AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ไขข้อสงสัย! ทารกแรกเกิดควรมีน้ำหนักเท่าไหร่?

เกณฑ์ น้ำหนักของทารกแรกเกิด ปกติของเด็กที่ครบกำหนด จะมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ประมาณ 2,500-4,000 กรัม ดังนั้น เด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย คือน้อยกว่า 2,500 กรัม สาเหตุเกิดได้จากทั้งตัวคุณแม่และตัวเด็กขณะที่ตั้งครรภ์

“น้ำหนัก” เป็นค่าโดยรวมส่วนต่างๆ ของร่างกาย ใช้ในการประเมินผลการเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิดทุกคนน้ำหนักตัวมีความสำคัญอย่างมากที่พ่อแม่ต้องติดตามและให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง เพื่อทราบว่า ลูกของเรามีการเจริญเติบโตที่ปกติหรือไม่

น้ำหนักของทารกแรกเกิด ควรหนักเท่าไหร่?

โดยปกติเด็กวัยแรกเกิดที่คลอดตามปกติ (ไม่ได้คลอดก่อนกำหนด) จะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยประมาณ 2.5- 4 กิโลกรัม ซึ่งก็ถือว่าเป็นน้ำหนักจามปกติสำหรับเด็กแรกเกิด แต่ถ้าหากน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับทารกที่ครบกำหนดหรือทารกที่คลอดก่อนกำหนด ให้ถือว่าอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (low birth weight) แต่ไม่ต้องห่วงค่ะ เมื่อเขาเติบโตขึ้นน้ำหนักตัวของเขาก็จะเพิ่มไวกว่าเด็กทั่วไปเช่นกันค่ะ

แต่หากเด็กที่คลอดก่อนกำหนดแล้วมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม ซึ่งส่วนใหญ่ทารกจะตัวเล็ก อวัยวะต่าง ๆ ยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ เช่น ปอดไม่เติบโตพอที่จะหายใจได้ตามปกติ ตับยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ตัวเหลือง จึงจำเป็นต้องเข้ารับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยเข้าตู้อบ ซึ่งมีกลไกลที่ทำหน้าที่ควบคุมรักษาระดับอุณหภูมิ ความชื้น รวมถึงออกซิเจนภายในร่างกายของทารกให้มีอุณหภูมิในระดับเดียวกันกับตอนที่อยู่ในท้องของแม่ เพื่อรอจนกว่า ทารกจะสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดีขึ้น และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ปกติ

เมื่อกลับมาอยู่บ้าน เด็กยังสามารถกินนมแม่ได้ตามปกติ ซึ่งลูกอาจตัวเล็กแต่ก็มีความแข็งแรงกว่าเด็กที่กินนมผสม เพราะได้ภูมิคุ้มที่ดีจากน้ำนมแม่ แต่หากมีอุปสรรคในการรับนมแม่ เด็กอาจต้องได้รับนมสูตรพิเศษที่มีความเข้มข้นกว่านมผสมทั่วไป

ตารางเทียบน้ำหนักของทารกแรกเกิด

อ่านต่อ >> “น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยของทารกวัยแรกเกิด – 1 ขวบ” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

ทารกแรกเกิดจะมีหนักเท่าไหร่ไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่ากับทารกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะน้ำหนักทารกแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นกับพันธุกรรม รูปร่างและขนาดของพ่อและแม่ ถ้าพ่อแม่ตัวโต สูงใหญ่ ลูกก็จะเติบโตเร็ว ถ้าพ่อแม่ไม่สูง ตัวเล็กลูกก็จะตัวเล็กกว่าเด็กคนอื่นในช่วงอายุเดียวกัน รวมถึงสุขภาพของคุณแม่ และโภชนาการที่ได้รับตั้งแต่ยังอยู่ในท้อง นอกจากนั้น ก็เป็นไปได้ว่า เด็กอาจน้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลง ลดลงชั่วขณะที่เจ็บป่วยหรือเป็นโรค ซึ่งแพทย์จะทำการชักประวัติและตรวจร่างกายเพิ่มเติมเพื่อทำการดูแลในขั้นต่อไป ดังนั้นเกณฑ์การเพิ่มน้ำหนักของทารกจึงเป็นตัววัดที่ถูกต้อง ไม่ใช่น้ำหนักทารกแรกเกิด

ลูกควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าไร?

ก่อนอื่นคุณแม่ต้องทำความเข้าใจด้วยว่าในระหว่างที่ทารกแรกเกิดได้เกิดมานั้นจะมีน้ำหนักลดลงได้หลังคลอด ทั้งนี้เป็นเพราะทารกต้องใช้เวลาสักพักให้เคยชินกับการดื่มนม และหากคุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ร่างกายของคุณเองก็ต้องปรับตัวให้เคยชินกับการผลิตน้ำนมด้วย ส่วนใหญ่น้ำหนักของทารกลดลง 10 % ในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด แต่เมื่ออายุประมาณ 10 วันจะเริ่มมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกครั้ง  ซึ่งจะไม่เกินร้อยละ 10 ของน้ำหนักในตอนที่เกิดมา เพราะว่าในระหว่างที่เกิดมานั้นทารกแรกเกิดได้มีการถ่ายปัสสาวะและขี้เทาออกมา

ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก ลูกอาจมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 175 ถึง 225 กรัมต่อสัปดาห์และเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน ลูกอาจมีน้ำหนักเป็น 2 เท่าของน้ำหนักตอนแรกเกิด และหลังจากนั้นน้ำหนักของลูกน้อยจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นช้าลง กราฟแสดงการเจริญเติบโตเป็นเพียงแค่แนวทางในการสังเกตเท่านั้น น้ำหนักของลูกอาจน้อยกว่าเกณฑ์เป็นครั้งคราว

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวนั้นบางครั้งอาจจะเพิ่มหรือลดเพราะมีปัจจัยอื่นที่ทำให้น้ำหนักตัวของลูกเปลี่ยนแปลง เช่น

ดังนั้น คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะอาจเป็นผลจากการยืดตัว การเจ็บป่วย การปรับตัวกับอาหารเสริมหรืออาจเป็นเพราะการใช้พลังงานในการคืบคลานก็ได้ หากคุณแม่รู้สึกกังวลและมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของลูกน้อย ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง

การเจริญเติบโตของลูกน้อย

ประเมินได้จากกราฟแสดงการเจริญเติบโตตามวัย ไม่ว่าลูกจะตัวใหญ่หรือตัวเล็ก ลูกควรจะมีน้ำหนักขึ้นอย่างสม่ำเสมอและอยู่ในเกณฑ์ปกติที่ระบุในกราฟ อ่านต่อ >> กราฟการเจริญเติบโตของลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด – 5 ขวบ

คุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบกุมารแพทย์เป็นประจำ เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตและสุขภาพของลูกน้อย และถามคำถามและข้อกังวลที่คุณอาจมีได้

อ่านต่อ >> “น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยของทารกวัยแรกเกิด – 1 ขวบ” คลิกหน้า 3

น้ำหนักเฉลี่ยของเด็กทารกแรกเกิดถึง 1 ขวบ พ่อแม่หลายคนเวลาเจอเด็กทารกคนอื่นที่รูปร่างอวบอ้วน จ้ำม้ำน่าหยิก ก็อาจจะกังวลว่า ลูกของเรานั้นมีน้ำหนักตัวน้อยเกินไปหรือเปล่า หรือบางคนก็กังวลว่าลูกของเราจะกินนมน้อยไปไหมทำให้น้ำหนักตัวน้อย Amarin Baby & Kids จึงมีข้อแนะนำเกี่ยวกับเกณฑ์น้ำหนักมาตรฐานของเด็กในวัยแรกเกิดจนอายุ 1 ปีเพื่อเป็นแนวทางให้กับคุณพ่อคุณแม่ค่ะ

น้ำหนักตัวหลักจากแรกเกิดนั้น โดยเฉลี่ยจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 700 – 800 กรัมต่อเดือน ดังนั้นเมื่อลูกของเรามีอายุครบ 3 เดือน น้ำหนักตัวของลูกก็ควรจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2,100 – 2,400 กรัม นับจากตอนแรกเกิด แต่ทั้งนี้เด็กบางคนก็อาจจะมีเกณฑ์เพิ่มมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์ได้ค่ะ

น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยในแต่ละเดือนในช่วงนี้จะอยู่ที่ 500 – 600 กรัมต่อเดือน ซึ่งจะน้อยกว่าในช่วง 1 – 3 เดือน คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะค่ะ แต่หากเด็กบางคนที่น้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่าเกณฑ์นี้ ก็ต้องดูว่าลูกกินอาหารเสริมอะไรไปเป็นพิเศษหรือเปล่านะคะ

น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนจะอยู่ที่ประมาณ 400 กรัมต่อเดือน อาจมีมากหรือน้อยกว่านี้นิดหน่อยค่ะ

น้ำหนักตัวที่เพิ่มในแต่ละเดือนจะลดลงอีก เหลือเพียงเดือนละประมาณ 300 กรัมต่อเดือนค่ะ

ช่วงนี้น้ำหนักตัวจะเพิ่มเพียงเดือนละ 200 กรัม ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้ลูกมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากหรือน้อยในแต่ละเดือนด้วย

ควรจะชั่งน้ำหนักลูกบ่อยแค่ไหน?

หากที่บ้านมีเครื่องชั่งที่เหมาะสมอยู่แล้วก็สามารถชั่งน้ำหนักได้ทุกวันค่ะ แต่หากไม่มีก็ชั่งตอนที่เราพาลูกไปพบคุณหมอตามนัดปกติก็ได้ หากน้ำหนักตัวของลูกต่ำกว่าเกณฑ์เล็กน้อย แต่เขายังคงกินนมได้ตามปกติ ร่าเริง นอนหลับได้ตามปกติแม้น้ำหนักตัวจะเพิ่มน้อยกว่าเกณฑ์เล็กน้อยก็ยังไม่ต้องกังวลมากเกินไปนะค่ะ แต่หากต่ำกว่าเกณฑ์มากๆ ก็อาจจะขอคำแนะนำจากคุณหมอตอนที่เราพาลูกไปฉีดวัคซีนก็ได้ค่ะ

การติดตามการเจริญเติบโตของลูก โดยเข้ารับการตรวจสุขภาพ หรือรับวัคซีนตามที่กำหนดทุกครั้งที่แพทย์นัดพบ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับทราบปัญหาและแก้ไขปัญหาการเจริญเติบโตของลูกได้ทันท่วงที

แต่สิ่งสำคัญที่สุด นอกจากเรื่อง น้ำหนักของทารกแรกเกิด คุณหมอและพ่อแม่จะต้องจำไว้ว่า “ควร ดูทารก มากกว่า ดูตาชั่ง” ถ้าทารกตื่นตัวดี มีความสุขและร่าเริงดี กินนมได้ดี ขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะตามปกติ มีพัฒนาการอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับอายุ ตัวหนักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตัวโตขึ้นเรื่อย ๆ ก็ไม่มีเหตุผลที่พ่อแม่จะต้องกังวล

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!

ขนาดของทารกในครรภ์แต่ละสัปดาห์
infant พัฒนาการของร่างกายลูกน้อยในครรภ์ (มีคลิป)

ขอบคุณภาพจากสมาชิกผู้ใช้เว็บไซต์พันทิป : คุณ Parko29 , www.babytrick.com