AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

หมอเฉลย5 วิธีกำจัดน้ำมูก ล้างจมูกทารก (ที่แชร์กัน)ดีจริงไหม?

ล้างจมูกทารก

เมื่อลูกน้อยมีน้ำมูก คัดจมูก พ่อแม่คงรู้สึกทรมานกว่าลูกนัก แต่วิธีการกำจัดน้ำมูก ล้างจมูกทารก ที่ได้รับแชร์ต่อกันมาจะใช้ได้จริงหรือไม่ มาร่วมหาคำตอบด้วยกัน

หมอเฉลย..5 วิธีกำจัดน้ำมูก ล้างจมูกทารก (ที่แชร์กัน)ดีจริงไหม?

เมื่อลูกวัยทารกเป็นหวัด ไม่สบาย มีน้ำมูก เป็นเรื่องที่น่ากังวลใจของแม่กันอย่างมากใช่ไหมล่ะ เพราะในช่วง 2-3 วันแรกที่ลูกติดไข้หวัด เป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ยุ่งยากกังวลใจมากที่สุด ลูกน้อยมักมีอาการจาม น้ำมูกไหล คัดจมูก บางทีหายใจทางจมูกไม่ได้ ต้องอ้าปากหายใจ ทำให้เกิดอาการคอแห้ง ระคายคอ ไอ และเจ็บคอ ตามมาอีกต่างหาก ซ้ำร้ายลูกยังทานนมได้น้อยลง ร้องไห้งอแง เป็นที่ปวดใจพ่อแม่ยิ่งนัก

วิธีกำจัดน้ำมูก ล้างจมูกทารก ที่แชร์กันดีจริงไหม

เมื่อลูกหายใจครืดคราด มีอาการคัดจมูก หายใจลำบาก คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าหากพยายามดูดน้ำมูกให้ลูกออกมา เมื่อน้ำมูกเกลี้ยงจมูกแล้ว ลูกจะกลับมาหายใจได้โล่ง โปร่งสบาย ทำให้ต่างสรรหาวิธีที่จะกำจัดน้ำมูกให้ลูก ไม่ว่าจะเป็นด้วยลูกยางสีแดง เครื่องดูดน้ำมูก เครื่องดูดเสมหะ หรือแม้แต่การดูดน้ำมูกลูกด้วยปาก ซึ่งความเชื่อดังกล่าวเป็นความเชื่อที่ถูกหรือไม่ เราสามารถทำตามได้ไหม แล้วเคยสังเกตกันบ้างไหมว่า ทำไมยิ่งดูด อาการคัดจมูกของลูกถึงไม่ดีขึ้น ประกอบกับเมื่อหลายวันก่อนได้รับการแชร์ข้อมูลบนสังคมออนไลน์เกี่ยวกับเรื่อง 5 สุดยอดวิธีกำจัดน้ำมูกทารก วันนี้ทาง ทีมแม่ ABK ได้พบคำตอบจากเรื่องราวดังกล่าวจาก รศ.พิเศษ​ พญ.วารุณี​ พรรณ​พา​นิช​ ​วาน​เดอพิทท์ กุมารแพทย์เชี่ยวชาญ โรคติดเชื้อ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี​ กรม​การแพทย์ ที่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องข้อมูลที่มีการแชร์กันในสังคมออนไลน์นี้ ในเพจ ชัวร์ก่อนแชร์ จึงอยากมาสรุปบอกต่อเพื่อเป็นความรู้ให้แก่กันดังนี้

5 วิธีกำจัดน้ำมูกของลูกง่าย ๆ จริงหรือ?

วิธีที่ 1 ใช้คอตตอนบัด ชุบน้ำเกลือให้ชุ่ม และนำไปเช็ดในจมูกลูก

ข้อเท็จจริง การใช้คอตตอนบัด เช็ดในจมูกลูก เป็นการช่วยระบายน้ำมูก ไม่ใช่การกำจัด หากลูกมีน้ำมูกมากอาจช่วยลูกเช็ดระบายให้หายใจโล่งขึ้นมาอีกหน่อยก็สามารถทำได้ แต่สิ่งที่ควรระวัง คือ ระวังอย่าให้แหย่ลึกเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการบาดเจ็บ ทิ่มโดนโพรงจมูก หรือการที่รูจมูกลูกเล็ก เมื่อเขาดิ้นก็จะทำให้พลาดทิ่มจนเกิดบาดแผลได้ และลักษณะของคอตตอนบัดอาจทำให้แม่รู้สึกคล้ายการแหย่หูทำให้ยิ่งทิ่มลึกลงไปได้ แม่อาจจะเปลี่ยนเลือกไปใช้เป็นผ้านุ่ม ๆ หรือสำลีซับแทนก็ได้เช่นกัน

คอตตอนบัด ซับน้ำมูกทารก

วิธีที่ 2 ดูดน้ำมูกลูกด้วยลูกยาง จับลูกนอนหงาย และยกหัวให้สูง นำน้ำเกลือใส่ไซริงก์หยดเข้าไปในจมูกของลูกก่อน แล้วหลังจากนั้นจึงใช้ลูกยางดูดน้ำมูกของลูกออกมาทีละข้าง

ข้อเท็จจริง การใช้ลูกยางต้องคำนึงถึง อายุของลูก และการให้ความร่วมมือ หากลูกไม่ให้ความร่วมมือ ดิ้นก็จะทำให้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ และจุดอ่อนของลูกยางอีกอย่างหนึ่ง คือ ปลายลูกยางค่อนข้างเล็ก ไม่เป็นระบบปิด ทำให้การดูดน้ำมูกจะไม่ค่อยดีเท่าไหร่ และต้องคอยระวังอย่าแหย่ลึกจนเกินไป ทางที่ดีหากลูกยังเล็ก ควรห่อตัวลูกด้วยผ้ากันลูกดิ้น หรือถ้าไม่จำเป็น เช่น ลูกทรมานจากการหายใจไม่ออกเพราะน้ำมูกจริง ๆ หรือคุณพ่อคุณแม่ไม่ชำนาญก็ไม่ควรใช้วิธีลูกยางดูดน้ำมูกเอง

วิธีที่ 3 เครื่องดูดน้ำมูกอัตโนมัติ  เพียงนำปลายด้านเล็กที่ใช้ดูดใส่เข้าไปในจมูกลูก และกดปุ่มให้ทำงานเครื่องจะดูดน้ำมูกของลูกออกมาเอง

ข้อเท็จจริง การใช้เครื่องอัตโนมัติต่าง ๆ ที่มีมอเตอร์ มีไฟฟ้ากับเด็กเล็ก ควรระมัดระวัง และพิจารณาในเรื่องของความแรงของมอเตอร์ของเครื่องดูดน้ำมูกอัตโนมัตินั้น ๆ ด้วย ที่สำคัญควรตรวจสอบถึงมาตราฐานของเครื่องว่ามีใบรับรอง และมีงานวิจัยสนับสนุนหรือไม่ ควรเลือกใช้เครื่องที่ได้รับมาตราฐานสำหรับเด็กที่เป็นที่ยอมรับได้ แม้ปัจจุบันเครื่องดูดน้ำมูกอัตโนมัติจะหาซื้อง่าย แต่โดยส่วนตัวของคุณหมอคิดว่าไม่จำเป็นถึงขนาดนั้น การใช้แบบบีบมือก็เป็นตัวเลือกอีกทางที่น่าจะปลอดภัยมากกว่า เพราะสามารถรับรู้แรงดูดได้ด้วยมือของคุณพ่อคุณแม่เอง และไม่แรงเกินไปด้วย

ลูกยาง ล้างจมูกทารก เด็กเล็ก

วิธีที่ 4 เครื่องดูดน้ำมูกด้วยสายยาง  เครื่องนี้จะมีขวดเก็บน้ำมูกและสายยางที่ใช้ดูดน้ำมูก การใช้เครื่องนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นคนออกแรงดูดน้ำมูก ของลูกให้ไหลผ่านสายยางออกมา

ข้อเท็จจริง เครื่องดูดน้ำมูกด้วยสายยาง ความเป็นจริงเป็นเครื่องมือที่ต้องได้รับการดูแลใช้งานโดยบุคลากรทางการแพทย์ จึงไม่แนะนำให้ซื้อมาใช้เองที่บ้าน เนื่องจาก สายยางที่ใช้ต้องมีความนิ่มพอสมควร ตามมาตราฐานที่ใช้สำหรับเด็กไม่ให้เกิดการบาดเจ็บต่อโพรงจมูกของเด็กได้ และหากต้องการดูดเสมหะที่ต้องแหย่สายยางลงไปที่คอ เมื่อเด็กดิ้นอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ที่ไม่ชำนาญแหย่สายยางลงไปลึกเกิน ถ้าไม่ระมัดระวังดีพออาจไปกระตุ้นทำให้หลอดลมบีบเกร็งได้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่คงไม่มีความรู้มากพอหากเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงก็อาจเกิดเหตุร้าย ได้รับบาดเจ็บได้

วิธีที่ 5 ใช้ยาหยอดจมูก 

ข้อเท็จจริง ยาหยอดจมูกมี 2 แบบ คือ

ดังนั้นสรุปได้ว่าข้อมูลที่ได้แชร์ต่อกันมาในเรื่อง สุดยอดวิธีกำจัดน้ำมูกง่าย ๆ ของลูกนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่จะนำไปทำเองได้เลย ในบางวิธีสามารถทำเองได้จริง แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้วิธีการทำที่ถูกต้อง และในช่วงเวลาที่เหมาะสม ทั้งต้องพิจารณาในเรื่องอายุของลูก ความพร้อมให้ความร่วมมือของลูกอีกด้วย แต่ในบางวิธี เช่น เครื่องดูดน้ำมูกอัตโนมัติ เครื่องดูดน้ำมูกด้วยสายยาง และการใช้ยาหยอดจมูก เป็นวิธีที่ไม่แนะนำให้ใช้เองที่บ้าน เนื่องจากมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายที่ต้องระมัดระวังให้ดี เพราะอาจทำให้เกิดอันตราย และบาดเจ็บกับโพรงจมูกของลูกได้

น้ำมูกไม่จำเป็นต้องกำจัดให้หมดไปจริงหรือไม่?

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกับกลไลการเกิดน้ำมูกเสียก่อนว่า ความเป็นจริงแล้วน้ำมูกเกิดจากการที่ร่างกายทำการกำจัดเชื้อไวรัส หรือเชื้อโรคออกจากร่างกาย การมีน้ำมูกมีข้อดี คือ เพื่อไม่ให้เชื้อโรคอยู่ในร่างกายมากเกินไปจนอาจลงไปที่ปอดได้

วิธีการบรรเทาน้ำมูกให้ลูก

  1. หากลูกยังคงดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ กินได้ นอนได้ เล่นได้ เพียงแค่มีน้ำมูกมาก ก็สามารถทำการซับ หรือสั่งทิ้งไปเพียงแค่นั้น
  2. หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดการกระตุ้นไม่ให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ เช่น หลีกเลี่ยงอากาศเย็น อากาศแห้ง  อย่าให้ลูกนอนห้องแอร์ เพราะอากาศชื้น นอกจากทำให้เยื่อบุจมูกแห้งแล้วยังทำให้เชื้อโรคกระจายได้ดี ถ้าอากาศร้อนก็ควรเปิดพัดลม พอให้อากาศในห้องเกิดการถ่ายเท
  3. ระวังฝุ่น ควันทั้งจากเครื่องปรับอากาศต้องหมั่นทำความสะอาด จากตุ๊กตา หรือแป้งในห้องนอน ที่มีสารกระตุ้นการเกิดน้ำมูกมากขึ้น

    ท่านอนตะแคง ช่วยบรรเทาคัดจมูก

  4. ให้ลูกนอนในท่าตะแคง สลับข้างไปมา หรือใช้หมอนหนุนศีรษะให้สูงขึ้นอีกเล็กน้อย ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้นบ้างเวลานอน หรือหากลูกยังเล็ก คุณพ่อคุณแม่อาจต้องอุ้มลูกมากกว่าปกติ ไม่ควรวิตกกังวลไปว่าลูกจะติดมือ ช่วงกลางคืนที่ลูกหายใจลำบาก คุณพ่อคุณแม่อาจต้องอุ้มลูกนอนพาดบ่า ท่าอุ้มพาดบ่า ทำให้ลูกหายใจโล่งขึ้น เพราะศีรษะอยู่ในตำแหน่งที่สูงทำให้หายใจสะดวกขึ้น
  5. กระตุ้นให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ เพราะน้ำช่วยทำให้น้ำมูก และเสมหะอ่อนตัว ช่วยลดไข้ และช่วยให้เยื่อบุต่าง ๆ มีความชุ่มชื้น ลูกก็หายใจสะดวกขึ้น ถ้าลูกไม่ชอบน้ำเปล่า แถมยังทานนมได้น้อย ก็ควรหาวิธีการให้ลูกได้รับน้ำจากแหล่งอื่น เช่น น้ำซุป น้ำผลไม้ ถ้าลูกดูดนมหรือน้ำจากขวดนมแล้วทำให้หายใจลำบากมากขึ้น ก็ควรป้อนด้วยช้อน ไซริง หรือแก้วแทน
  6. หลีกเลี่ยงการใช้ยาหยอดจมูก โดยอาจใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยการทุบว่านหอมแดง หรือหัวหอมแดงสัก 3-4 หัววางไว้รอบเตียงนอนลูกในช่วงลูกนอนหลับ ให้ลูกได้สูดน้ำมันหอมระเหยจากหอมแดง หรือใช้วิธีสูด และอาบน้ำต้มหัวหอม หากลูกให้ความร่วมมือ หรือหากไม่สะดวกสามารถใช้ยาทาหอมระเหยที่มีขายทั่วไป ที่ช่วยทำให้จมูกโล่ง ทาบาง ๆ ที่หน้าอก หรือหยดลงบนผ้าอ้อม แล้วผูกไว้บริเวณคอลูก เพื่อให้ยาระเหยไปที่จมูกลูก ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกได้
  7. การทานยาลดน้ำมูก ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพราะอาจมีอาการข้างเคียงสำหรับเด็กบางคน เช่น ใจสั่น หงุดหงิด กระสับกระส่ายได้ เป็นต้น
ก่อนเชื่อวิธีการใดที่ได้รับแชร์มาจากสังคมออนไลน์ ควรเช็กข้อมูลกันให้ดีก่อนว่า เป็นข้อมูลที่ถูกต้องแค่ไหน และต้องได้รับข้อมูลเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับลูกน้อยของพ่อแม่ด้วยแล้ว เพราะหากเกิดอันตรายใด ๆ ขึ้นจากความประมาทของเราเองที่ไม่ได้เช็กข้อมูลให้ดีเสียก่อน แม้จะเสียใจในภายหลังก็ไม่อาจเรียกคืนกลับมาได้
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก FB:patcharinnoyinja / ชัวร์ก่อนแชร์

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

อาบน้ำต้มใบมะขาม สูตรโบราณจากคุณยาย

อันตรายไหม?ลูก นอนหลับ แล้วทำไมตาปิดไม่สนิทกรอกไปมา

“น้ำที่ใช้ชงนม” ให้ลูก น้ำแบบไหนที่ใช้ได้

ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก 5 วิธีรักษาแบบไม่ต้องพึ่งยา

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids