คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังกังวลว่า ริมฝีปากของลูกมักจะมีเม็ดตุ่มพองบริเวณขอบริมฝีปากบน หรือขอบริมฝีปากล่าง นั้นเป็นอาการผิดปกติอะไรหรือไม่ การที่ ทารกปากแห้ง นั้นเป็นเพราะไม่ได้ทานน้ำหรือเปล่า
ทารกปากแห้ง ผิดปกติหรือไม่? จำเป็นต้องกินน้ำไหม?
ทารกปากแห้ง ริมฝีปากลอก ผิดปกติหรือไม่?
ทีมงาน Amarin Baby & Kids ขอนำคำตอบจากป้าหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ ที่ได้ตอบคำถามแฟนเพจว่า “เลี้ยงนมแม่ 100% คุณยายของลูก บอกลูกปากแห้ง จะให้กินน้ำ ดิฉันห้ามไว้ อยากสอบถามว่า ลักษณะบริเวณปากรูปขวา คือ ปากแห้ง ไหมค่ะ รูปซ้าย เป็นรูปถ่าย เกิดได้ 1 วัน รูปขวา 9 วันค่ะ” มาไขข้อสงสัยแม่ ๆ กันนะคะ
คำตอบคือ เป็นอาการปกติในเด็กแรกเกิดค่ะ ไม่ได้มีอันตรายแต่ประการใด การที่ทารกมีเม็ดพอง หรือ ตุ่มพองขนาดประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ขึ้นที่ขอบริมฝีปากด้านบน หรือขอบริมฝีปากด้านล่าง โดยพบบ่อยที่กลางริมฝีปากด้านบนนั้น เป็นเพราะ ทารกมีการดูดนมอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการดูดนมแม่ หรือ นมขวด ทำให้ขวดนมหรือนมแม่มีการเสียดสีกับริมฝีปาก โดยตุ่มพองนี้ทารกจะไม่รู้สึกเจ็บค่ะ สามารถดูดนมไม่ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องทายาหรือทำอะไร โดยตุ่มพองนี้เรียกว่า Milk Blister หรือ Sucking Blister มักจะเป็นในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด และหลังจากตุ่มพอง พองแล้วก็อาจจะหลุดลอกเป็นแผ่น แล้วก็จะพองใหม่อีก 3-4 รอบ และจะหายไปได้เองในที่สุด ไม่จำเป็นต้องรักษาอะไรค่ะ
ดังนั้น จึงไม่ต้องกังวลว่าลูกจะปากแห้ง จะต้องป้อนน้ำลูกนะคะ อาการ Milk Blister หรือ Sucking Blister นี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับภาวะขาดน้ำแต่ประการใดค่ะ สำหรับวิธีการสังเกตว่าลูกมีภาวะขาดน้ำจากน้ำนมไม่พอนั้น มีวิธีสังเกตดังนี้ค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ทารกปากแห้ง จนเกิดภาวะขาดน้ำ เพราะกินนมไม่พอ มีวิธีสังเกตอย่างไร?
ทารกปากแห้ง จนเกิดภาวะขาดน้ำ เพราะกินนมไม่พอ มีวิธีสังเกตอย่างไร?
ภาวะขาดน้ำในเด็กนั้น เป็นภาวะที่อันตรายในเด็กเล็กเป็นอย่างมาก เนื่องจากทารกไม่สามารถบอกเราได้ว่ากำลังขาดน้ำ หรือได้ทานน้ำนมไม่พอ โดยภาวะขาดน้ำนั้น แบ่งออกตามความรุนแรง เป็น 3 ระดับ โดยมีวิธีสังเกตอาการดังนี้
- ภาวะขาดน้ำน้อย ร่างกายเสียน้ำไปประมาณ 3 – 5% เด็กดูปกติ กระหายน้ำเล็กน้อย ปัสสาวะเริ่มน้อยลง
- ภาวะขาดน้ำปานกลาง ร่างกายเสียน้ำไปประมาณ 6 – 9% เด็กเริ่มกระสับกระส่าย กระหม่อมหน้าบุ๋มเล็กน้อยหรือตาบุ๋มเล็กน้อย ปากแห้ง น้ำตาลดลง ชีพจรเร็ว ปัสสาวะ 1 มิลลิลิตร/น้ำหนักเด็ก 1 กิโลกรัม/ชั่วโมง เด็กบางคนมีหายใจหอบลึก
- ภาวะขาดน้ำมาก ร่างกายเสียน้ำมากกว่า 10% เด็กจะกระวนกระวายและซึมมาก เยื่อบุช่องปากแห้งจนเหี่ยว ไม่มีน้ำตา ตาลึกโหล กระหม่อมบุ๋มมาก ปัสสาวะ 0.5 มิลลิลิตร/น้ำหนักเด็ก 1 กิโลกรัม/ชั่วโมง ซึ่งเด็กบางคนขาดน้ำมากจะเกิดภาวะช็อกตามมา และหากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีจะเกิดผลตามมาที่รุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้
สำหรับวิธีแก้ไขภาวะขาดน้ำน้อยในทารกนั้น คือ ให้ดูดนมแม่ให้บ่อยขึ้น ถ้าลูกดูดไม่เก่ง ให้พาไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่คลินิ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
หมอแจง! อัญชัน ทาคิ้ว ช่วยทำให้คิ้วดกดำจริงหรือ?
หมอแจง! ทำไมลูกตัวเหลือง? อันตรายจากตัวเหลืองในทารก
สีปัสสาวะ สามารถบอกภาวะขาดน้ำได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : พญ. สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ, haamor.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่