AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA โรคทางพันธุกรรม ที่ต้องรู้จัก! ก่อนคิดมีลูก

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA

ปัจจุบันมีหลายครอบครัวที่คนในบ้านเป็น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA  และต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคให้มากขึ้น ทาง Amarin baby & kids จึงนำข้อมูลจากซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อน เพื่อเป็นข้อมูลให้กับครอบครัวที่มีความเสี่ยงกับโรคนี้

 

SMA (Spinal Muscular Atrophy) หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ลักษณะอาการทั่วไปจะเริ่มจากการเสื่อมลงของกล้ามเนื้อ สามารถจำแนกผู้ป่วยโรคนี้ได้ 4 ขั้น คือประเภทของโรค ตามช่วงอายุที่เกิดโรค ความรุนแรงของโรค และอาการที่แย่ลงของกล้ามเนื้อ

สาเหตุของการเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA

สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA เกิดจากกล้ามเนื้อมีความผิดปกติในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก มีหลายสาเหตุ ทั้งที่เกิดจากพันธุกรรมและไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม อีกทั้งยังเกิดกับเด็กเล็กจนถึงเด็กโตช่วงวัยรุ่น เรามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมของสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคดังนี้

พันธุกรรม โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ที่เกิดจากพันธุกรรมจะมีรูปแบบความผิดปกติและการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่หลากหลาย โรคพันธุกรรมในเด็ก เมื่อคุณแม่หรือคุณพ่อมียีนที่ผิดปกติลูกก็สามารถเกิดโรคได้ เช่น เกิดจากการถ่ายทอดพันธุกรรมด้อยของพ่อและแม่มาสู่ลูก หรือโรคที่เกิดจากแม่เท่านั้นมาสู่ลูก เป็นต้น

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เมื่อคุณแม่หรือคุณพ่อมียีนที่ผิดปกติลูกก็สามารถเกิดโรค

การติดเชื้อ พบเจอได้บ้าง อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยตรงหรือหลังการติดเชื้อไวรัส เช่นเดียวกับเวลาผู้ใหญ่ป่วย ไม่สบายเป็นไข้หวัดใหญ่ มักมีอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตัวอ่อนเพลีย สำหรับเด็กๆ เองภูมิต้านทานโรคต่ำกว่าผู้ใหญ่ พอเชื้อโรคกระจายสู่ร่างกาย จึงเกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อ และอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง มักเกิดจากการติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจเป็นส่วนใหญ่ หรือระบบทางเดินอาหารก็ได้

การอักเสบ ตัวเลขการเกิดพบได้ไม่มาก แต่ก็เป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรืออาจพบร่วมกับความผิดปกติอื่นๆ เช่น การอักเสบตามข้อมือ ข้อเข่าจากโรครูมาตอยด์, เกิดการอักเสบที่ไต เช่น ในโรคเอสแอลอี (โรคพุ่มพวง) ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็น ที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายไปทำร้ายอวัยวะนั้นๆ

นอกจากนี้แล้ว โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงยังอาจเกิดจากการใช้ยาหรือสารเคมีบางชนิด แต่พบไม่บ่อยเท่ากับผู้ป่วยในกลุ่มผู้ใหญ่ เนื่องจากการใช้ยาหรือสารเคมีบางชนิด ไม่ควรใช้โดยไม่จำเป็น ที่สำคัญคือ ต้องอยู่ในการดูแลของคุณหมอนั่นเอง

สำหรับคุณแม่ที่มีลูกน้อยมีพัฒนาการที่ช้ากว่าวัย แล้วสงสัยว่ารู้ของเรากำลังป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA อยู่หรือไม่…สัญญาณเตือนหากลูกน้อยกำลังประสบปัญหากับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

อ่านต่อ >> “สัญญาณเตือนหากลูกน้อยกำลังประสบปัญหากับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในทารกแรกเกิด

สัญญาณเตือนให้รู้ว่าลูกน้อยกำลังป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA

 

