3. สอนให้ลูกรับประทานอาหารเช้าเป็นประจำทุกวัน
เนื่องจากอาหารมื้อเช้าถือเป็นอาหารมื้อสำคัญกว่ามื้ออื่นๆ การทานอาหารเช้าทุกวันจะช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานและกระตุ้นพลังสมองช่วยในการเรียนรู้ กระตุ้นความจำและความกระตือรืนร้นทำให้สามารถดำเนินกิจกรรมในหนึ่งวันได้อย่างเต็มที่ การทานอาหารเช้ายังช่วยเรื่องผลการเรียนของเด็กที่ทานอาหารเช้าได้ดีกว่าเด็กไม่ทานอาหารเช้าได้อีกด้วย คุณแม่จึงควรให้ลูกทานอาหารเช้าทุกวัน
- อาหารเช้าที่ดีควรเป็นประเภทข้าว หรือถ้าเป็นขนมปังก็ควรเป็นขนมปังโฮลวีทหรือขนมปังจากแป้งข้าวเจ้า
Must read : กลยุทธชวนใจให้ลูกรักมื้อเช้า
4. ให้ลูกได้ลองประสบการณ์ที่หลากหลาย
สมมติว่า ขณะที่ลูกกำลังพยายามทำอะไรอยู่แล้วเกิดผิดพลาดขึ้น ตอนนั้นคุณแม่จะทำอย่างไรคะ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าลูกกำลังจะยกแก้วน้ำขึ้นมาดื่ม แต่ดันทำน้ำหก คุณแม่จะหงุดหงิดโกรธหรือบ่นว่า “เอาอีกแล้วนะ(もう โม่ว)” หรือเปล่าคะ
- ถ้าเป็นแบบนี้ คุณแม่ทราบไหมคะว่า สิ่งที่ลูกกำลังทำอยู่นั้นคือ การที่เขากำลังเรียนรู้ที่จะเติบโตต่อไปอีกขั้น โดยถ้าเกิดเราไม่พอใจหรือดุด่าว่าในสิ่งที่ลูกทำผิดพลาด อาจจะเป็นการกีดกั้นการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ของลูกโดยไม่รู้ตัวก็ได้ และอาจจะทำให้เขาไม่กล้าลองทำสิ่งใหม่ๆ หรือเมื่อทำผิดพลาดแล้วไม่พยายามที่จะทำให้สำเร็จ เพราะกลัวโดนดุก็เป็นได้
- สำหรับกรณีตัวอย่างนี้ คุณแม่ไม่ควรดุว่าลูกแต่ควรเช็ดน้ำที่หกและพูดให้กำลังใจลูกว่า “ครั้งหน้าทำได้แน่นอน(次はできるよ ซึงิ วะ เดะคิหรุโยะ)” และให้ลูกลองทำใหม่อีกครั้ง
- และเด็กที่รู้ว่า “แม้จะทำผิดพลาดก็ไม่เป็นไร ลองทำใหม่ได้ ” นั้นเป็นเด็กที่มีหัวใจที่แข็งแกร่ง
- การที่ลูกจะมีหัวใจที่แข็งแกร่งสู้กับปัญหาโดยไม่ย่อท้อได้นั้น ส่วนหนึ่งก็มาจากการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่นะคะ
Must read : เล่นสร้างประสบการณ์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
5. ผลักดันและส่งเสริมจุดเด่นในตัวลูก
- พ่อแม่ควรส่งเสริมสิ่งที่ลูกชอบและมีความถนัด เพราะจะทำให้เขาสามารถพัฒนาได้เร็วและดีกว่าสิ่งที่ไม่ชอบ
อย่างบุคคลที่มีชื่อเสียงในโลกหลายคนก็ได้รับการจุดประกายความเป็นอัจฉริยะจากการที่พ่อแม่ผลักดันและส่งเสริมความสามารถที่ซ่อนอยู่ในตัวจนประสบความสำเร็จ
ว่าแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ลองสังเกตกันดูว่าลูกชอบหรือถนัดอะไร และน่าจะมีแนวโน้มเก่งด้านไหน เผื่อจะได้เป็นอัจฉริยะคนใหม่ในอนาคตก็เป็นได้นะคะ
Must read : 5 วิธี ส่งเสริมความ “อยากรู้อยากเห็น” ของลูกน้อย