AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

รวม 84 พฤติกรรม “ทำร้ายจิตใจลูก” สร้างบาดแผลในใจให้ลูกไปจนโต

การเอาใจใส่ลูกมากเกินไป การปล่อยปละละเลยลูก การคาดหวังมากเกินไป การลงโทษที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น “ยาพิษ” ที่ ทำร้ายจิตใจลูก ทำลายการเติบโตที่ดีงามของลูกทีละน้อย

การเลี้ยงลูกต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะพฤติกรรมบางอย่างของคุณพ่อคุณแม่อาจทำร้ายลูก ๆ โดยไม่รู้ตัว  บางทีพ่อแม่อาจไม่รู้ตัวหรอกว่าสิ่งที่พูด สิ่งที่ทำ หรือแสดงออกต่อลูกนั้น กลายเป็นพฤติกรรมทำร้ายจิตใจ เมื่อเกิดขึ้นบ่อยครั้งก็ส่งผลต่อบุคลิกภาพของลูกน้อย

“พ่อแม่เป็นพิษ” (Toxic Parents) คือ พฤติกรรมหรือการกระทำบางสิ่งบางอย่างที่พ่อแม่ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า (บางครั้งก็ผิดธรรมชาติ) จนก่อให้เกิดบาดแผลในใจของลูก และบาดแผลนั้นก็ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเขาตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงเติบโตเป็นผู้ใหญ่

พ่อแม่อาจคิดว่าลูกยังเด็ก คงไม่รับรู้เรื่องราวอะไรมากนัก แต่รู้ไหมว่าเด็กสามารถก็รับรู้และมีความรู้สึกได้ตั้งแต่ยังเป็นทารกน้อยๆ เลยทีเดียว และเมื่อเขาโตขึ้นพฤติกรรมบางอย่างที่พ่อแม่ทำก็อาจกระทบต่อจิตใจของเขามากขึ้นเช่นกัน และแน่นอนว่ามันคงไม่ดีต่อตัวลูกมากนัก

รวม 84 พฤติกรรม ทำร้ายจิตใจลูก สร้างบาดแผลในใจให้ลูกไปจนโต

ดังนั้นเรามาเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจเป็นการทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัวกันดีกว่า เพื่อให้การเลี้ยงลูกเป็นไปอย่างมีคุณภาพและช่วยหล่อหลอมให้เขาเป็นคนดีในวันหน้า ซึ่งจะมีพฤติกรรมใดบ้างนั้นที่เรียกว่าเป็นการทำลาย ทำร้ายจิตใจลูก มาดูกันเลยค่ะ

1. ทอดทิ้งลูก
2. ก้าวร้าวรุนแรงตลอดเวลา
3. ทรยศลูก
4. แบล็กเมล์ลูก
5. ตำหนิลูกอย่างไม่มีเหตุผล
6. หักหลังความไว้เนื้อเชื่อใจลูก
7. ติดสินบนลูก
8. เอาลูกไปเปรียบเทียบกับคนอื่นตลอดเวลา (รวมถึงพี่น้องของลูกด้วย)
9. ควบคุมลูก
10. ช่างวิจารณ์สิ่งที่ลูกทำ

อ่านต่อ “รวมพฤติกรรมทำร้ายจิตใจลูก ที่พ่อแม่ต้องหลีกเลี่ยง” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

11. ทารุณกรรมลูกทั้งทางใจและทางกาย
12. ช่างสั่ง
13. ไม่ยอมรับความผิดของตน
14. มีพฤติกรรมที่ทำให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า
15. เผด็จการ ไม่รับฟังความคิดเห็นของลูก
16. แสดงออกซึ่งความผิดหวังในตัวของลูก
17. ไม่เห็นด้วยสิ่งที่ลูกทำในทุก ๆ ทาง
18. ไม่ยอมรับว่าลูกเป็นลูกของตน
19. มีความผิดปกติทางจิตใจ
20. ต้องเป็นผู้ชนะตลอดเวลา
21. มักทำร้ายจิตใจของลูก
22. ครอบงำลูก
23. อิจฉาลูก
24. เชิดชูลูกมากเกินไป
25. บังคับลูก
26. ไม่เชื่อในคำพูดของลูกจนทำให้ลูกเกิดความสับสนในใจ
27. ทำให้ลูกรู้สึกผิดอยู่ตลอด
28. อาฆาตแค้น
29. ใช้ลูกเป็นที่ระบายอารมณ์
30. ล้อเลียนลูก


