจมูกเพียงข้างเดียว
  2. ลูกใช้นิ้วแคะจมูกหรือดันจมูกบ่อยๆ
  3. มีน้ำมูกใส หรือน้ำมูกสีเขียวปนหนอง ปนเลือดไหลออกมาจากรูจมูกข้างใดข้างหนึ่ง อาจมีไข้ตัวร้อน ปวดศีรษะ
  4. ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ อาจมีน้ำมูกเขียวข้นคล้ายไซนัสอักเสบ
  5. หากสิ่งของติดอยู่เป็นเวลานาน อาจกลายเป็นหินปูนแข็งๆ เกาะติดในโพรงจมูก

พ่อแม่ควรทำอย่างไรเมื่อลูกเอาของยัดจมูก

อย่างแรก ที่พ่อแม่ต้องทำให้ได้ ! คือตั้งสติ เพื่อลดความตื่นตระหนกจนทำอะไรไม่ถูก ถ้าเป็นเช่นนั้นสถานการณ์อาจเลวร้ายลง เพราะลูกเองก็กลัวอยู่แล้วยิ่งเห็นพ่อแม่ตกใจอาจทำให้ลูกเสียขวัญกว่าเดิม เมื่อตั้งสติแล้วควรหันมาปลอบโยนและกำลังใจ ลูกจะกลัวน้อยลง การช่วยเหลือก็จะง่ายขึ้น

สอง ถ้าลูกอายุ 5 ขวบขึ้นไป ทำตามคำสั่งได้แล้ว บอกให้ลูกหายใจทางปาก เงยหน้าขึ้น จากนั้นลองส่องไฟฉายดูว่าสิ่งแปลกปลอมมีขนาดเล็กแค่ไหน อยู่ลึกหรือไม่ แล้วใช้มือปิดจมูกข้างที่ปกติไว้ ลองสั่งน้ำมูกเบาๆ อาจช่วยให้หลุดออกมา (ทั้งนี้ไม่ควรสั่งแรงหรือทำบ่อยครั้งเกินไป เพราะเป็นอันตรายกับแก้วหู

สาม หาก ของติดจมูกลูก อยู่ลึกเข้าไปโพรงจมูก ควรพาไปพบแพทย์ทันที

** ของติดจมูกลูก ห้ามใช้น้ำเกลือล้างจมูก เขี่ย แคะ หรือคีบออกมาเด็ดขาด เพราะอาจทำให้สิ่งของติดลึกไปกว่าเดิม หากตกไปหลังโพรงจมูก หรือหลอมลม เสี่ยงเป็นอันตรายถึงชีวิตได้**

สี่   กรณีลูกอายุน้อยกว่า  5 ขวบไม่ควรช่วยเหลือด้วยตัวเองเป็นอันขาด ไปพบแพทย์จะเป็นวิธีดีที่สุด

ป้องกันอย่างไรให้ไม่ให้ลูกเอาของยัดจมูก

หลายครั้งการที่ลูกเอาขอยัดใส่จมูกตัวเอง อาจไม่แสดงอาการให้เห็นทันที แต่ถ้าปล่อยไว้จะทำให้เกิดอาการอักเสบในโพรงจมูกแน่นอน จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งแปลกปลอม ดังนั้นทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ควรป้องกันเหตุร้ายตั้งแต่เนิ่นด้วยเทคนิคดังต่อไปนี้


แหล่งข้อมูล  https://www.facebook.com/Infectious1234/  http://www.csip.org/

 

อุทาหรณ์! ลูกยัดถ่านเข้าจมูก คีบไม่ออกจนถ่านเข้าไปในท้อง

 

รวมอุทาหรณ์ เชือกรัดคอลูก เสียชีวิตในบ้าน

ล้างจมูกลูก อย่างไรให้ปลอดภัย ถูกต้องแต่ละช่วงวัย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids