ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ กระทบต่อความฉลาด - Amarin Baby & Kids
ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์

ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ ทารกดูมือถือนานกระทบต่อความฉลาด!

account_circle
event
ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์
ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์

ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ ยิ่งนานยิ่งสุขภาพเสีย ทั้งมีปัญหาร่างกาย มีผลกระทบต่อสมอง

ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์

หลาย ๆ ครอบครัวมักเลี้ยงลูกด้วยมือถือ หรือเล่นมือถือเป็นประจำทำให้เด็กเห็นจนเป็นนิสัย แต่พ่อแม่ผู้ปกครองอาจคิดว่าไม่เป็นอะไร จนมารู้อีกที ลูกก็มีปัญหาสุขภาพมากมาย หนึ่งในปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจคือ ผลกระทบต่อสมองที่เกิดจากการปล่อยปละละเลยให้เด็กเล่นมือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือจับจอสีฟ้านานเกินไป

เด็กเล่นมือถือ แท็บเล็ต วิดีโอเกม เกิน 7 ชั่วโมงเปลือกสมองบางลง

ผลงานวิจัยโดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐฯ ทำการศึกษาถึงระยะเวลาที่เด็กควรใช้อยู่กับหน้าจอ รวมตั้งแต่หน้าจอมือถือ หน้าจอแท็บเล็ต และจอเล่นวิดีโอเกม เพื่อหาคำตอบว่า การเล่นนาน ๆ จะส่งผลต่ออารมณ์ สุขภาพจิต และทำให้เด็กเกิดการเสพติดหรือไม่ โดยทีมวิจัยได้ศึกษากลุ่มเด็ก 9-10 ขวบนับหมื่นรายในช่วงเวลา 10 ปี แล้วเอ็กซเรย์สมองเด็ก 4,500 คน พบว่า เด็กที่จับจ้องจอสีฟ้าเพื่อเล่นเกมหรือเล่นแอปต่าง ๆ 7 ชั่วโมงขึ้นไป พบภาวะเปลือกสมองบางหรือเซรีบรัล คอร์เท็กซ์ บางตัวลง

แน่นอนว่า ภาวะเปลือกสมองบาง ย่อมส่งผลต่อความฉลาดและไอคิวของลูก เนื่องจากเปลือกสมองมีความสำคัญต่อความคิด ระบบความทรงจำ การตระหนักรู้ รวมถึงภาษาและการรับรู้ความรู้สึก ยิ่งเปลือกสมองบางเร็วเท่าไหร่ก็เท่ากับการเทียบเท่าของอายุร่างกาย เพราะปกติแล้วสมองส่วนนี้จะบางเมื่อถึงวัยชรา นอกจากนี้ ผลการทบสอบอื่น ๆ สำหรับเด็กที่ติดจอเกินวันละ 2 ชั่วโมง พบว่า ทำคะแนนทดสอบด้านภาษาและการใช้เหตุผลได้ต่ำ เมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่ได้ใช้มือถือ จึงเชื่อมโยงได้ว่า การเล่นจอสีฟ้านาน ๆ ย่อมส่งผลต่อระดับสติปัญญา

ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์
เครดิตภาพ : mthai.com

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของมือถือรบกวนเปลือกสมอง

ด้านงานวิจัยของอิตาลี ยังตอกย้ำเรื่องผลกระทบต่อสมองสำหรับคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งพบว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของโทรศัพท์มือถือไปรบกวนเปลือกสมองบริเวณตำแหน่งที่ติดอยู่กับเครื่อง โดยวารสารทางวิชาการประสาทวิทยา ได้ศึกษาโดยให้หนุ่มสาวอาสาสมัคร 15 คน พูดคุยผ่านโทรศัพท์นาน 45 นาที และได้ตรวจปฏิกิริยาของคลื่นสมองดูด้วย พบว่าเปลือกสมองที่มีหน้าที่สั่งงานตำแหน่งตรงที่แนบอยู่กับโทรศัพท์มือถือ พบว่าถูกรบกวนระหว่างที่พูดโทรศัพท์ แต่ยังดีที่สามารถกลับสู่สภาพปกติได้ในเวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งส่วนที่ถูกรบกวนคือเปลือกสมองซึ่งเป็นส่วนนอกของมันสมอง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นทำให้กล้ามเนื้อกระตุกได้ เด็ก ๆ ที่ใช้โทรศัพท์เป็นประจำจะยิ่งเกิดอันตรายได้มากกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี จะได้รับผลกระทบจากคลื่นมือถือทำลายเนื้อเยื่อสมองได้มากกว่าผู้ใหญ่ถึง 5 เท่า เพราะสมองของเด็กจะดูดซึมรังสีมากกว่าผู้ใหญ่

เรื่องนี้ยังย้ำถึงข่าวคราวที่ห้ามนำมือถือวางไว้ใกล้ตัวหรือใต้หมอน เพราะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์มือถือจะส่งผลต่อระบบประสาท และแม้จะไม่ได้ใช้งาน มือถือก็ยังต้องส่งคลื่นสัญญาณไปยังเสาหรือสถานีอยู่ดี ทำให้ร่างกายค่อย ๆ ดูดซับคลื่นตลอดเวลา ยิ่งถ้ามีโทรศัพท์เข้าสัญญาณก็จะยิ่งแรงขึ้น ผลกระทบง่าย ๆ ในวัยผู้ใหญ่ อาจทำให้นอนหลับยากและอาจร้ายแรงถึงความจำเสื่อมได้

สำหรับเด็ก ๆ การใช้โทรศัพท์มือถือหรือแม้แต่วางไว้ใกล้ตัวตอนนอน ก็อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ เพราะคลื่นสัญญาณส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและสมอง โดยเฉพาะในวัยทารกที่นอนหลับได้ยาก ควรนำหน้าจอสีฟ้าทั้งมือถือหรือแท็บเล็ตออกไปนอกห้อง จะช่วยให้ทารกนอนหลับได้ง่ายยิ่งขึ้น

ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์
ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์

เด็กเล่นมือถือกระทบสุขภาพ

การวิจัยของแพทย์พบว่า เด็กเล่นโทรศัพท์มือถือนาน ๆ จะมีผลต่อพัฒนาการของสมอง ทำให้สมาธิสั้น เรียนรู้ช้า และยังส่งผลกระทบต่อร่างกายในอีกหลากหลายด้าน หากพ่อแม่ให้มือถือเลี้ยงลูกจะส่งผลต่อพัฒนาการ ขัดขวางจินตนาการ เด็กจะไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง การได้รับรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังที่กล่าวมาแล้ว ยังส่งผลต่อระบบการทำงานของสมองบางส่วนเสียหาย

หากปล่อยทารกหรือเด็กเล็ก ๆ อยู่กับจอจะส่งผลต่อร่างกายและสมอง ตัวอย่างเช่น

  1. ขาดพัฒนาการด้านการสื่อสาร แท็บเล็ตและทีวี เป็นการสื่อสารทางเดียว ทำให้เด็กขาดพัฒนาการด้านการสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงส่งผลให้เด็กพูดช้าและพูดไม่ชัด
  2. เด็กจ้องมองจอภาพเป็นเวลานานมีส่วนทำลายสมอง ทำให้ประสิทธิภาพเรื่องความจำถดถอยลง เด็กจะไอคิวต่ำไม่ได้มาตรฐาน
  3. ความสามารถในการสื่อสารจะลดลง หรือพัฒนาการทางสมองช้า เด็กที่ไม่เล่นแท็บเล็ต ไม่ดูทีวี เด็กเหล่านี้จะชอบสังเกตสิ่งรอบข้างและทำกิจกรรมกับครอบครัวดังนั้นจึงมีไอคิวสูงมากกว่าเด็กที่ชอบอยู่กับหน้าจอ
  4. ร่างกายไม่แข็งแรง เด็กจะเคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่ว เหนื่อยง่าย เพราะนั่งนิ่ง ๆ เป็นเวลานาน ขาดการเคลื่อนไหวออกกำลังกายตามที่ควรจะเป็น หรืออีกแบบคือจะกลายเป็นเด็กขี้เกียจ
  5. ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ เพราะเด็กแยกแยะโลกของอินเตอร์เน็ต กับความจริงไม่ได้ เด็กมักจะหงุดหงิดง่าย ใจร้อน รอคอยไม่เป็น
  6. ขาดทักษะการสื่อสารและเข้าสังคม เหมือนที่ใคร ๆ พูดว่าสังคมก้มหน้า แต่ในเด็กจะเป็นมากกว่าเพราะเด็กไม่รู้ว่าอะไรเหมาะสม พ่อกับแม่ต้องคอยควบคุม หากปล่อยให้อยู่หน้าจอจนเคยชินแบบนี้ เด็กจะไม่มีสังคมไม่คุยกับใครเลย
  7. ขาดสมาธิ เด็กจะไม่มีใจจดจ่อกับกิจกรรมอะไรที่ต้องใช้สมาธิ หรือสมองในการแก้ปัญหา เพราะเคยเจอแต่หน้าจอที่แสดงสีสันสดใส เคลื่อนไหวได้รวดเร็วทันใจ อาจจะกลายเป็นเด็กสมาธิสั้นไปเลยก็ได้
  8. ด้านพฤติกรรม จะก้าวร้าว ซน สมาธิสั้น มีพฤติกรรมออทิสติก คือดื้อ ต่อต้าน โลกส่วนตัวสูง สื่อสารกับคนอื่นน้อย แม้ดูเหมือนขณะใช้สื่อ เด็กจะนิ่ง แต่เมื่อขออุปกรณ์คืน เด็กจะไม่ยอม เกิดการ ดื้อรั้น ทั้งนี้พบว่าถ้าลดการใช้สื่อผ่านหน้าจอของเด็กลง พฤติกรรมเด็กก็จะกลับมาปกติได้
  9. สายตาล้าหรืออักเสบจากการเพ่งดูจอสมาร์ทโฟนต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

เด็กในวัยต่ำกว่า 2 ขวบ ที่ไม่ควรจับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะทารกตั้งแต่แรกเกิดจวบจน 3 ปีแรกของชีวิต เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ สมองของเด็กจะพัฒนาสูงสุด โดยมีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสมอง สำหรับแนวทางการใช้สื่อกับเด็กควรแบ่งตามช่วงวัย ดังนี้

  • เด็กอายุแรกเกิด – 2 ปี ควรหลีกเลี่ยงการอยู่หน้าจอทุกชนิดอย่างจริงจัง การเสพสื่อผ่านจอของเด็กวัยนี้ นอกจากจะไม่มีผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญาของลูก ไม่ควรแม้แต่การเปิดทิ้งไว้เฉย ๆ
  • เด็กอายุ 2-5 ปี ใช้หน้าจอได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน โดยพ่อแม่ควรใช้สื่อให้เป็น เลือกโปรแกรมที่ดี และควรดูร่วมกับลูก พูดคุยเกี่ยวกับเนื้อหาที่ดู ตั้งคำถาม และมีกติกาที่เหมาะสม ไม่ควรปล่อยให้ลูกรับสื่อผ่านจอตามลำพัง
  • ปิดหน้าจอแล้วใช้เวลาคุณภาพ ทำกิจกรรมร่วมกัน พูดคุยกับลูก เล่นกับลูก อ่านหนังสือร่วมกัน กิจกรรมเหล่านี้เป็นวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยได้ดีที่สุด

สุขภาพร่างกายและสมองของลูกในช่วง 5 ปีแรกถือเป็นรากฐานสำคัญของชีวิต อย่าปล่อยให้มือถือเลี้ยงลูก พ่อแม่ควรทำหน้าที่ดูแลและใช้เวลาร่วมกันทั้งครอบครัว พาลูกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน หมั่นเล่นกับลูกเสริมสร้างความสัมพันธ์ภายในบ้าน จะช่วยให้ทารกเติบโตอย่างแข็งแรงและมีพัฒนาการที่สมวัย

อ้างอิงข้อมูล : news.mthai.com, thairath, bbc และ anamai.moph.go.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

เหตุผลที่เด็กพูดเก่งประสบความสำเร็จมากกว่า แม่จ๋าอย่าเพิ่งเบื่อหนูพูดเลย!

สร้าง Mind map ช่วยฝึกให้ลูกส่งงานครบมีความรับผิดชอบ

11 เกมฝึกสมอง สอนลูกแก้ปัญหาไม่ละความพยายามง่ายๆ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up