AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ที่ดูดน้ำมูก เด็กและทารก ใช้อย่างไร? แบบไหนดี?

ที่ดูดน้ำมูก

เมื่อลูกเป็นหวัดคัดจมูก หายใจได้ลำบาก คุณแม่ก็จะอยากเอาน้ำมูกที่ค้างอยู่ในจมูกลูกออก เพื่อให้หายใจได้โล่งขึ้น ที่ดูดน้ำมูก จึงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เป็นตัวช่วยแม่ ๆ ได้ดี

ที่ดูดน้ำมูก เด็กและทารก ใช้อย่างไร? แบบไหนดี?

ที่ดูดน้ำมูก มีกี่แบบ?

  1. ลูกยางแดง

การใช้ลูกยางแดง เหมาะกับเด็กเล็กที่มีน้ำมูกใส ไม่เหนียว ปริมาณไม่มาก ลูกยางแดงที่เป็นลูกยางทั้งอันคือส่วนปลายเป็นยางไม่ใช่พลาสติกจะช่วยดูดน้ำมูกในรูจมูก และดูดเสมหะที่โคนคอได้ การดูดเสมหะที่คอจะกระตุ้นให้เด็กไอช่วยขับเสมหะออกมาแล้วดูดเสมหะที่คอออก

วิธีใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูก

  1. ใช้มือข้างที่ถนัดจับลูกยางแดง บีบลมออกให้แฟบ เตรียมพร้อมที่จะดูด ขณะที่มืออีกข้าง จับหน้าเด็กให้เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง (การจับให้เด็กหันหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง เป็นการป้องกันไม่ให้เด็กสำลักเอาน้ำลายหรืออาหารเข้าปอด หากขณะดูดน้ำมูกหรือเสมหะแล้วเด็กอาเจียนออกมาพร้อม ๆ กัน)
  2. สอดลูกยางแดงเข้าไปในรูจมูกทีละข้าง โดยสอดเข้าไปตื้นๆ พร้อมกับปล่อยมือช้าๆ น้ำมูกจะถูกดูดเข้ามาในลูกยางแดง
  3. ดึงลูกยางแดงออกจากรูจมูก บีบน้ำมูกที่ดูดมาได้ทิ้งในทิชชู หรือภาชนะที่เตรียมไว้
  4. ทำซ้ำ ๆ แบบเดิม และดูดน้ำมูกออกจนหมดในจมูกแต่ละข้าง

 

ลูกยางแดง

ข้อดี

  1. ราคาไม่แพง
  2. พกพาได้สะดวก
  3. มีแรงดูดมาก

ข้อเสีย

  1. ล้างทำความสะอาดยาก น้ำมูกที่ถูกดูดจะอยู่ในลูกยางแดง ทำให้ไม่รู้ว่าล้างน้ำมูกออกหมดหรือยัง มีคนเคยผ่าดูข้างในลูกยางแดง พบว่ามีเชื้อราอยู่
  2. ใช้วิธีควบคุมแรงดูดด้วยมือ ทำให้บางครั้งน้ำมูกถูกดูดออกมาแรงเกินไป ลูกอาจเจ็บได้
  3. ลูกยางแดงอาจทิ่มเยื่อบุจมูกลูกได้

 

2. เครื่องดูดน้ำมูกชนิดสายยาง

ที่ดูดน้ำมูกชนิดสายยาง ถูกออกแบบเพื่อขจัดปัญหาของการดูดช่วงสั้นในที่ดูดน้ำมูกแบบลูกยางและยังลดแรงดูดที่มากเกินไปในลูกยาง โดยใช้การดูดจากปากของแม่ซึ่งจะมีความต่อเนื่องกว่า สามารถควมคุมแรงดูดด้วยตนเอง น้ำมูกที่ถูกดูดออกมาจะถูกแยกเก็บใส่ขวด ง่ายต่อการมองเห็นและทำความสะอาด น้ำมูกจะไม่ไหลย้อนกลับ ปลายซิลิโคนนิ่ม ไม่ทำให้ลูกน้อยเจ็บโพรงจมูก

วิธีใช้ ที่ดูดน้ำมูก ชนิดสายยาง

  1. ล้างทำความสะอาดที่ดูดน้ำมูกก่อนใช้ทุกครั้ง
  2. เหน็บปลายเล็ก (ที่มีรูอากาศใหญ่กว่า) ไว้ที่ปากของแม่
  3. อุ้มทารกจัดท่าให้สบายและล็อคศีรษะให้คงที่
  4. นำปลายที่มีรูอากาศเล็กเรียวแตะบริเวณปลายจมูกของทารกเบา ๆ
  5. คุณแม่ดูดโดยการหายใจเข้าทางปากโดยควบคุมแรงดูดตามแต่คุณแม่ต้องการ
  6. ล้างทำความสะอาดโดยล้างถ้วยพบาสติก และสายยางโดยใช้น้ำผ่านรูอากาศทั้งสองรู
  7. เก็บไว้ที่สะอาด
ที่ดูดน้ำมูกแบบสายยาว

ข้อดี

  1. สามารถควบคุมแรงดูดได้ด้วยตนเอง
  2. แรงดูดมีความต่อเนื่องกว่าที่ดูดน้ำมูกแบบลูกยางแดง
  3. น้ำมูกไม่ไหลย้อนกลับ

ข้อเสีย

  1. คุณพ่อคุณแม่เสี่ยงต่อการติดหวัดจากลูก

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ ที่ดูดน้ำมูกเด็กและทารก ใช้อย่างไร? แบบไหนดี?

ที่ดูดน้ำมูก เด็กและทารก ใช้อย่างไร? แบบไหนดี?

3. เครื่องดูดน้ำมูกอัตโนมัติ

เครื่องดูดน้ำมูกอัตโนมัติ จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ดูดน้ำมูกลูกออกมาได้สะดวก เพราะเครื่องถูกออกแบบมาให้ใช้งานแบบอัตโนมัติ เพียงแค่นำเครื่องไปจ่อไว้ที่รูจมูกลูก และกดปุ่มทำงาน ภายในไม่กี่วินาทีเครื่องจะทำการดูดน้ำมูกออกมาไว้ในลูกโป่งที่มีไว้สำหรับเก็บน้ำมูก มีแรงดูดที่เหมาะสม และไม่เป็นอันตรายกับโพรงจมูกลูก เครื่องบางรุ่นจะมีเสียงเพลงเพื่อกลบเสียงดูดน้ำมูก จะทำให้ลูกน้อยไม่รู้สึกกลัวขณะดูดน้ำมูกอีกด้วย

วิธีใช้เครื่องดูดน้ำมูกอัตโนมัติ

  1. สำหรับน้ำมูกที่เริ่มข้นเหนียว ควรหยอดน้ำเกลือลงไป 3-7 หยดก่อนดูด
  2. เปิดเครื่องดูดทันทีที่หยดน้ำเกลือลงไป
  3. สอดปลายดูดไปที่จมูกของลูกน้อย ค่อย ๆ หมุนปลายดูดเพื่อให้น้ำมูกออกมาง่ายขึ้น ในกรณีน้ำมูกที่ติดลึกและเหนียวข้น สามารถปรับระดับความแรงให้แรงขึ้น อาจใช้นิ้วปิดจมูกอีกข้างจะช่วยให้ดูดน้ำมูกที่ค้างอยู่ในจมูกออกมาได้ดีขึ้น
  4. หลังจากดูดใช้ผ้าสะอาดเช็ดทำความสะอาดรอบจมูกลูกน้อย เพื่อทำความสะอาดอีกครั้ง
ขอบคุณภาพจาก : amazon.com

ข้อดี

  1. ล้างทำความสะอาดได้ง่าย อุปกรณ์บางส่วนสามารถนำเข้าเครื่องนึ่งขวดนมได้
  2. อุปกรณ์ถูกออกแบบมาให้จับถนัดมือ สะดวกต่อการใช้งาน
  3. มีแรงดูดที่เหมาะสม ทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่เป็นอันตรายกับโพรงจมูกลูกน้อย
  4. พกพาสะดวก
  5. ดูดน้ำมูกได้ง่าย เร็ว และลูกน้อยไม่ค่อยรู้สึกกลัวขณะดูดน้ำมูก

ข้อเสีย

  1. ราคาแพง เมื่อเทียบกับที่ดูดน้ำมูกแบบอื่น ๆ
  2. แรงดูดอาจน้อยไปสำหรับเด็กที่เริ่มโตแล้ว

 

อย่างที่ทราบกันดีว่าไม่มียาใดที่ฆ่าเชื้อไวรัสหวัดได้ เราจึงไม่สามารถให้ลูกกินยาเพื่อให้ลูกหายหวัดได้ สิ่งที่จะทำให้ลูกหายจากอาการหวัดคือการทำให้ร่างกายแข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบ ทานน้ำสม่ำเสมอ และรอเวลาให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต้านเชื้อไวรัสหวัด ดังนั้น สิ่งเดียวที่พ่อแม่อย่างเราทำได้คือบรรเทาอาการหวัดให้ลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นการทานยาลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอต่าง ๆ การล้างจมูก รวมถึงการดูดน้ำมูก ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้อาการจากหวัดมารบกวนการทำให้ร่างกายของลูกน้อยแข็งแรงนั่นเอง

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

กินยาดักไข้ กันลูกเป็นหวัด เป็นไข้ ได้จริงหรือ?

วิธีส่องดูคอลูก เมื่อ “เป็นหวัดเจ็บคอ”

ลูกดื้อยา เพราะเชื้อแบคทีเรียกลายพันธุ์จากการใช้ยาปฏิชีวนะ

ระบาดหนัก!! หนาวนี้พบป่วย “ท้องร่วง” เก้าแสนกว่าคนแล้ว

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : คลังข้อมูลดิจิทัล สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids