ฝึกความรับผิดชอบ ให้ลูก รับผิดชอบเองได้ …เพราะเด็กวัย 6-11 ขวบ เริ่มมีความขี้เกียจแฝงอยู่ในตัว เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่สร้างความท้อใจและกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อพ่อแม่บอกให้ทำอะไร แต่กลับไม่ได้รับการตอบสนองจากลูก ลูกขาดความสนใจในงานที่ต้องทำ และต้องกระตุ้นย้ำหลายครั้ง
“ทำไมแม่ไม่ปลุกผม ดูซิสายแล้วเนี่ย”
“แม่อ่ะ หนูจะนอน มาปลุกหนูทำไมเนี่ยยยย”
“โอ๊ย แม่ขา แม่ไม่ได้แต่งชุดเนตรนารีให้หนูนี่นา”
“นี่ใครมาหยิบกล่องดินสอหนูไป หนูวางอยู่ตรงนี้นี่”
“หา…นี่แม่ไม่ได้เอาหนังสือสังคมใส่กระเป๋ามาให้ผมเหรอ”
ประโยคข้างต้นเป็นเพียงเหตุการณ์สมมติ ที่หมอเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเริ่มโต น่าจะเคยได้ยินลูกพูดมาบ้าง ฟังดูเผิน ๆ ก็เหมือนไม่มีอะไร เด็ก ๆ ก็พูดไพเราะดี แต่ถ้าอ่านดี ๆ ในทุกประโยคนั้นดูเหมือนจะแฝงไปด้วยการโทษคนอื่น ซึ่งในที่นี้ก็คือพ่อแม่ค่ะ คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านอาจไม่ถือโทษโกรธลูก เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่หมอกลับคิดว่าความจริงแล้วนี่เป็นเรื่องที่สำคัญนะคะ เพราะอาจกลายเป็นว่าเรากำลังปล่อยให้ลูกใช้วิธีโทษคนอื่น ทั้งที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องส่วนตัวที่ควรจะอยู่ในความรับผิดชอบของเขาเอง
การ ฝึกความรับผิดชอบ ให้ลูก
การฝึกลูกให้เป็นคนมีความรับผิดชอบอาจทำได้ โดยมอบหมายหน้าที่ที่เหมาะสมกับวัยให้ลูกทำ เช่น ให้รับผิดชอบหน้าที่กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างห้องน้ำ ล้างจาน ช่วยงานแม่ในครัว หรือช่วยงานพ่อในสนาม เช่น ช่วยตัดหญ้า รดน้ำต้นไม้ ปลูกต้นไม้ ดูแลความสะอาดบริเวณบ้าน นอกจากรับผิดชอบงานส่วนรวมของบ้านแล้ว งานส่วนตัวก็ต้องสอนให้รับผิดชอบ ไม่ให้เป็นภาระแก่คนอื่น เช่นการดูแลเรื่องเสื้อผ้าของตนเอง เป็นต้น พ่อแม่ต้องฝึกลูกให้เป็นคนตรงต่อเวลา ให้เป็นคนมีระเบียบวินัย ในการกิน การเล่น ดูหนังสือ และนอนให้เป็นเวลา เพื่อลูกจะได้รู้จักบริหารเวลาเป็น ทำงานเป็น นิสัยตรงต่อเวลาจะได้เกิดขึ้นกับลูก
Must read : โรคไม่รู้จักลำบาก โรคใหม่ของเด็กไทยในยุคปัจจุบัน
Must read : เลี้ยงลูกไม่ให้สบายเกินไปป้องกันโรคไม่รู้จักลำบาก
เมื่อมอบหมายหน้าที่ให้ลูกรับผิดชอบแล้ว พ่อแม่ต้องคอยสอดส่องดูแล สอนลูกให้ตระหนักในหน้าที่ของตัวเอง ถ้าลูกปล่อยปละละเลยก็ต้องตักเตือน หรือบางครั้งอาจต้องลงโทษ แต่ถ้าลูกรับผิดชอบในหน้าที่การงานได้ไม่บกพร่องเลย พ่อแม่ก็ควรชมเชยหรือให้รางวัลด้วย เพื่อเป็นกำลังใจในการทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
Must read : เด็กทำความผิด ใครมีหน้าที่รับผิดชอบ?
นอกจากนั้นยังต้องฝึกลูกให้เป็นคนมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่น ไม่นิ่งดูดาย แม้ว่างานนั้นจะไม่ใช่หน้าที่ของตน เมื่อลูกว่างหรือทำงานในหน้าที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่คนอื่นยังทำไม่เสร็จหรือลูกเห็นพ่อแม่ยังทำงานอยู่ ต้องฝึกลูกให้มีน้ำใจเข้าไปช่วยเหลือ ต้องสอนลูกเสมอว่า การมีน้ำใจต่อผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดี ควรทำ เพราะเมื่อเรามีใจต่อผู้อื่น เราก็จะได้น้ำใจเป็นเครื่องตอบแทน เมื่อเราช่วยเหลือผู้อื่น ถึงคราวผู้อื่นก็จะช่วยเหลือเราแน่นอน จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ต้องฝึกลูกให้มีน้ำใจต่อส่วนรวม โดยสนับสนุนลูกให้เข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนกับหมู่คณะ เพราะคนเรานั้น ถึงจะเก่งแสนเก่งเพียงไร แต่ถ้าขาดคนรอบข้างสนับสนุน ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต
Must read : วิธีเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กมีน้ำใจ รู้จักให้ และเสียสละ
อ่านต่อ >> “เทคนิคจากหมอ 3 วิธีฝึกให้ลูกรับผิดชอบเองได้” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การไม่ปล่อยให้ลูกทำงานด้วยตัวเองให้สำเร็จลุล่วงไป จะเป็นการทำงานความมั่นใจของลูก ทำให้ลูกไม่กล้าที่จะทำงานต่าง ๆ ด้วยตัวเองตามลำพังคนเดียว เพราะคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถที่จะทำได้ ดังนั้นเมื่อเห็นลูกทำอะไรชักช้าไม่ทันใจ อย่าตัดความรำคาญด้วยการรีบทำแทนลูกทันที หรือช่วยเหลือลูกทุกอย่างเพราะกลัวลูกจะลำบากนะคะ ต้องใจเย็น ๆ ปล่อยให้ลูกทำเองจะดีกว่า เก็บความอยากช่วยงานลูกไว้ก่อน ถ้าลูกจัดการงานนั้นได้เสร็จเรียบร้อย เป็นแม่เองที่อาจอยากจะช่วยทำแทนลูกน้อยลงเรื่อย ๆ ในอนาคตได้ค่ะ
จะทำอย่างไรให้เหมาะสมดี หมอขอเสนอแนะดังนี้
1. เมื่อลูกเริ่มโต ค่อยๆปล่อยเรื่องส่วนตัวให้ลูกรับผิดชอบเอง เช่น เด็กประถมก็ควรจะได้หัดจัดตารางสอนด้วยตัวเองโดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะเพียงช่วยเตือนให้ลูกทำหรือช่วยตรวจสอบซ้ำเมื่อลูกจัดเสร็จแน่นอนว่าเมื่อต้องลุกขึ้นมาทำใหม่ๆเด็กๆอาจมีอิดออดไม่อยากทำเองบ้างแต่เมื่อเขาทำได้สำเร็จ (โดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยแสดงความชื่นชมที่เขาสามารถรับผิดชอบตัวเองได้) เขาจะรู้สึกดี และค่อยๆพัฒนาไปเป็นความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองค่ะ
2. บางครั้งอาจต้องหาตัวช่วยให้ลูก ที่ไม่ใช่ “คุณพ่อคุณแม่” ยกตัวอย่าง ปัญหาของลูกวัยอนุบาลถึงประถมที่พ่อแม่มักเจอกันบ่อยคือเรื่องการตื่นนอนไปโรงเรียนปลุกเร็วไปลูกก็จะโวยวายว่ายังง่วงอยู่ ปลุกช้าไปก็โวยวายว่าไปรร.ไม่ทัน ตัวช่วยในกรณีนี้ ได้แก่ นาฬิกาปลุก ค่ะ ข้อนี้หมอประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นด้วยตัวเองเลยค่ะ พาลูกไปซื้อนาฬิกาปลุก ให้เขาเลือกเอง (ยิ่งเป็นแบบที่เสียงปลุกเพราะๆจะดีมาก) ทุกคืนก็เพียงเตือนให้ลูกเปิดนาฬิกา ส่วนตอนเช้าก็แค่สังเกตการณ์ แม้ว่าลูกจะยังมีอิดออดบ้างเวลานาฬิกาปลุกดัง แต่อย่างน้อย เขาก็ไม่โทษแม่ว่าเป็นสาเหตุในการตื่นเช้าหรือตื่นสายของเขาอีกเลยค่ะ (อาจจะมีแอบโทษนาฬิกาปลุกบ้างในช่วงแรกๆ)
