AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

5 วิธีง่ายๆ เลี้ยงลูก….ให้เป็นคนปกติ!

เลี้ยงลูกให้เป็นคนปกติ …มีคุณแม่ท่านหนึ่งมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลี้ยงลูก เพราะคุณแม่ไม่ได้คาดหวังว่าเขาต้องเป็นเลิศกว่าคนอื่น ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ (เพราะเราเองก็ไม่ใช่ผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์แบบ) แค่อยากเลี้ยงลูกให้เติบโตขึ้นมาเป็นคนปกติที่รับผิดชอบตนเอง ครอบครัวและสังคมได้ มีความสุข พร้อมรับมือกับความทุกข์ความไม่สบายกายไม่สบายใจที่แวะเวียนเข้ามาในชีวิตได้ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าแบบไหนถึงจะถือว่า “เป็นคนปกติของสังคม” และจะเลี้ยงดูเขาอย่างไร

เป็นคำถามที่น่าสนใจค่ะ ที่คุณแม่สงสัยว่าแบบไหนจึงจะถือว่า “เป็นคนปกติของสังคม” เพราะมนุษย์ในสังคมก็มีความแตกต่างและหลากหลาย มีรูปร่างลักษณะนิสัยใจคอไม่เหมือนกัน  มีความชอบ-ไม่ชอบที่แตกต่างกันออกไป มีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมือนกัน มีลักษณะนิสัย-ความถนัด-ระดับความสามารถที่แตกต่างกัน  แล้วนิยามคำว่า “ปกติ” ครอบคลุมอะไรและได้แค่ไหนบ้าง?

หลักการ เลี้ยงลูกให้เป็นคนปกติ !

เพราะมนุษย์มีความหลากหลายตามที่แจกแจงเบื้องต้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะวัด “ความปกติ” ให้ออกมาชัดเจน  แม้ว่าจะมีคนใช้หลักสถิติมาอธิบาย เช่น ความสูง น้ำหนักตัว (ซึ่งมักเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ) ช่วยให้เราแยกแยะ เด็กเตี้ยผิดปกติกับเด็กที่เตี้ยตามพันธุกรรม หรือเด็กที่มีน้ำหนักน้อยจนเป็นความผิดปกติกับเด็กที่มีน้ำหนักน้อยแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ แต่ก็ยังมีอีกหลายเรื่องที่ไม่สามารถแยกแยะให้เป็นรูปธรรมชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเชิงคุณภาพ เช่น การตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ มุ่งมั่น ยืดหยุ่น ซื่อสัตย์ มั่นใจในตนเอง เห็นอกเห็นใจผู้อื่น พึ่งตนเอง  บริหารจัดการชีวิตได้ เป็นต้น

โดยคุณหมอ นลินี  เชื้อวณิชชากร แนะนำว่า แทนการมุ่งเป้าอยากให้ลูก “เป็นคนปกติของสังคม” ซึ่งหาคำจำกัดความได้ยาก อยากให้คุณแม่มุ่งที่แนวทางการเลี้ยงดูลูกเพื่อให้เขาเติบโตขึ้นมาเป็นคนที่รับผิดชอบตนเอง ครอบครัวและสังคมได้ มีความสุข  พร้อมรับมือกับความทุกข์ความไม่สบายกายไม่สบายใจที่แวะเวียนเข้ามาในชีวิตได้ตามที่คุณแม่ตั้งเป้าไว้ แต่ขอเพิ่มเติมว่า “เข้าใจและรับมือ” กับความไม่แน่นอนของโลกใบนี้ได้

ทั้งนี้ คุณหมอขอฝาก 5 หลักสำคัญในการเลี้ยงลูกไว้ ดังต่อไปนี้ค่ะ

1. สร้างความรักใคร่ผูกพันระหว่างกัน

เป็นพื้นฐานหลักที่สำคัญต่อการอบรมเลี้ยงดูเด็กทุกคนในโลกใบนี้ เหมือนที่คุณหมอมักเน้นว่า “ความสัมพันธ์ที่ดีต้องมาก่อน” ผ่านการใช้ชีวิตด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการดูแลชีวิตประจำวันทั่วไป การทำกิจกรรมร่วมกัน การแสดงให้ลูกรู้ว่าคุณรักเขา รับฟังและพูดคุยกับเขา (ให้ถูกหลักด้วยนะคะ) การอุทิศตัวซึ่งกันและกัน รวมทั้งการให้เด็กมีส่วนร่วมลงมือทำกิจกรรมของครอบครัว เช่น ทำงานบ้านหรือร่วมคิดและทำอาหาร

อ่านต่อ >> “วิธีง่ายๆ เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นคนปกติ” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

2. ยอมรับในตัวตนของลูก

ยอมรับว่าเด็กก็คือเด็ก ไม่ใช่ผู้ใหญ่ย่อส่วน ทำให้เขายังทำอะไรได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ แต่ก็ต้องการโอกาสในการฝึกฝน บางครั้งอาจงอแง หรือทำอะไรที่ไม่เหมาะสม (ซึ่งต้องการให้ผู้ใหญ่ช่วยสอนและปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม) หากไม่มีอะไรฉุกเฉินคุณแม่ควรบอกให้เขารู้ก่อนที่จะทำอะไรกับเขา เช่น อุ้มเขา เปลี่ยนเสื้อผ้า ป้อนอาหาร รื้อของในกระเป๋าของเขา เป็นต้น และฝึกให้ลูกทำอะไรด้วยตัวเองตามวัย ไม่ต้องช่วยเขาทุกอย่างเพราะมองว่าเขายังเด็ก นอกจากนี้ไม่ควรทำให้เขาต้องเป็นนักเรียนก่อนได้เป็นเด็ก (เช่น เร่งเรียนเขียนอ่าน แทนการได้เล่นตามวัยและความสามารถ)

Must readคำถาม 15 ข้อ ที่พ่อแม่ควรถามลูกเพื่อให้เข้าใจลูกมากขึ้น

3. สร้างเครื่องมือให้ลูกประพฤติดีมีคุณธรรม

พ่อแม่ส่วนใหญ่ต้องการปลูกฝังให้ลูกเป็นคนดีมีคุณธรรม แต่มักใช้วิธีพร่ำพูดสั่งสอน ซึ่งได้ผลน้อย เพื่อให้ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้คุณหมอแนะนำให้คุณแม่ฝึกฝนลูกให้มีลักษณะดังต่อไปนี้เพื่อเป็นเครื่องมือในการประพฤติดีมีคุณธรรมค่ะ

Must readคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ สอนลูกอย่างไรให้เป็นคนดี?
Must read37 แนวทาง เลี้ยงลูกให้ถูกธรรม!! ตามคำสอนพุทธ เพื่อให้ลูกเป็นคนดีและมีสุข

อ่านต่อ >> “วิธีง่ายๆ เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นคนปกติ” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

4. เชื่อมโยงพฤติกรรมกับผลที่เกิดขึ้น

ลูกควรเรียนรู้ว่าผลที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะดีหรือร้าย ล้วนแต่เกิดจากการกระทำและการตัดสินใจของเขา แนนซี่ ไอเซนเบอร์ก นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยอริโซน่ากล่าวว่า “เด็กมีแนวโน้มที่จะเห็นแก่ตัวน้อยลง ใส่ใจคนอื่นมากขึ้นหากพ่อแม่ชี้แนะให้เขารู้ว่าพฤติกรรมของเขาส่งผลต่อคนอื่นอย่างไร ดังนั้นการฝึกวินัยจึงควรสอนมากกว่าแค่ลงโทษ เช่น แทนที่จะดุว่าลูกที่ทำน้ำหกและบังคับให้เช็ด คุณควรชี้ให้เห็นว่าหากน้ำเจิ่งนองจะทำให้คนอื่นลื่นล้มได้ หรือแม้แต่ผลดีที่เกิดขึ้นหลังจากเขาช่วยเหลือคนอื่น เป็นต้น

5. ให้โอกาส

ลูกจะเชื่อมั่นและเข้าใจตนเองได้ เขาต้องเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงไม่ใช่พ่อแม่พร่ำบอกเขา ซึ่งประสบการณ์ตรงเหล่านี้เกิดจากการที่คุณแม่ให้โอกาสเขาได้เรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน เล่นกีฬา หรือทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ช่วยงานบ้าน ในเด็กที่ยังเล็กหากเขาได้เล่นโดยไม่มีข้อกำหนดตายตัวจะช่วยให้เขาเรียนรู้และสังเกตว่าเขาทำอะไร และเกิดผลอย่างไร ค่อยๆ พัฒนามาเป็นความสามารถและความชอบ จนค้นพบสิ่งที่ตัวเองทำได้และอยากทำในที่สุด ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการทำงานในอนาคต

การอบรมเลี้ยงดูพื้นฐานทั้ง 5 ข้อนี้เป็นหลักคิดเบื้องต้น ซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนทักษะอื่นประกอบด้วย เช่น ฝึกเป็นโค้ชทางอารมณ์ให้ลูก ฝึกวิธีฟังและพูดกับลูก ฝึกวิเคราะห์และปรับพฤติกรรมลูก เป็นต้น เป็นกำลังใจให้คุณแม่นะคะ

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร