ท่านอนตะแคงทารก ช่วยให้สมองดีได้ จริงหรือ? …เพราะการนอนหลับเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญสำหรับลูกน้อย เพราะการพักผ่อนที่ดีที่สุดคือการนอนหลับ และมนุษย์เราใช้เวลาเพื่อการนอนถึง 1 ใน 3 ของเวลาทั้งหมดที่มีในแต่ละวัน เพราะฉะนั้นท่าที่ใช้นอนจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่จะส่งผลให้ลูกน้อยนอนหลับสนิท ตลอดคืน และตื่นขึ้นมาด้วยความสดชื่น แจ่มใส พร้อมที่จะเรียนรู้ในระหว่างวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลูกหลับแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรจะให้ลูกนอนท่าไหนดี
หลังจากที่คุณพ่อคุณแม่กล่อมลูกนอนได้แล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่มักกังวลกันนั้นก็ คือ ถ้าให้ลูกนอนท่านี้ เดี๋ยวหัวลูกจะไม่สวยหรือเปล่า หรือนอนท่าไหนถึงจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้ลูกได้ Amarin Baby & Kids มีคำตอบเกี่ยวกับท่านอนที่จะช่วยให้ลูกน้อยสมองดี หัวสวย และมีสุขภาพแข็งแรงหลังตื่นนอน เพื่อพร้อมเรียนรู้ มาฝากค่ะ
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : แชร์ประสบการณ์ตรง!! สิ่งที่พ่อแม่ควรทำเพื่อกล่อมลูกนอนหลับ
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : เพลงกล่อมเด็ก แบบไทยๆ ช่วยพัฒนาสมองและให้ลูกน้อยหลับสบาย
วิจัยชี้ ท่านอนตะแคงทารก ดีต่อสมอง
มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสโตนีบรูค (Stony Brook University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ตีพิมพ์ลงในวารสารประสาทวิทยา (Journal of Neuroscience) เผยว่า สมองก็มีฟังก์ชันกำจัดขยะด้วยตัวเอง ผ่านระบบที่หมอตั้งชื่อว่า กลิมพาติก (Glymphatic System) ซึ่งทำงานคล้ายกับระบบต่อมน้ำเหลืองของร่างกาย โดยทุกคนให้ความสำคัญกับการค้นพบนี้ เพราะว่าขยะในสมอง เช่น อัลมีลอยด์ บีตา (Amyloid Beta) และโปรตีนเทา (Tau Proteins) เป็นตัวจุดชนวนโรคอัลไซเมอร์ และโรคระบบประสาทอื่นๆ
โดยระบบกลิมพาติก จะทำงานดีที่สุดขณะหลับ นักวิจัยจึงทำการทดลอง ผ่านการตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อสำรวจเส้นทางของระบบนี้ในหนูทดลอง ขณะ นอนตะแคงข้าง นอนหงาย และนอนคว่ำ โดยเจ้าของงานวิจัย แพทย์หญิง ดร. เฮเลน เบนเวนิสเต อาจารย์มหาวิทยาลัย สรุปว่า หนูตัวที่นอนตะแคงข้าง สามารถกำจัดแอมีลอยด์ บีตาได้ดีกว่าถึงร้อยละ 25 และยืนยันว่า ขยะสมองเหล่านี้ไม่ได้มีต้นกำเนิดในสมองโดยตรง
ดร. เฮเลนอธิบายว่า…
การนอนตะแคงช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำหล่อสมองไขสันหลัง ท่านี้จึงทำให้สมองกำจัดขยะได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันโรคระบบประสาท นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอน
อีกทั้ง ท่านอนตะแคงถือเป็นท่านอนที่ดีต่อสุขภาพที่สุด เพราะยังช่วยลดปัญหาการนอนกรน และดีต่อผู้ที่มีอาการหยุดหายใจขณะหลับอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก เรื่อง “งานวิจัยเผย นอนตะแคงดีต่อสมอง” เผยแพร่ใน www.cheewajit.com
แหล่งที่มา : www.goodlifeupdate.com/