Must read : เทคนิคการปลุกลูกให้ตื่นนอนแต่เช้าอย่างมีความสุข
3. สอนลูกด้วยการทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดี ว่าเมื่อมีเหตุการณ์ที่ผิดพลาด บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องหาคนผิด หรือโทษใครเสมอไปแต่อาจจะดีกว่าถ้าเราจะแค่หาวิธีแก้ไขที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคตอีกค่ะ
Must read : 4 สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ เพื่อลูกมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (ในแบบของเขา)
ทั้งนี้หากฝึกฝนบ่อย ๆ เด็กจะชิน เริ่มมีวินัยและความรับผิดชอบตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อให้ท้ายที่สุดแล้ว เด็กๆของเราจะได้ค่อยๆเรียนรู้ด้วยตัวเองว่า คนทุกคนมีหน้าที่ และ ความรับผิดชอบ และมันเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจมากๆเลย หากเราจะสามารถดูแลรับผิดชอบชีวิตของเราเองได้มากขึ้นเรื่อย โดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยสนับสนุนและให้กำลังใจอยู่เสมอค่ะ
Mom should know : คุณพ่อคุณแม่สามารถหยิบจับ นำธรรมะมาเป็นเครื่องมือสอนลูกได้ เพราะธรรมะจะช่วยสร้างปัญญา พัฒนาจิตใจให้กับลูก เป็นแนวทางที่ช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องความรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเอง ทั้งทางกาย วาจา และใจ เพราะลูกรู้ว่าสิ่งที่กระทำเป็นเรื่องดีหรือสิ่งผิด เช่น โกหก การหยิบสิ่งของผู้อื่น หรือให้ร้ายผู้อื่น เป็นเรื่องไม่ดีค่ะ
Must read : สอนลูกให้เป็นคนดี มีจริยธรรมตั้งแต่แรกเกิด
Must read : 3 หัวใจหลัก เลี้ยงลูกด้วยธรรมะ เสริมภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต
การมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบใดก็ตาม ควรดูความเหมาะสมของวัยและความสามารถ (ยืดหยุ่น) ด้วยค่ะ เช่น เด็กเล็กควรเริ่มจากเรื่องง่าย ๆ ไม่ซับซ้อนเกินความสามารถ ถ้าเด็กโตอาจเพิ่มความรับผิดชอบมากขึ้น และเมื่อลูกเรียนรู้ ปฏิบัติได้จริง คุณควรก็เป็นผู้ส่งเสริมเติมกำลังใจ ด้วยคำชมกับลูก ที่สำคัญพ่อแม่ยังต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของลูกเสมอ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- [Blogger พ่อเอก-55] สอนให้รู้จักรับผิดชอบต่อส่วนรวม
- 5 เทคนิค ฝึกระเบียบให้ลูก แบบครอบครัวญี่ปุ่น
- ฝึก “วินัย” ลูก ให้ความสามารถนำทางชีวิตด้วยตัวเอง
- 12 เทคนิค สร้างลูกดี มีวินัย
ขอบคุณบทความจาก : พญ.พรพิมล นาคพงศ์พันธุ์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ เจ้าของเพจ “เลี้ยงลูกให้เป็นคนปกติ” และ www.dmc.tv