AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ยาแก้ไอ สําหรับทารก เลือกแบบไหน อย่างไรให้ลูกดี?

เมื่อลูกมีอาการไอ คุณแม่มักมีความกังวลไม่น้อย ยิ่งไอไม่หยุด ไอทั้งวันทั้งคืน หรือไอแบบมีเสมหะด้วย คุณแม่มักจะรีบหาซื้อ ยาแก้ไอ มาให้ลูกน้อยทันที และ ยาแก้ไอ สําหรับทารก นั้นควรเลือกแบบไหนให้ลูกดี วันนี้ Amarin Baby & Kids มียาบรรเทาอาการไอสำหรับเด็กมาเปรียบเทียบให้คุณแม่ๆ ดูกันค่ะ

อาการไอของลูกน้อย

 

มีคนจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดคิดว่าอาการไอนั้นเป็นโรค พยายามหายารักษา เพื่อไม่ให้เกิดอาการไอ ซึ่งการทำเช่นนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยาที่มีคุณสมบัติกดอาการไอหรือทำให้หยุดไอในทันทีทันใด อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ความจริงแล้วอาการไอเป็นเพียงอาการแสดงอย่างหนึ่งเท่านั้นไม่ใช่เป็นโรค เป็นอาการที่บอกว่ามีสิ่งผิดปรกติเกิดขึ้นภายในระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมหรืออะไรเข้าไปทำให้เกิดอาการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจตั้งแต่ภายในบริเวณคอ หลอดลม หรือลึกลงไปจนถึงกิ่งแขนงของหลอดลม ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาป้องกันตัวเองโดยการไอเพื่อขับเอาสิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองนั้นออกมา

อาการไอจึงเป็นอาการตอบสนองของร่างกายคนเราที่มีประโยชน์ เพราะถ้าเราไม่เกิดอาการไอ สิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นก็จะคั่งค้างสะสมไว้ภายในระบบทางเดินลมหายใจหรือในปอดทำให้เกิดปัญหา เช่น ปอดบวม หรือปอดอักเสบตามมาได้ ดังนั้นเมื่อตัวเราหรือลูกเกิดอาการไอก็ควรหาสาเหตุ แล้วแก้ไขต้นเหตุนั้นจะดีกว่าการซื้อยาแก้ไอมาทานทุกครั้งไปโดยไม่ทราบสาเหตุ เพราะอาจจะเป็นอันตรายมากกว่าจะเป็นผลดีดังที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งโดยมากแล้วอาการไอในเด็กมักเกิดจากลูกเป็นหวัดแล้วน้ำมูกไหลลงไประคายคอหรือเกิดจากคอหรือต่อมทอนซิลอักเสบ พออาการหวัด น้ำมูกไหลหายหรืออาการอักเสบดีขึ้น อาการไอก็จะหายไปเอง ทั้งนี้คุณแม่ต้องสังเกตอาการดี ๆ จะรู้ได้ถึงสาเหตุของอาการไอในแต่ละแบบ เพื่อให้คุณแม่รู้ทันอาการไอ และสามารถเลือกหาซื้อยาแก้ไอมารักษาลูกน้อยได้ โดยเบื้องต้นมาดูข้อมูลต่อไปนี้ค่ะ

ไอจากไข้หวัด

หมายถึงอาการไอที่เกิดหลังจากหวัด มาจากการติดเชื้อไวรัสในอากาศ ฉะนั้น ถ้าลูกน้อยเป็นหวัด อาจทำให้ลูกมีไข้ น้ำมูกไหล กระตุ้นให้เกิดอาการไอ ระคายคอได้ ส่วนใหญ่เมื่ออาการหวัดของลูกหายไป (ภายใน 2-3 สัปดาห์) อาการไอก็จะหายไปด้วย

♦ ไอแบบมีเสมหะ

เกิดจากหลอดลมอักเสบและมีอาการติดเชื้อ เป็นอาการไอที่พบเห็นได้บ่อยๆ เพราะเด็กที่เป็นหวัดมักจะไอ เช่นนี้

♦ ไอเสียงก้อง

อาจหมายถึงการอักเสบที่ท่อลมขนาดใหญ่

♦ ไอคล้ายเสียงหมาเห่า

ดูน่ากลัวใช่มั้ยคะ แต่ถ้าลูกคุณไอลักษณะเช่นนี้ อาจเป็นอาการของโรคครูป ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการติดเชื้อของทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบและบวมของกล่องเสียงและหลอดลมโดยเฉพาะที่ตำแหน่งใต้ต่อมกล่องเสียง เป็นสาเหตุของภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนแบบเฉียบพลัน ที่พบบ่อยในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 6 ปี

♦ ไอต่อเนื่องเป็นชุดๆ มีอาการเป็นช่วงๆ

เด็กอาจสำลักสิ่งแปลกปลอม ติดเชื้อคลาไมเดีย หรือเชื้อไอกรนก็ได้

♦ ไอมากกลางคืน

โรคที่มีโอกาสเป็นไปได้ หากลูกคุณมีอาการไอเช่นนี้ อาทิ ไซนัสอักเสบ หรือไอเพราะโรคหอบหืด

♦ ไอมากตอนเช้า

เด็กที่มีอาการไอในช่วงเวลาเช้าอาจเป็นโรคหลอดลมโปงพองค่ะ

♦ ไอหลังจากเล่นหรือออกแรงมากเป็นประจำ

เป็นอาการไอจากภาวะหลอดลมมีภูมิไวเกิน (ภูมิแพ้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ)

♦ ไอเบา ๆ / ไอระคายคอ

อาจเกิดขึ้นได้จากความซุกซน นึกสนุก ทำเสียงดัง ๆ ตะโกนเก่ง ๆ ของเจ้าตัวเล็ก หรืออาจเป็นการไอของลูกน้อย ที่เลียนแบบผู้ใหญ่ที่ได้ยินเสียงไอบ่อย ๆ ก็มีสิทธิ์ทำให้เกิดอาการไอ ระคายคอได้ง่าย ๆ เช่นกันนะคะ

นี่เป็นเพียงการสังเกตอาการเบื้องต้นของเด็ก ถ้าลูกของคุณมีอาการดังกล่าว และคุณเฉลียวใจพาไปพบแพทย์ แพทย์จะสอบถามประวัติของเด็ก การเลี้ยงดู และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อย่างละเอียดอีกครั้ง จากนั้นจึงให้ยาที่ถูกต้องกับโรคมารับประทาน สังเกตอาการของเจ้าตัวน้อยกันสักนิด แล้วคุณจะไม่เสียใจในภายหลังนะคะ

อ่านต่อ >> การเลือกยาแก้ไอ สําหรับทารก” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

การเลือกยาแก้ไอ สําหรับทารก 

ยาแก้ไอที่คุณพ่อคุณแม่มักพบได้ในท้องตลาดจะมีทั้งชนิดน้ำ เม็ด ยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ ยาสามัญประจำบ้าน และยาอันตราย นอกจากนี้ยังมีพวกลูกอมแก้ไอ ช่วยให้ชุ่มคอโล่งคอ ทั้งนี้การดูแลเบื้องต้นเมื่อลูกไอ แบ่งตามอาการและรูปแบบการไอ ได้ดังนี้

คุณพ่อคุณแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ยาแก้ไอให้ถูกกับลักษณะการไอของเด็ก เพราะหากใช้ผิดก็อาจทำให้อาการของลูกน้อยกำเริบขึ้นได้มากกว่าเดิม ทั้งนี้การใช้ยาชนิดน้ำ ต้องใช้ช้อนตวง ห้ามกรอกใส่ปากโดยกะปริมาณเอาเองเด็ดขาดเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายจากการกินยาเกินขนาดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นยาแก้ไอที่มีตัวยาอื่นๆ ผสมอยู่หลายตัว ช้อนตวงในที่นี้ควรใช้ช้อนที่ติดมากับขวดยาจะได้ขนาดที่แน่นอนกว่าช้อนชาหรือช้อนโต๊ะที่ใช้ตามบ้าน ศัพท์อีกคำหนึ่งที่เรามักจะพบสำหรับการรับประทานยาแก้ไอ คือ คำว่าใช้ “จิบ” (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง ดื่มทีละนิด) เมื่อมีอาการไอ ควรใช้ยาแก้ไอที่ไม่เข้าข่ายยาอันตราย เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ ยาแก้ไอน้ำเชื่อม ใช้จิบรับประทานได้เมื่อรู้สึกคันคออยากไอ และควรใช้กับผู้ใหญ่เท่านั้น ไม่ควรใช้กับเด็กเล็ก

และยาแก้ไอที่นับว่าวิเศษมากอีกตัวหนึ่งเป็นยาแก้ไอที่ราคาถูกที่สุดในโลก และหาได้ง่ายในที่ทุกแห่ง ซึ่งพวกเราหลายคนอาจนึกไม่ถึง นั่นก็คือ น้ำสะอาด ที่เราใช้ดื่มกันทุกวันนี่เอง น้ำอุ่นๆ นี่แหละจะช่วยระงับการไอ และช่วยละลายเสมหะที่ข้นเหนียวให้ใสขึ้น และถูกขับออกได้ง่าย การดื่มน้ำอุ่นมากๆ บ่อยๆ เวลามีอาการไอจะช่วยรักษาอาการไอได้มาก

อ่านต่อ >> “เทียบตัวยาสำคัญ ในยาบรรเทาอาการไอ สำหรับเด็ก แต่ละยี่ห้อ” คลิกหน้า 3


อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

สรรพคุณทั่วไปของยาแก้ไอ มีดังนี้

– บรรเทาอาการไอ ทำให้ชุ่มคอ ช่วยละลายเสมหะ และขับเสมหะ สำหรับผู้ป่วยที่ไอแบบมีเสมหะ
– บรรเทาอาการไอ และทำให้ชุ่มคอ สำหรับผู้ป่วยที่ไอแบบไม่มีเสมหะ จากสาเหตุต่างๆ เช่น หลอดลมอักเสบ ไอจากโรคหวัด ไอจากวัณโรค เป็นต้น

ความจริงแล้ว การรักษาอาการไอที่ดีและถูกต้องที่สุดคือการรักษาที่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการไอ ส่วนยาแก้ไอนั้นเป็นเพียงช่วยบรรเทาอาการ ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุ เวลาจะใช้ยาก็ควรใช้ด้วยความระมัดระวังและเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และที่สำคัญที่สุด ไม่ควรใช้ยาที่มีฤทธิ์กดอาการไอ ได้แก่ DEXTROMETROPHAN, CODEINE โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก และในรายที่ไอแบบมีเสมหะ เพราะจะทำให้เสมหะไม่สามารถถูกขับออกมา เกิดคั่งค้างอยู่ในระบบทางเดินระบบหายใจ หรือในปอดเกิดโรคแทรกซ้อนเป็นอันตรายขึ้นมาภายหลังได้ ทางที่ดีจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะใช้ยาแก้ไอประเภทนี้

ทั้งนี้ Amarin Baby & Kids จึงแนะนำ ยาแก้ไอ สําหรับเด็ก แต่ละยี่ห้อ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้เลือกพิจารณาให้ลูกทาน เพื่อรักษาและบรรเทาอาการป่วยกันค่ะ

ยาบรรเทาอาการไอ สำหรับเด็ก

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

♠ เช็กรายละเอียดข้างกล่องยาแก้ไอทั้งหมด คลิก!

อ่านต่อ เทียบ >> ยาน้ำลดไข้ ของเด็ก แต่ละยี่ห้อแตกต่างกันอย่างไร พ่อแม่ควรรู้!

Summary
Review Date
Reviewed Item
ยาแก้ไอเด็ก ยาแก้ไอ สำหรับทารก รีวิวยาแก้ไอเด็ก
Author Rating
4