31. ไม่สนใจลูก
32. ดูถูกลูก
33. มองไม่เห็นคุณค่าในตัวของลูก
34. ถือว่าลูกเป็นสมบัติของตน
35. โกหกลูก
36. ปั่นหัวลูก
37. จมอยู่ในความทุกข์ตลอดเวลา
38. งก
39. หลงตัวเอง
40. ขาดลูกไม่ได้
41. มองโลกในแง่ร้าย
42. ละเลยลูก
43. ประหม่าและวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา
44. ขาดความเห็นอกเห็นใจ
45. วัตถุนิยม
46. กดขี่ลูก

47. กระต่ายตื่นตูม
48. ถ่ายโอนบทบาทความเป็นพ่อแม่มายังลูก (ทำให้ลูกต้องเป็นผู้ใหญ่ก่อนเวลาอันควร)
49. ร้ายลึก
50. ทำร้ายร่างกาย

อ่านต่อ >> “รวมพฤติกรรมทำร้ายจิตใจลูก ที่พ่อแม่ต้องหลีกเลี่ยง” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

51. ทำตัวเหมือนเป็นเหยื่อของสังคมอยู่ตลอดเวลา
52. แบ่งฝักแบ่งฝ่าย
53. บ้าอำนาจ
54. ลำเอียง
55. กดดันลูก
56. ขาดความจริงใจ
57. มีแผนการร้าย ๆ ตลอดเวลา
58. กดขี่ลูก
59. ขาดความรับผิดชอบ
60. คลั่งศาสนา (จนใช้ศาสนามาเป็นตัวทำร้ายลูก)
61. เจ้าคิดเจ้าแค้น (แม้กระทั่งลูกตนเอง)
62. เข้มงวด
63. เจ้าบทบาท
64. ช่างประชดประชัน
65. มักให้ลูกเป็นแพะรับบาป

66. วิตกกังวล กลัวไปทุก ๆ เรื่อง
67. มีความลับอยู่ตลอดเวลา
68. ทำโทษลูกอย่างหนักเกินความจำเป็น
69. คุกคามทางเพศ
70. ใส่ร้ายลูก (เพื่อความสะใจ)
71. มักทำอะไรลับ ๆ ล่อ ๆ มีพิรุธ
72. ติดยาเสพติด
73. อารมณ์ร้าย
74. ข่มขู่
75. ชอบขู่จะฆ่าตัวตาย
76. ไม่คุยกับลูกตรง ๆ (ต้องคุยผ่านคนอื่น)
77. รู้สึกละอายในตัวของลูกตลอดเวลา
78. หลอกใช้
79. บีบบังคับลูกด้วยการยื่นคำขาด
80. ใช้ลูกตลอดเวลา
81. ดุด่าลูก
82. ผูกพยาบาท
83. ชักจูงและโน้มน้าวลูกให้ทำในสิ่งที่ตนต้องการ
84. ตะคอกลูก

จากทั้ง 84 พฤติกรรมนี้ ล้วนแล้วเป็นการ ทำร้ายจิตใจลูก สร้างบาดแผลในใจให้ลูกไปจนโต เพราะฉะนั้นปัญหาใด ๆ ที่เกิดกับลูกน้อย …ซึ่งจุดเริ่มต้นที่แจ่มชัดและทรงพลังที่สุดล้วนแล้วแต่เกิดจากพิษที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากตัวของผู้ที่เป็นพ่อและแม่ทั้งสิ้น ซึ่งแม้จะด้วยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตามที  แต่สิ่งสำคัญคือ อย่าได้โทษลูกของคุณ เลย ทางที่ดีควรสร้างความทรงจำดีๆ ให้กับลูกจะดีกว่า เพียงแค่นี้การเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กดีน่ารักและเติบโตมาอย่างมีคุณภาพก็จะเป็นไปได้อย่างไม่ยากเย็นแล้วค่ะ

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณบทความจาก Facebook : เพจ Thai Hypnosis