หากลูกน้อยของคุณ ประสบปัญหากับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA นี้ อาจส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิต เพราะอาจไม่สะดวกกับการเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติ การรู้ทัน รู้ถึงความผิดปกติ จะช่วยให้คุณแม่ดูแลลูกน้อยอย่างเหมาะสม

หากเป็นเด็กเล็กๆ คุณพ่อ คุณแม่สังเกตอาการได้เองจากพัฒนาการตามวัยของลูกน้อย เช่น เวลาอุ้มลูก ลูกจะตัวอ่อนปวกเปียก เนื่องจากไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ดีเมื่อถึงวัยที่ลูกชันคอได้ แต่กลับทำไม่ได้มักจะคว่ำหน้าตลอด หรือลุกนั่ง ยืน เดินได้ไม่คล่องเท่ากับเด็กในวัยเดียวกัน

กรณีที่อาการไม่ได้แสดงให้เห็นตั้งแต่แรกเกิดหรือตอนยังเล็กๆ แต่ก็สามารถเห็นความผิดปกติ ในลักษณะพัฒนาการถดถอยเมื่อโตขึ้น ในช่วงวัย 3-4 ปี เช่นต้องพยุงตัวเองเวลาที่ลุกขึ้นยืน เวลาเดินขึ้น-ลงบันไดก็ทำได้ไม่ดี จากที่เดินได้คล่องก็เริ่มเดินแล้วล้มบ่อย เป็นต้น

วิธีป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

√คำแนะนำจากคุณหมอ

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA เป็นโรคที่พบได้ทั่วโลก สำหรับสถิติการเกิดขึ้นพบว่า ใน 60 จะมี 1 คนที่เป็น ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นอันดับ 2 รองจากธาลัสซีเมีย การเตรียมความพร้อมในแง่ของข้อมูล การดูแล ป้องกัน ไม่ให้เกิดขึ้นกับลูกน้อยเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่เตรียมตัววางแผนการตั้งครรภ์

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA เป็นโรคที่รักษาไม่ได้ อาจทำได้เพียงดูแลอย่างเหมาะสม และรักษาตามอาการ ซึ่งต้องดูถึงสาเหตุและ Type ของโรคที่เป็น หากเป็นโรคชนิดที่รุนแรง เช่น กลุ่มดูเชน ก็อาจทำให้ยากต่อการรักษาหรือทำให้เป็นปกติได้ อาจเกิดการทำลายเซลล์กล้ามเนื้อที่มากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นรุนแรงส่งผลให้เดินไม่ได้ หรือหากเกิดการทำลายเซลล์ กล้ามเนื้อหัวใจหรือกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ อาจทำให้มีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเป็นปอดบวมได้ง่าย เพราะกล้ามเนื้อในร่างกายคนเราไม่ได้มีเฉพาะที่แขนขาเท่านั้น ยังมีกล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อเรียบที่ลำไส้ เป็นต้น ดังนั้นคุณแม่ที่มีลูกน้อย ลูกวัยเด็กต้องคอยสังเกตความผิดปกติ เพื่อช่วยให้คุณแม่รู้ทันปัญหาและแก้ไขเรื่องสุขภาพลูกได้โดยเร็ว

ทุกครอบครัว ต่างมีความคาดหวังที่จะมีลูกและเชื่อว่าเด็กที่เกิดมาจะต้องสมบูรณ์แบบทั้งร่างกายและจิตใจ แต่ความปรารถนานี้จะเกิดขึ้นเป็นจริงได้ ถ้าผู้เป็นพ่อและแม่ ให้ความสำคัญในการศึกษาข้อมูลต่างๆ มีการเตรียมตัวและรู้จักการวางแผน เข้าตรวจ และป้องกัน ก่อนเริ่มทำการตั้งครรภ์ โดยเข้ารับคำปรึกษาจากทีมแพทย์ และ นักวิทยาศาสตร์ผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อให้ทุกชีวิตที่เกิดมา ปราศจากโรคทางพันธุกรรม

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก เพจ @Superior Art Thailand