AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เตือนพ่อแม่! ปล่อยลูก เล่นโทรศัพท์มาก ตาบอด ได้!!

อุทาหรณ์ เลี้ยงลูกด้วยมือถือ เตือนพ่อแม่! ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ ปล่อยลูก เล่นโทรศัพท์มาก ตาบอด ได้!!

แม่แชร์เตือน…อุทาหรณ์ เลี้ยงลูกด้วยมือถือ เรื่องเสี่ยงภัยที่ไม่ควรละเลย เพราะหากปล่อยให้ลูก เล่นโทรศัพท์มาก ตาบอด ได้! ทำกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ถ้าไปรักษาผ่าตัดไม่ทันเวลา

อุทาหรณ์ ปล่อยลูก เล่นโทรศัพท์มาก ตาบอด ได้!!

เล่นโทรศัพท์มาก ตาบอด ได้! เรียกได้ว่าเรื่องนี้..ถือเป็นอีกหนึ่งภัยที่เด็กสมัยนี้เสี่ยงเป็นกันมาก เพราะด้วยความก้าวล้ำของเทคโนโลยี ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่อยู่ที่ว่าเราจะใช้เทคโนโลยีอย่างไรให้เกิดประโยชน์ เช่นเดียวกับกรณีนี้..ที่คุณแม่ได้ออกมาโพสต์เตือนเพื่อเป็นอุทาหรณ์สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนอื่นๆ อุทาหรณ์ เลี้ยงลูกด้วยมือถือ ให้ลูกเล่นโทรศัพท์มือถือตั้งแต่เล็กๆ จนตอนนี้ลูก 7 ขวบ ต้องเข้ารับการผ่าตัดตาด่วน

โดยคุณแม่ได้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ สมฤดี ชาวบ้านเกาะ โพสต์ภาพลูกชายที่มีผ้าปิดตา นอนอยู่โรงพยาบาลพร้อมระบุข้อความว่า..

“เก่งมาก คนเก่งของเเม่ เรื่องมือถือ พ่อเเม่อย่าชะล่าใจ สำคัญมาก อย่าปล่อยเขาอยู่กับมือถือนานๆ ควรมีลิมิตให้ลูก #อย่ามองข้าม #อย่าละเลย!!
เคสนี้ ลูกชายผ่า เพราะเกิดจากกล้ามเนื้อตาอ่อนเเรง ดูโทรศัพท์เเต่เล็กๆ สะสมมาเรื่อยๆ หนักขึ้นเรื่อยๆ จนกล้ามเนื้อตาอ่อนเเรง มีผลหากไม่รีบทำการรักษา ผ่าเเล้วหายไหม ดีขึ้นค่ะ เเต่ใช่จะหายสนิท หายเเล้วก็ยังต้องใส่เเว่นประคับประคองตาไว้อยู่ สงสารจับใจหัวอกคนเป็นเเม่ เเผลจะเป็นลักษณะเเผลในตาเล็กน้อย ไม่มีเเผลข้างนอกเลย”

ทั้งนี้คุณแม่ยังได้เล่าอาการของลูกชายว่าก่อนหน้านี้ เกิดจากสายตาสั้นและเอียง จากนั้นเริ่มมีอาการตาเข เพราะจ้องหน้าจอโทรศัพท์มากจนเกินไป จึงต้องใส่แว่นตาประคองไว้ตลอด ซึ่งตอนแรกคุณแม่คิดว่าลูกชายเป็นเพียงสายตาสั้น แต่หมอพบว่าน้องมีอาการ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ตั้งแต่ช่วงที่น้องอายุ 4 ขวบ และหมอบอกว่า สามารถผ่าตัดได้เมื่ออายุ 5 ขวบขึ้นไป

คุณแม่จึงตัดสินใจให้ลูกชายผ่าตัดเพื่อทำการรักษาในวัย 7 ขวบ เพราะลูกชายโตขึ้นและสามารถให้ความร่วมมือกับแพทย์ได้ดี อีกทั้งหมอแนะนำว่าถ้าผ่าตัดตั้งแต่ตอนนี้ มีโอกาสหายมากกว่า โดยหลังจากนี้น้องยังคงต้องใส่เเว่นตาเพื่อประคับประคองดวงตาเอาไว้ … จึงอยากเตือนเพื่อเป็นอุทาหรณ์ และแนะนำว่าควรแบ่งเวลาให้ลูกในการใช้โทรศัพท์ ไม่ให้ใช้โทรศัพท์มากจนเกินไป และทำกิจกรรมอย่างอื่นแทนการใช้โทรศัพท์

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก สมฤดี ชาวบ้านเกาะ
ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : www.pptvhd36.com
ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ เล่นโทรศัพท์มาก เสี่ยงตาบอด ได้จริงหรือ?

เล่นโทรศัพท์มาก ตาบอด ได้จริงหรือ?

จากสถิติพบเด็กมีปัญหาด้านการสื่อสารและร่างกายจากการดูโทรศัพท์มือถือนานๆ มากขึ้นทุกปี เตือนว่า เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรดูโทรศัพท์มือถือ ถ้าโตกว่านี้ พ่อแม่ก็ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ใช้โทรศัพท์มือถือให้เกิดประโยชน์กับลูก ไม่ใช่หยิบยื่น ผลเสียให้กับลูก

โดย ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ อันดับแรกที่เห็นได้ชัดและมีข่าวออกมาบ่อยคือ โรคทางตา ซึ่งแพทย์หญิงสายจินต์ อิสีประดิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า… ผู้ป่วยที่เข้ามารักษาโรคตาจากความผิดปกติของสายตาและการเพ่งมอง สาเหตุมาจากการใช้สายตาเพ่งมองหน้าจอมากเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดกลุ่มอาการตาไม่สู้แสง โดยจะมีอาการแสบตา ตาแห้ง ปวดตา อาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นชั่วคราวเมื่อพักตาอาจช่วยบรรเทาอาการ

และแม้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตาอย่างเฉียบพลัน แต่ทำให้เกิดความไม่สบายตา ระคายเคือง และเป็นปัญหารบกวนการใช้สายตาอยู่เสมอ หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดผลตามมา เช่น กระจกตาอักเสบ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หรือ กล้ามเนื้อตาล้า ทั้งนี้หากมีปัญหาสายตาควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติและรับการรักษาอย่างทันท่วงที

อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่สามารถถนอมดวงตาได้ด้วยวิธีการกระพริบตาให้บ่อยเมื่ออยู่หน้าจอเพื่อป้องกันตาแห้ง หากมีอาการตาแห้งควรใช้น้ำตาเทียม เพื่อลดการระคายเคืองตาควรพักสายตาเป็นระยะทุก 20-30 นาที และพักจากจอประมาณ 30-60 วินาที โดยมองออกไปไกลๆ หรือหลับตาหากจำเป็นต้องอยู่หน้าจอนานเกิน 30 นาที .. รวมไปถึงกินอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา ได้แก่ ผักผลไม้ที่มีสีเหลืองส้มอาทิ แครอท ฟักทอง หรือผักใบเขียว เช่น คะน้า ปวยเล้ง ฯลฯ และดื่มน้ำให้เพียงพอเนื่องจากการดื่มน้ำบ่อยๆ จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ดวงตา

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก Facebook เพจ กรมการแพทย์

 

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิกที่ภาพได้เลย 

แม่เตือน! ลูกเล่นมือถือนาน เกินไป สุดท้ายตาอักเสบ

4 ผลกระทบของการให้เด็ก เรียนออนไลน์ (ใช้สื่อ online)

วิจัยชี้! เด็กเล่นมือถือ-แท็บเล็ต เสี่ยงเครียด-วิตกกังวล-ซึมเศร้า

อุทาหรณ์ ลูกถูกไฟช็อต จากสายชาร์จโทรศัพท์มือถือ

9 แอพ เกมลับสมอง เล่นสนุก เพิ่มรอยหยัก ฝึกความจำ ให้ลูกมีไหวพริบฉลาดยิ่งขึ้น