จิตแพทย์ชี้! ผู้ปกครองจอมตามใจ ให้ระวังปัญหา พ่อแม่รังแกฉัน ในสังคมใหม่ยุคดิจิทัล ส่อเกิดภาวะเรียกว่า “ฮ่องเต้ซินโดรม” เต็มสังคม
เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นโรค “ฮ่องเต้ซินโดรม”?
นพ.วิทยา นาควัชระ จิตแพทย์ กล่าวถึงอาการของโรคในเด็กไทยยุคใหม่ว่า เด็กไทยรุ่นใหม่ที่ถูกเลี้ยงดูเป็นเทวดา เมื่อเวลาเจอเรื่องที่ไม่ได้ดังใจ จะเกิดอาการที่เรียกว่า “ฮ่องเต้ซินโดรม”
สำหรับ “ฮ่องเต้ซินโดรม” หรือกลุ่มอาการฮ่องเต้ ขณะนี้กลายเป็นภาระของจิตแพทย์ ต้องทำงานหนักมาก เมื่อได้เจอกรณีแบบนี้ พ่อแม่พาลูกมาปรึกษาเต็มไปหมด” โดยคนรุ่นใหม่ที่กำลังจะเป็นพลังพัฒนาประเทศ กลายเป็นคนที่เปราะบาง รักสบาย ใครขัดใจไม่ได้ ก็พร้อมจะระเบิดอารมณ์ หรือระเบิดอารมณ์ไม่ได้ ก็ระเบิดใส่ตัวเอง กลายเป็นโรคซึมเศร้ากันหมด แล้วประเทศชาติจะเอาใครไปช่วยพัฒนา
เหตุการณ์แบบนี้ในประเทศไทยและไต้หวัน เรียก “สตรอเบอรี่เจนเนอเรชั่น” … ดูสวยงามแต่เปราะบาง… ไม่ต่างอะไรกับเด็กในประเทศจีน ที่ลูกชายคนเดียวของครอบครัว เลี้ยงตามอกตามใจ ราวกับเทวดา ไร้มารยาท ไร้ความเกรงใจผู้อื่น ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ สุดท้ายกลายเป็นโรคซึมเศร้ากันหมด เวลาเจอเรื่องที่ผิดหวัง
ขอบคุณข่าวจาก : http://thaitribune.org/contents/detail/304?content_id=36503&rand=1569650143
ฮ่องเต้ซินโดรม คืออะไร?
ฮ่องเต้ซินโดรมหรือ Rich Kid Syndrome คือ โรคที่เกิดในเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมที่ได้รับการปกป้องมากจนเกินไปและได้รับการชดเชยด้วยสิ่งของแทนความรักและความเอาใจใส่จากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง ความร่ำรวยของครอบครัวไม่ได้เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ แต่เป็นวิธีการเลี้ยงดูลูกของแต่ละครอบครัวที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดโรคฮ่องเต้ซินโดรม
ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคนี้มักจะแสดงพฤติกรรมของ “เด็กเอาแต่ใจ” ซึ่งเด็กในกลุ่มนี้เชื่อว่าเขามีสิทธิ์ได้รับทุกสิ่งหากเขาต้องการโดยไม่ต้องขออนุญาตก่อน เด็กที่มีภาวะนี้มักจะเป็นเด็กขี้เกียจ มีความอดทนต่ำมาก ไม่ชอบความยุ่งยาก และไม่รู้วิธีจัดการกับตัวเองหากไม่ได้รับสิ่งที่เขาต้องการ พวกเขามีแนวโน้มที่จะแสดงความรุนแรงและแสดงความโกรธเมื่อพวกเขาไม่ได้สิ่งที่ต้องการ
ตามที่ได้กล่าวไว้ว่าภาวะฮ่องเต้ซินโดรมนั้น เกิดจากการเลี้ยงดูเด็กที่ตามใจมากจนเกินไป หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าการเลี้ยงดูในแบบที่ทำอยู่นั้นเสี่ยงให้ลูกเกิดภาวะนี้หรือไม่ อ่านต่อได้ที่หน้า 2 ค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ การเลี้ยงดูแบบใด เสี่ยงลูกเป็นฮ่องเต้ซินโดรม?
การเลี้ยงดูแบบใด เสี่ยงลูกเป็นฮ่องเต้ซินโดรม?
กลุ่มเสี่ยงที่อาจเป็นฮ่องเต้ซินโดรม
- เด็กที่ถูกเลี้ยงโดยผู้ปกครองที่ตอบสนองความต้องการของเด็กตลอดเวลา เพราะเข้าใจว่าการตอบสนองเร็ว คือ ความสุขของลูก
- ผู้ปกครองที่ไม่เคยให้เด็กได้พบกับความผิดหวังใด ๆ เลย
- ผู้ปกครองที่ไม่เคยทำโทษ แม้ว่าเด็กจะทำผิดหรือทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมก็ตาม
ผลกระทบจากภาวะฮ่องเต้ซินโดรม
ในระยะยาว เด็กที่มีภาวะนี้จะประสบกับปัญหาในด้านบุคลิกภาพ ดังนี้
- ขาดความยอมรับนับถือในตนเอง (Low Self-Esteem) เพราะได้สิ่งที่ตนเองต้องการมาได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องพยายามอะไร จึงไม่มีความภูมิใจในตัวเอง
- ไม่รู้จักควบคุมและจัดการอารมณ์ของตัวเอง เมื่อรู้สึกผิดหวัง จะมีอาการเครียด โกรธ โมโห หรืออาจแสดงปฏิกิริยารุนแรงที่อาจรุกล้ำสิทธิของผู้อื่น เพราะไม่คุ้นเคยกับการยอมรับความต้องการของผู้อื่น
- มีความอดทนต่ำ ไม่ชอบความยุ่งยาก ไม่ชอบรอนาน เพราะชินกับการได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วจากพ่อแม่
- ก้าวร้าว เพราะไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง และคิดเพียงว่าความคิดของตนเองถูกต้องเสมอ ขาดความเคารพในตัวผู้อื่นที่คิดเห็นไม่ตรงกับตนเอง
- มีโอกาสที่จะติดสุราและยาเสพติด
- ผลการเรียนไม่ดี เนื่องจากเด็กที่มีภาวะนี้จะไม่มีเป้าหมายในชีวิต
- ไม่ชอบอยู่ในกติกาและข้อจำกัดใด ๆ สนใจแต่ความต้องการของตนเอง ไม่มีความเข้าใจเหตุและผลของสิ่งต่าง ๆ
- เห็นตนเองเป็นจุดศูนย์กลางของสังคม ต้องได้สิ่งที่ต้องการตลอดเวลา
ป้องกันภาวะ ฮ่องเต้ซินโดรม ได้อย่างไร?
ภาวะนี้ การเลี้ยงดูมีความสำคัญเป็นอย่างมาก หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการหลีกเลี่ยงให้ลูกห่างไกลจากภาวะฮ่องเต้ซินโดรม สามารถปฏิบัติตามหลัก 3 ประการต่อไปนี้
- ให้เวลาคุณภาพกับลูก โดยเวลาคุณภาพไม่จำเป็นต้องอยู่กับลูกทั้งวันทั้งคืนนะคะ คุณพ่อคุณแม่สามารถไปทำงานหรือทำสิ่งอื่น ๆ ได้ เพียงแต่ควรจะแบ่งเวลาอยู่กับลูกบ้าง โดยเวลาที่ใช้อยู่กับลูกนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรจะพุ่งความสนใจไปที่ลูกและครอบครัวเท่านั้น ไม่ควรนำเรื่องงาน หรือนำมือถือมาแทรกในช่วงเวลาที่อยู่กับลูก เล่นกับลูก เช่น การช่วยลูกทำการบ้าน หรือทานอาหารเย็นร่วมกันและพูดคุยกัน เป็นต้น
- ใช้กฏเกณฑ์กับลูกบ้าง เด็กทุกคนควรจะได้ทราบถึงกฏเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกันในสังคม รู้ว่าสิ่งไหนทำได้ สิ่งไหนทำไม่ได้ สิ่งเหล่านี้จะสอนให้ลูกรู้ถึงระเบียบวินัย การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม และการเข้าใจเห็นใจผู้อื่น
- ให้รางวัลเมื่อลูกมีความพยายาม ไม่ใช่ให้รางวัลเมื่อลูกทำได้นะคะ รางวัลนี้คุณพ่อคุณแม่จะต้องย้ำกับลูกว่าที่ได้รับรางวัลเพราะลูกมีความพยายามที่จะทำให้มันสำเร็จ ซึ่งต่อให้ทำไม่สำเร็จลูกก็จะได้รับรางวัลนี้อยู่ดี เพราะลูกมีความพยายามและความตั้งใจ สิ่งนี้จะทำให้ลูกเกิดความยอมรับนับถือในตนเองได้นั่นเอง (Self-Esteem) แต่ข้อควรระวังคือ รางวัลที่คุณพ่อคุณแม่จะให้ลูกจะต้องเหมาะสมกับความพยายามและวัยของลูก ไม่ควรให้ของรางวัลที่มากเกินไป
พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนย่อมรักลูก ไม่อยากให้ลูกต้องเสียใจหรือพบเจอกับสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร แต่ต้องอย่าลืมนะคะว่าหากลูกไม่เคยเสียใจเลย เมื่อโตขึ้นลูกจะต้องเจอกับโลกภายนอกที่อาจจะโหดร้ายกับลูกมากกว่าตอนที่อยู่กับพ่อแม่ แล้วลูกจะจัดการกับสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวเองได้อย่างไร เมื่อไม่มีพ่อแม่มาคอยแก้ปัญหาให้แล้ว
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
Self Esteem การเห็นคุณค่าในตนเอง สิ่งสำคัญที่ต้องสร้างให้ลูก
10 ทักษะสอนลูกให้เป็นคนดี มีศีลธรรม!
เดนมาร์กสอนวิชา “ความเห็นใจผู้อื่น” ในชั้นเรียน
เลี้ยงลูกอย่างไร? ให้ลูกมี พัฒนาการด้านอารมณ์ ที่ดี
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, youaremom.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่