AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

หยุด “โรคแพ้ไม่เป็น” โรคร้ายของเด็กรุ่นใหม่ ในยุคการแข่งขันสูง

เด็กรุ่นใหม่ต้องเติบโตท่ามกลางสังคมที่มีการแข่งขันสูง ต้องติวกันตั้งแต่อนุบาล เพื่อให้ได้เข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียง และจบการศึกษาจากสถาบันอันดับต้นๆ ของประเทศ พ่อแม่จึงมุ่งเน้นให้ลูกเก่ง เรียนได้เกรดสูง มีงานดีๆ ทำ มีรายได้เยอะๆ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในสังคม ทำให้คนรุ่นใหม่เป็นโรค “แพ้ไม่เป็น” มีความต้านทานความพ่ายแพ้ต่ำ เมื่อเกิดความผิดหวังมักทนไม่ได้และอาจหนักถึงขึ้นฆ่าตัวตาย ในฐานะพ่อแม่ เราจะมีวิธีอย่างไรที่จะป้องกัน โรคแพ้ไม่เป็น นี้ได้

สอนลูกอย่างไร ให้ห่างไกล โรคแพ้ไม่เป็น

ลูกจะยอมรับความ “พ่ายแพ้” ได้หรือไม่ อยู่ที่พ่อแม่ที่จะเป็นคนที่ให้กำลังใจลูกหรือทำให้ลูกเสียกำลังใจ หรือกดดันให้เกิดความเครียด  นั่นคือ สิ่งที่สะท้อนว่าพ่อแม่นั้นยอมรับความ “พ่ายแพ้” ได้หรือไม่ ถ้าพ่อแม่เห็นว่าการแพ้เป็นธรรมดาของชีวิต การแพ้ทำให้เราเพิ่มความพยายามเข้าไปอีก ความแพ้ทำให้เราเข้มแข็ง  ลูกก็จะมีพ่อแม่เป็นแบบอย่าง เป็นบรรทัดฐานของชีวิตที่พร้อมจะเผชิญกับชีวิตในอนาคต

ก่อนที่จะเริ่มต้นสอนลูกให้รู้จักแพ้ จึงต้องเริ่มที่ตัวพ่อแม่ แล้วจึงค่อยๆ สอนลูกอย่างเข้าใจ และค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้

  1. ลดความคาดหวัง อย่ากดดันลูก

พ่อแม่ย่อมจะมีความสุขเมื่อเห็นความสำเร็จของลูก เพราะรางวัลที่ลูกได้รับ คือ ภาพสะท้อนความสำเร็จในการเลี้ยงลูกของพ่อแม่นั่นเอง พ่อแม่จึงเผลอคาดหวังอยากให้ลูกชนะ ไม่อยากให้ลูกแพ้ ซึ่งตัวลูกเองก็มีเรดาร์ที่สามารถจับความคาดหวังของพ่อแม่ได้เช่นกัน ลูกจึงไม่อยากทำให้พ่อแม่ผิดหวัง กลายเป็นความรู้สึกกดดัน ที่ไม่ได้เกิดจากกลัวแพ้ แต่กลัวพ่อแม่ผิดหวังมากกว่า ดังนั้น พ่อแม่จึงควรลดความคาดหวังลง อย่ากดดันว่าลูกต้องชนะ ลูกต้องไม่แพ้ เพราะลูกจะกดดัน และเกิดภาวะเครียดในเด็กตามมา

  1. รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเองก่อน

เพราะลูกเฝ้าดูและคอยเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่อยู่ พ่อแม่จึงต้องเป็นแบบอย่างให้กับลูก เวลาทำผิดพลาดหรือพ่ายแพ้ พ่อแม่ต้องหัดควบคุมอารมณ์โกรธ ผิดหวัง เสียใจของตนเองให้ได้ก่อน ไม่ฉุนเฉียว ระบายอารมณ์ด้วยคำหยาบคายให้ลูกเห็น

เมื่อลูกผิดหวัง หรือพ่ายแพ้ก็เช่นกัน พ่อแม่ไม่ควรแสดงอาการผิดหวังอย่างเด็ดขาด และอย่าแสดงอาการภูมิใจหรือดีใจมากจนออกหน้าเมื่อลูกชนะ เพียงแต่พูดสั้นๆว่า “แม่ภูมิใจที่ลูกทำได้” “พ่อภูมิใจที่ลูกทำได้”

ที่สำคัญอย่าประชดประชัน หรือเปรียบเทียบลูกกับคนอื่นอยู่ตลอดเวลา เพราะการที่ต้องแข่งกันคนอื่นตลอดเวลาจะทำให้ทั้งคุณพ่อคุณแม่หาความสุขได้ยาก และตัวลูกเองก็ไม่มีความสุข แต่ควรให้ลูกแข่งขันกับตัวเอง พยายามทำให้ดีกว่าเดิม แล้วพ่อแม่คอยชื่นชม อย่างนี้ลูกจะมีความสุขไปพร้อมกับการพัฒนาตนเองมากกว่าค่ะ

  1. เข้าใจและยอมรับความรู้สึกของลูก

เมื่อลูกพ่ายแพ้ ผิดหวัง พ่อแม่ควรเข้าใจและยอมรับความรู้สึกของลูกว่า ลูกกำลังผิดหวัง ลูกกำลังเสียใจ แม่เข้าใจ เพราะคนเราถ้าแพ้ก็รู้สึกแบบนี้ได้เหมือนกัน เสียใจได้ โกรธได้ ผิดหวังได้ พ่อแม่ต้องให้กำลังใจ และพยายามสอนให้ลูกค่อยๆ ยอมรับกับความพ่ายแพ้ ไม่ใช่แพ้แล้วอาละวาด บอกลูกว่า เอาใหม่ ฝึกใหม่ โดยมีพ่อแม่เป็นต้นแบบ หากพ่อแม่ไม่เข้าใจและไม่ยอมรับความรู้สึกของลูก อาจทำให้ลูกกลายเป็นเด็กแพ้ไม่เป็น ขี้หงุดหงิด เอาแต่ใจ และไม่คิดถึงผู้อื่นตามมาได้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ>> สอนลูกอย่างไร ให้ห่างไกล โรคแพ้ไม่เป็น คลิกหน้าถัดไป

สอนลูกให้รู้จักแพ้ ห่างไกล โรคแพ้ไม่เป็น (ต่อ)

  1. หยุดตามใจลูกไปเสียทุกเรื่อง

การตามใจลูกไปเสียทุกเรื่องนั้น  เป็นอันตรายต่อการใช้ชีวิตของลูกอย่างยิ่ง  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการควบคุมอารมณ์ วินัย  การแสดงออก ความก้าวร้าว  รวมไปถึงเรื่องของการสอนลูกให้แพ้เป็นด้วย  เพราะเด็กที่ได้รับการตามใจนั้นจะเคยชินกับความสมหวัง พอผิดหวัง หรือแพ้ ก็จะรู้สึกยอมรับความพ่ายแพ้ได้ยาก  ถ้าเป็นเด็กๆ ก็จะแสดงออกด้วยการโวยวาย  ต่อต้าน ร้องห่มร้องไห้  ถ้าไม่ฝึกฝนให้รู้จักแพ้เป็น ลูกก็จะโตเป็นคนที่ยอมรับความพ่ายแพ้ไม่ได้  ไม่เอาชนะในทางที่ไม่ถูกไม่ควร  ก็ซึมเศร้าเสียใจจนเกินกว่าเหตุ

 

(อ่านเพิ่มเติม บทความน่าสนใจ สร้างวินัยให้ลูก เหมือนเด็กญี่ปุ่น พ่อแม่ทำได้!)

  1. สอนลูกว่า ชนะหรือแพ้ ความรักของพ่อแม่ไม่ลดลง

พ่อแม่ต้องสอนลูกว่า “ชัยชนะ” ไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดในชีวิต ไม่ว่าชนะหรือแพ้ ความรักของพ่อแม่ไม่ลดลง พ่อแม่ยังคงรับลูกเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่ “ความพยายาม” ต่างหากคือต้นทางของความสำเร็จที่แท้จริง หากลูกทำอย่างตั้งใจ ทำอย่างเต็มที่แล้ว นี่คือสิ่งที่พ่อแม่ภูมิใจ เพราะลูกได้ประสบการณ์ ได้เรียนรู้ ได้ฝึกความอดทน เพียรพยายาม ถ้าคราวนี้แพ้ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องแพ้ตลอดไปสักหน่อย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

  1. สอนลูกพูดสะท้อนอารมณ์ตนเอง

ลูกในวัยอนุบาล อาจยังขาดทักษะด้านการแสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง จึงเหมือนงอแงไม่มีเหตุผล เมื่ออารมณ์ของลูกสงบลง พ่อแม่ควรเข้าไปนั่งพูดคุยกับลูกเพื่อเรียนรู้ เข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกลูก สอนให้เด็กเข้าใจและสื่อคำพูดสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกของเขาเองออกมา ขณะเดียวกันยังเป็นการหัดให้เด็กกล้าปรึกษาหารือในเรื่องละเอียดอ่อนของชีวิตกับพ่อแม่อีกด้วย

  1. สอนลูกเรียนรู้จากความพ่ายแพ้

เมื่อลูกเผชิญกับความพ่ายแพ้ อารมณ์ความรู้สึกยามนั้น คือ การเผชิญกับความผิดหวัง สิ่งที่พ่อแม่ควรเป็นอันดับแรก ทำคือ การพูดคุย ปลอบโยนลูก ให้รู้ว่าลูกมีพ่อแม่เคียงข้างลูกเสมอไม่ว่าลูกจะชนะหรือแพ้ เมื่อลูกทำใจยอมรับความพ่ายแพ้แล้ว พ่อแม่จึงชวนลูกคุยว่าในครั้งนี้ ทำไมเราจึงพลาดไป เราควรปรับปรุงตรงไหนบ้าง แล้วให้ลูกพยายามตั้งเป้าหมายว่าครั้งต่อไปลูกตั้งใจจะทำให้ดีแค่ไหน ให้ลูกแข่งกับตัวเอง ไม่ต้องไปแข่งกับคนอื่น เช่น การแข่งกีฬา ควรสอนให้ลูกดูสถิติที่ดีขึ้นของตัวเอง เป็นต้น

อ่านต่อ>> สอนลูกอย่างไร ให้ห่างไกล โรคแพ้ไม่เป็น คลิกหน้าถัดไป

สอนลูกให้รู้จักแพ้ ห่างไกล โรคแพ้ไม่เป็น (ต่อ)

  1. สอนให้ลูกหัดชื่นชมคนอื่น

ลักษณะอย่างหนึ่งของคนที่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา คือ การรู้จักชื่นชมคนอื่น ซึ่งหมายถึง เรายอมรับความสามารถของผู้อื่น ที่จะนำไปสู่การพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นจากการมองเห็นความดีของคนอื่นนั่นเอง เช่น เพื่อนของลูกวาดภาพได้ที่ 1 ก็ควรสอนให้ลูกรู้จักชื่นชม พร้อมกับให้กำลังใจว่า “ถึงลูกจะไม่ได้ที่ 1 แต่ลูกก็เป็นคนเก่งของพ่อแม่ วันนี้ลูกทำได้ดีที่สุดแล้วนะ” เป็นต้น

  1. ไม่จำเป็นต้องให้ลูกชนะทุกครั้ง

เวลาที่พ่อแม่เล่นกับลูก ไม่จำเป็นต้องให้ลูกชนะทุกครั้ง ลองให้ลูกแพ้ดูบ้าง ให้ลูกยอมรับความเป็นจริงว่าการแข่งขันกันนั้นก็มีแพ้มีชนะ ครั้งแรกลูกอาจเสียยใจไม่ยอมแพ้ ไม่อยากแพ้ ก็ไม่เป็นไร พอลูกอารมณ์ดีก็ชวนมาเล่นกันใหม่ให้แพ้บ้างชนะบ้าง  หรือหาโอกาสให้ลูกได้เล่นกับกลุ่มเพื่อนอย่างอิสระ เขาจะได้เรียนรู้กฎกติกา ผลแพ้ชนะ และไม่หวั่นต่อความผิดหวังพ่ายแพ้

  1. หานิทานมาเล่าเปรียบเทียบให้ลูกฟัง

การยกตัวอย่างจากนิทาน เป็นวิธีหนึ่งที่ได้ผลดี คุณพ่อคุณแม่ลองหานิทานมาเล่าเปรียบเทียบให้ลูกฟังเป็นเรื่องง่ายๆ ที่สอนให้เข้าใจถึงเรื่องน้ำใจนักกีฬา จะช่วยให้ลูกทำความเข้าใจกับการแพ้ชนะได้ง่ายขึ้น ผ่านการดำเนินเรื่องของตัวละครในนิทานที่เด็กๆ คุ้นเคยค่ะ

จริงอยู่ ความพ่ายแพ้ย่อมนำมาซึ่งความเสียใจ ผิดหวัง เป็นเรื่องธรรมดา แต่ลูกจะแสดงออกอย่างไรหลังจากเกิดความรู้สึกเหล่านั้น เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้วัคซีนป้องกัน “โรคแพ้ไม่เป็น” เพื่อให้ลูกสนุกกับการแข่งขัน ไม่ว่าแพ้หรือชนะก็ตามค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ บทความน่าสนใจ คลิก

สอนลูกเป็น “ผู้แพ้” อย่างชาญฉลาด

วิธีสอนลูกโตไปไม่ดูถูกคนอื่น รู้แพ้ ชนะ ให้อภัย

บทเรียนจากความพ่ายแพ้ มีคุณค่าเสมอ ตัวอย่างที่ดีที่ควรสอนลูก


ขอบคุณข้อมูลจาก manager.co.thkruwantida.blogspot.com, เฟซบุ๊คสมนึก หงษ์ยิ้ม