REM Sleep ช่วง "การนอนของทารก" ที่ทำให้ลูกโตช้า - Amarin Baby & Kids
การนอนของทารก

REM Sleep ช่วง “การนอนของทารก” ที่ทำให้ลูกโตช้า

Alternative Textaccount_circle
event
การนอนของทารก
การนอนของทารก

REM Sleep เป็นหนึ่งในวงจร การนอนของทารก ที่มีส่วนทำให้ร่างกายของทารกไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับระยะของการนอนหลับจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคุณแม่ เพื่อให้ร่างกายของลูกเจริญเติบโตได้ดี

REM Sleep ช่วง “การนอนของทารก” ที่ทำให้ลูกโตช้า

วงจร การนอนของทารก เป็นอย่างไร?

อย่างที่ทราบกันดีว่าการนอน เป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของมนุษย์ทุกคน เพราะเป็นการพักผ่อนร่างกายที่ดีที่สุด และมีผลอย่างมากต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวัน การนอนของทารก ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน เพื่อให้ร่างกายได้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการตามวัย ในเด็กวัยแรกเกิด – 1 ปี ควรนอนวันละ 12-17 ชั่วโมงต่อวัน แต่การนอนนาน ๆ นั้น ไม่ได้หมายความว่าลูกจะนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ แต่การนอนหลับให้สนิทต่างหาก ที่จะช่วยให้ร่างกายลูกหลั่งสาร Growth Hormone ฮอร์โมนที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรทำความเข้าใจถึงวงจร การนอนของทารก เพื่อสังเกตและแก้ไขให้ลูกได้หลับลึกได้นานขึ้น ดังนี้

ทำความเข้าใจช่วงการหลับ REM และ Non-REM

NON REM (Non Rapid Eyes Movement)

เป็นช่วงของการนอนตั้งแต่เริ่มหลับ โดยเป็นช่วงหลับตื้นไปจนถึงหลับลึก ช่วงการหลับแบบ NON REM แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1 : เป็นช่วงเวลา 5-10 นาทีหลังจากเริ่มหลับ ในระยะนี้สมองจะเริ่มทำงานช้าลง ถ้าถูกปลุกตอนนี้ จะรู้สึกเหมือนว่ายังไม่ได้นอน
  • ระยะที่ 2 : เป็นช่วงรอยต่อระหว่างการเริ่มหลับไปยังหลับลึก คลื่นสมองจะทำงานเร็วขึ้นมาก หัวใจจะเริ่มเต้นช้าลง อุณหภูมิในร่างกายจะเริ่มลดลงเล็กน้อย โดยช่วงนี้จะใช้เวลาประมาณ 20 นาที ในช่วงนี้สมองส่วนที่มีหน้าที่เกี่ยวกับความทรงจำ, ความสนใจ, การรับรู้ต่าง ๆ, ความคิด, ภาษา, และสติ จะทำงาน ดังนั้นการนอนสั้น ๆ เพียง 30 – 40 นาที ก็เพียงพอที่จะทำให้ร่างกายกระตุ้นการทำงานของสมองในส่วนของการเก็บข้อมูลเข้าความทรงจำระยะสั้น เพิ่มสมาธิ และยังทำให้ตื่นมาไม่งัวเงียมากนัก
  • และระยะที่ 3 : การหลับลึก ในช่วงนี้เองที่ร่างกายจะตอบสนองกับสิ่งรบกวนภายนอกน้อยลงมาก ถ้าเราถูกปลุกช่วงนี้เราจะรู้สึกงัวเงียมากที่สุด ร่างกายจะอยู่ในสภาวะพักผ่อนมากที่สุดในช่วงนี้ การหลั่ง Growth Hormone เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย จะเกิดขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้
REM
ขอบคุณภาพจาก : http://www.world-of-lucid-dreaming.com/the-stages-of-sleep.html

REM (Rapid Eyes Movement)

คือการนอนหลับช่วงที่ตาจะเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้สมองของเราจะทำงานใกล้เคียงกับตอนที่เราตื่น จึงทำให้ช่วงนี้เป็นช่วงที่คนเราจะฝันมากกว่าการนอนหลับช่วงอื่น ๆ วิธีสังเกตว่าลูกกำลังอยู่ในการนอนหลับช่วง REM นั้น มีดังนี้

  • ดิ้นหรือขยับตัวไปมา
  • ฝันร้าย
  • ตาจะเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็ว
  • หายใจแรง
  • นิ่วหน้านิ่วตา มุ่ยปาก ขมวดคิ้ว

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ นอนเท่าไรถึงจะพอ ทำอย่างไรให้ลูกนอนแบบ Non REM ได้มากที่สุด

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up