REM Sleep เป็นหนึ่งในวงจร การนอนของทารก ที่มีส่วนทำให้ร่างกายของทารกไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับระยะของการนอนหลับจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคุณแม่ เพื่อให้ร่างกายของลูกเจริญเติบโตได้ดี
REM Sleep ช่วง “การนอนของทารก” ที่ทำให้ลูกโตช้า
วงจร การนอนของทารก เป็นอย่างไร?
อย่างที่ทราบกันดีว่าการนอน เป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของมนุษย์ทุกคน เพราะเป็นการพักผ่อนร่างกายที่ดีที่สุด และมีผลอย่างมากต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวัน การนอนของทารก ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน เพื่อให้ร่างกายได้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการตามวัย ในเด็กวัยแรกเกิด – 1 ปี ควรนอนวันละ 12-17 ชั่วโมงต่อวัน แต่การนอนนาน ๆ นั้น ไม่ได้หมายความว่าลูกจะนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ แต่การนอนหลับให้สนิทต่างหาก ที่จะช่วยให้ร่างกายลูกหลั่งสาร Growth Hormone ฮอร์โมนที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรทำความเข้าใจถึงวงจร การนอนของทารก เพื่อสังเกตและแก้ไขให้ลูกได้หลับลึกได้นานขึ้น ดังนี้
ทำความเข้าใจช่วงการหลับ REM และ Non-REM
NON REM (Non Rapid Eyes Movement)
เป็นช่วงของการนอนตั้งแต่เริ่มหลับ โดยเป็นช่วงหลับตื้นไปจนถึงหลับลึก ช่วงการหลับแบบ NON REM แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 : เป็นช่วงเวลา 5-10 นาทีหลังจากเริ่มหลับ ในระยะนี้สมองจะเริ่มทำงานช้าลง ถ้าถูกปลุกตอนนี้ จะรู้สึกเหมือนว่ายังไม่ได้นอน
- ระยะที่ 2 : เป็นช่วงรอยต่อระหว่างการเริ่มหลับไปยังหลับลึก คลื่นสมองจะทำงานเร็วขึ้นมาก หัวใจจะเริ่มเต้นช้าลง อุณหภูมิในร่างกายจะเริ่มลดลงเล็กน้อย โดยช่วงนี้จะใช้เวลาประมาณ 20 นาที ในช่วงนี้สมองส่วนที่มีหน้าที่เกี่ยวกับความทรงจำ, ความสนใจ, การรับรู้ต่าง ๆ, ความคิด, ภาษา, และสติ จะทำงาน ดังนั้นการนอนสั้น ๆ เพียง 30 – 40 นาที ก็เพียงพอที่จะทำให้ร่างกายกระตุ้นการทำงานของสมองในส่วนของการเก็บข้อมูลเข้าความทรงจำระยะสั้น เพิ่มสมาธิ และยังทำให้ตื่นมาไม่งัวเงียมากนัก
- และระยะที่ 3 : การหลับลึก ในช่วงนี้เองที่ร่างกายจะตอบสนองกับสิ่งรบกวนภายนอกน้อยลงมาก ถ้าเราถูกปลุกช่วงนี้เราจะรู้สึกงัวเงียมากที่สุด ร่างกายจะอยู่ในสภาวะพักผ่อนมากที่สุดในช่วงนี้ การหลั่ง Growth Hormone เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย จะเกิดขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้
REM (Rapid Eyes Movement)
คือการนอนหลับช่วงที่ตาจะเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้สมองของเราจะทำงานใกล้เคียงกับตอนที่เราตื่น จึงทำให้ช่วงนี้เป็นช่วงที่คนเราจะฝันมากกว่าการนอนหลับช่วงอื่น ๆ วิธีสังเกตว่าลูกกำลังอยู่ในการนอนหลับช่วง REM นั้น มีดังนี้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ นอนเท่าไรถึงจะพอ ทำอย่างไรให้ลูกนอนแบบ Non REM ได้มากที่สุด
นอนเท่าไรถึงจะพอ? ทำความเข้าใจ การนอนของทารก
การนอนที่เพียงพอ ไม่ได้ดูที่จำนวนชั่วโมงในการนอนเพียงอย่างเดียว การนอนให้เพียงพอคือการนอนจนรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาเอง และสามารถอยู่ได้จนไม่เพลียตลอดทั้งวัน ควรให้ลูกนอนในช่วงการหลับแบบ REM Sleep ให้ได้น้อยที่สุดอีกด้วย โดยเปอร์เซ็นต์การนอนแบบ REM Sleep ได้แบ่งตามอายุ ดังนี้
- 1-15 วัน การนอนแบบ REM Sleep อยู่ที่ประมาณ 50%
- 3-5 เดือน การนอนแบบ REM Sleep อยู่ที่ประมาณ 40%
- 6 เดือน – 2 ขวบ การนอนแบบ REM Sleep อยู่ที่ประมาณ 30%
- 2-3 ขวบ การนอนแบบ REM Sleep อยู่ที่ประมาณ 25%
- 3-5 ขวบ การนอนแบบ REM Sleep อยู่ที่ประมาณ 20%
- 5-13 ขวบ การนอนแบบ REM Sleep อยู่ที่ประมาณ 18%
ทำอย่างไรให้ลูกนอนแบบ Non REM ได้มากที่สุด
การนอนแบบ Non REM เป็นการหลับสนิท หลับลึก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจทำให้ลูกหลับไม่สนิท ดังนี้
- ทำให้ห้องมืดที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
- ลดความเครียดให้น้อยที่สุด หลีกเลี่ยงการเล่นที่ตื่นเต้นในช่วงก่อนนอน
- ลดเสียงรบกวนต่าง ๆ
- ไม่ควรใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิคที่มีความถี่สูงก่อนนอน เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรือ Smartphone เนื่องจากความถี่สูงจากการเห็นจะกระตุ้นสมองให้ตื่นตัว 30 นาที ก่อนที่จะนอน
- การนั่งสมาธิก่อนนอนจะช่วยให้สมองผ่อนคลายได้
- ควรสวมเสื้อผ้าและผ้าอ้อมที่สบายตัวตอนนอน
- สำหรับทารก ใช้ผ้าห่อตัวลูกเพื่อให้ลูกรู้สึกปลอดภัย
เมื่อลูกได้หลับสนิท นอนสบาย ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ ก็จะช่วยให้ร่างกายหลั่ง Growth Hormone ฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตได้มากขึ้นค่ะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
คัมภีร์นอนหลับ สร้างอัจฉริยะให้ลูกน้อย
พ่อแชร์เทคนิคดี๊..ดี ฝึกลูกนอนเอง นอนยาว แบบ “Cry it out”
ฝึกลูกนอน (เร็วและเป็นเวลา) จำเป็นไหม? พร้อมวิธีฝึกลูกให้หลับเร็ว
รวม 25 วิธีเด็ด ช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับง่าย สบาย และนานขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.bangkokhealth.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่