อ่านต่อ >> “ให้ลูกน้อยนอนตะแคงดีจริงหรือ” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่ลองพิจารณาถึงอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกายของมนุษย์ จะเห็นว่าอวัยวะข้างขวาของร่างกายมักมีขนาดที่ใหญ่กว่าอวัยวะที่อยู่ข้างซ้าย
- สมอง : สมองของ มนุษย์มีสองซีก นั่นคือซีกขวาและซีกซ้าย โดยที่สมองซีกขวาจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าซีกซ้าย
- ปอด : ปอด เป็นอวัยวะที่ตั้งอยู่ในโพรงอกคล้ายกรวยแหลมผ่าครึ่งมี 2 ข้าง โดยข้างขวาจะมีขนาดใหญ่กว่าข้างซ้าย เพราะข้างขวามี 3 กลีบในขณะที่ข้างซ้ายมีเพียง 2 กลีบ ภายในมีถุงลมนับล้านลูก มีหน้าที่ซักฟอกอากาศ ดูดซับก๊าซออกซิเจนเข้าสู้ร่างกาย และขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออก
- ตับ : ตับเป็นอวัยวะเดี่ยวที่มีขนาด ใหญ่ที่สุดของร่างกาย อยู่ในบริเวณช่องท้องตอนบนสุดค่อนไปทางด้านขวา ตับมีสีน้ำตาลออกแดงคล้ำ รูปร่างเป็นกลีบ 2 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่อยู่ใต้ชายโครงขวา กลีบเล็กอยู่ใต้ชายโครงซ้าย
- ถุงน้ำดี : ถุงน้ำดีถือเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่ง ของ ร่ายกาย โดยอยู่ใต้ต่อตับบริเวณชายโครงด้านขวา ถุงน้ำดีมีรูปร่างคล้ายลูกแพร ยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ถุงน้ำดีจะเป็นที่เก็บน้ำดีซึ่งสร้างจากตับ และจะมีท่อน้ำดีไปเปิดสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น โดยน้ำดีมีหน้าที่ย่อยอาหารประเภทไขมัน
- ส่วน หัวใจ นั้นถือเป็นอวัยวะ ที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะมีหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยอาศัยโครงสร้างของกล้ามเนื้อหัวใจและระบบนำไฟฟ้าภายในหัวใจ ซึ่งสร้างและควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ โดยหัวใจของมนุษย์นั้นจะอยู่ข้างซ้ายของช่องอก
และนี้อาจคือหนึ่งเหตุผลที่ทำให้การนอนตะแคงขวาเป็นท่านอนที่ดีต่อสุขภาพ เพราะจะไม่ทำให้น้ำหนักไปกดทับอวัยวะที่อยู่ข้างซ้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวใจ
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : เปิดคัมภีร์ ทารกนอนหลับแบบไหน? ช่วยให้พัฒนาการดี
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ข้อดีและข้อควรระวังในการนอนของลูกน้อยแต่ละท่า
√ ท่านอนหงาย
ข้อดี
- การนอนหงายช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรค SIDS (โรค SIDS คือ การเสียชีวิตเฉียบพลัน ในขณะนอนหลับของเด็ก)
- ช่วยให้ลูกได้ขยับแขน ขยับขาบ้าง เช่น การดูดนิ้วมือ เพื่อกล่อมให้ตัวเองหลับ
- ในขณะนอนหงาย หากใช้ผ้าห่มผืนเล็กๆ ห่อตัวลูก ตั้งแต่เอวลงไปถึงปลายเท้า จะช่วยลดอาการสะดุ้งตื่นในขณะหลับได้
ข้อควรระวัง
- การนอนหงายเป็นประจำจะทำให้ศีรษะไม่สวยงาม
- อาจทำให้เกิดการสำลักเข้าคอ มากกว่าท่านอนคว่ำ หากลูกทานอิ่มเกินไปจนอาเจียนออกมา แล้วเกิดอาการสำลักเข้าคอได้
- หากลูกนอนหงายเป็นประจำ ควรสลับท่านอนให้ลูกนอนคว่ำบ้าง เพื่อให้แผ่นหลังลูกได้ยืดเส้นยืดสายบ้าง
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : ทารกฟินแลนด์นอนในกล่อง ได้ประโยชน์เหลือเชื่อ!
อ่านต่อ >> “นอนอย่างไรให้ลูกหัวสวย” คลิกหน้า 3
√ ท่านอนคว่ำ
ข้อดี
- การนอนคว่ำช่วยให้ลูกนอนหลับได้นานขึ้น เพราะหน้าอกของลูกซุกอยู่กับที่นอนอุ่นๆ
- ช่วยให้ศีรษะสวยงาม
- ช่วยให้ แขน และขาของลูกนิ่งอยู่กับที่
- ช่วยให้ลูกไม่สะดุ้งตกใจ เพราะ แขน ขา หน้าอกซุกอยู่กับที่นอน
- ช่วยให้ลูกเรอออกมาได้ง่าย เพราะหน้าท้องทาบอยู่กับที่นอน
ข้อควรระวัง
- เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากการขาดอากาศหายใจ หากหมอนนุ่มเกินไป หรือผ้าห่มเกิดปิดทับจมูกของลูกในขณะนอนหลับ (การนอนคว่ำเป็นปัจจัยเสี่ยงข้อหนึ่งที่ทำให้เกิดโรค SIDS ในเด็ก)
- หากลูกนอนคว่ำเป็นประจำ ควรสลับท่านอนให้ลูกนอนหงายบ้าง เพื่อให้แผ่นหลังลูกได้ยืดเส้นยืดสายบ้าง (ใน 1 คืน บางครั้งก็อยากเปลี่ยนท่านอนบ้าง)
ซึ่งปัจจุบันเด็กหัวแบนกันมากขึ้น เนื่องจากทางการแพทย์แนะนำให้เด็กทารกนอนหงายมากกว่านอนคว่ำ เพื่อป้องกันภาวะ SIDS (Sudden Death Syndrome) หรือโอกาสที่เด็กจะเสียชีวิตขณะนอนหลับ
หัวแบน สาเหตุเนื่องมาจากกระดูกของเด็กแรกเกิดเป็นกระดูกที่มีความอ่อน หากนอนทับอยู่ในตำแหน่งเดิมตลอดเวลาก็จะทำให้กะโหลกศีรษะของเด็กแบนได้ แต่สภาวะดังกล่าวนี้ไม่ได้ส่งผลอันตรายใด
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่อยากให้ลูกหัวแบนมีคำแนะนำง่ายๆ ดังนี้ค่ะ
วิธีป้องกันลูกหัวแบน
- จัดท่านอนให้ลูกตะแคงข้าง สลับข้างไปมาซ้ายบ้าง ขวาบ้าง
- ให้ลูกนอนคว่ำ หัวสวยแน่นอน แต่ก็ค่อนข้างอันตรายในเด็กสามเดือนแรก เพราะอาจทำให้เด็กขาดอากาศหายใจ ถ้าจับลูกนอนคว่ำ พ่อแม่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด อย่าให้มีหมอนหรือสิ่งของอื่นๆ อุดจมูกลูก
- ถ้าลูกไม่ยอมนอนคว่ำให้หาหมอนหลุมมาให้ลูกนอน
- ช่วงที่ลูกตื่นอย่าให้ลูกอยู่ในท่านอนหงายเพียงอย่างเดียว ให้ลูกอยู่ในท่าอื่นๆ ด้วย เช่น คว่ำชันนคอ ตะแคงหรืออุ้มลูกขึ้นมา แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก็ตาม
- ไม่ควรให้นอนในคาร์ซีท หรือรถเข็นเด็กนานเกินไป
- การอุ้มลูกก็ควรสลับข้างไปมาซ้ายขวาเช่นกัน
- ถ้าจะอุ้มลูกไม่ว่าจะอยู่ในบ้านหรือพาออกไปข้างนอก ก็ควรใช้เป้อุ้มเด็ก เพื่อให้คอและหัวของลูกเป็นอิสระ
ซึ่งจะสังเกตได้ว่า ท่านอนในแต่ละแบบ ทั้งนอนหงายและคว่ำ ต่างก็มีข้อดี และข้อควรระวังแตกต่างกันไป คุณพ่อคุณแม่ควรสลับเปลี่ยนให้ลูกนอนคว่ำและหงายบ้าง เพื่อฝึกพัฒนาการด้านร่างกายเช่น การชันคอ ยกศีรษะ ขยับแขน ขยับขา เป็นต้น แต่ปัจจัยสำคัญในการเลือกท่านอนของลูกต้องขึ้นอยู่กับอายุของลูกด้วย
ทั้งนี้ในเรื่องของท่านอนหงาย นอนคว่ำ หรือนอนตะแคง นอนแบบไหนถึงจะดีสำหรับลูกที่สุด สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ควรคำนึงถึงวัยของลูกด้วยว่า ควรจะนอนท่าทางแบบไหนถึงจะเหมาะสมกับวัย เพื่อการนอนหลับที่ดี และช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายไปพร้อมๆ กันค่ะ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- ท่านอนของลูกแต่ละวัย นอนท่าไหนถึงจะดี และเหมาะสม
- 8 ท่านอน บอกนิสัย สื่อสัมพันธ์รักเป็นแบบใด?
- ท่านอนท่าไหนช่วยแม่ท้องหลับสบาย
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.momlovelybaby.com , baby.haijai.com