AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

12 พฤติกรรม ทำลายสมองลูก ที่พ่อเเม่ยุคใหม่ควรรู้

การดูแลพัฒนาการสมองของลูกน้อย เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อกับคุณแม่ให้ความสำคัญ เพราะพัฒนาการสมองของลูกควรได้พัฒนาอย่างเหมาะสมในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะวัยก่อน 3 ขวบปีที่สมองจะเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ แต่ปัจจุบัน ความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันกลับทำให้วิธีเลี้ยงดูลูกน้อยเปลี่ยนแปลงไป พ่อแม่เล่นกับลูกน้อยลง ลูกดูเข้าถึงหน้าจอเร็วและนานขึ้น อาหารสำเร็จรูปที่สั่งปุ๊บได้กินปุั๊บ กลายเป็นดาบสองคมที่กลับไป ทำลายสมองลูก เรามาลองเช็คกันดีกว่าค่ะ ว่ามีอะไรบ้างที่เป็นศัตรูตัวฉกาจต่อพัฒนาการสมองของลูกน้อย ก่อนจะปล่อยให้สายเกินไป

เช็ค 12 พฤติกรรมควรเลี่ยงเสี่ยง ทำลายสมองลูก

สมองคืออวัยวะสำคัญที่ควบคุมกลไกการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน บันทึกความทรงจำ อารมณ์ ความรู้สึก รวมทั้งสติปัญญาที่เราใช้ในการแสดงศักยภาพ  นอกจากการส่งเสริมทักษะรอบด้านที่ช่วยพัฒนาสมองของลูกน้อยแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงสิ่งอันตรายที่สามารถสมองลูกได้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งมีดังต่อไปนี้

1. ปล่อยให้ลูกเล่นโทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต นานเกินไป

พ่อแม่บ้านไหนที่กำลังวนเวียนอยู่กับ “ฝากลูกไว้กับหน้าจอ”  อาจต้องปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลลูก หลาย ๆ บ้านเพียงแค่ยื่นมือถือหรือแท็บเล็ตให้เด็ก ๆ ทุกอย่างก็จะสงบ ลูกน้อยนิ่งเงียบ ไม่ซุกซนรบกวน ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเป็นการทำร้ายลูกน้อยโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ด้วยเพราะ ภาพในหน้าจอ รวมถึงแสง สี มีการเปลี่ยนค่อนข้างไว ทำให้เด็กคุ้นเคยกับความรวดเร็ว ส่งผลให้เด็กมีอาการสมาธิสั้น

เเต่ในยุคสมัยนี้อาจเป็นเรื่องยากที่จะเลี่ยงไม่ให้ลูก เเตะโทรศัพท์มือถือ แต่ควรมีการควบคุมระยะเวลาให้เหมาะสมตามวัยของเด็ก ๆ

(อ่านต่อบทความน่าสนใจ มือถือ คอมพิวเตอร์ อันตรายเสี่ยงลูกป่วยทางสายตา” / แก้ปัญหาลูกติดมือถือใน 7 วัน”)

 

2. คลื่นมือถือเป็นอันตรายต่อลูก แม้ลูกไม่ได้เล่น 

พฤติกรรม “วางมือถือไว้ใกล้หัวขณะหลับ” เพราะโทรศัพท์สามารถปล่อยคลื่นรังสีออกมา เมื่อสมองรับคลื่นมือถือเข้าไปเป็นเวลาต่อเนื่อง จึงมีความเสี่ยงต่อการถูกทำลายเซลล์สมอง โดยเฉพาะเนื้อเยื่อสมองของเด็กเล็ก ซึ่งดูดซึมรังสีมากกว่าผู้ใหญ่ถึงเกือบ 5 เท่า

3. ปล่อยลูกไว้กับโทรทัศน์

การปล่อยให้เด็กเล็กนั่งดูทีวีติดต่อกันนาน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองโดยตรง โดยเฉพาะพัฒนการด้านภาษา เพราะเด็กขาดการกระตุ้น ขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง อีกทั้งยังใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนั่งอยู่หน้าจอ ปล่อยให้ภาพหลั่งไหลผ่านสายตาไปเรื่อย ๆ ขาดการวิเคราะห์ตาม ซึ่งแตกต่างกับการอ่านหนังสือ ที่เด็กจะได้ใช้ความคิดและสร้างจินตนาการไปพร้อมกับการอ่าน จึงทำให้กระบวนการรับรู้ทางภาษาไม่พัฒนาไปตามวัย

ปัจจุบัน สมาคมกุมารแพทย์ของอเมริกา ได้ออกมาให้คำแนะนำว่า ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบดูโทรทัศน์ และไม่ควรให้เด็ก อายุมากกว่า 2 ขวบ ดูโทรทัศน์เกิน 2 ชม.

4.สร้างความเครียด เรื่องราวสะเทือนใจยิ่ง ทำลายลูก

นักวิทยาศาสตร์พบว่า การที่เด็กประสบภาวะถูกกดดัน เครียด เศร้าสะเทือนใจ จะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลโดยตรง ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าวควบคุมการตอบสนองทางอารมณ์ ทำให้การควบคุมการตอบสนองทางอารมณ์นั้นแย่ลงกว่าปกติ 20 – 30 %  ส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม

เมื่อฮอร์โมนคอร์ติซอลได้รับผลกระทบ และลูกขาดความรัก ความอบอุ่นจากการเลี้ยงดู จึงส่งผลต่อสมองส่วนบนสุดคือคอร์เท็กซ์ และ ลิมบิก ซึ่งสมองส่วนทั้งสองดูแลกรทำงานด้านความคิด และ การแสดงออกทางอารมณ์ เด็กจึงอาจไม่มีพัฒนาการทางสมองที่เหมาะสม ส่งผลทางตรงต่อระบบการเรียนรู้

 

5. ให้ลูกทานอาหารขยะ 

การรับประทานอาหารขยะ ในที่หมายถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย มีแคลอรี่สูง โดยมักประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต ไขมัน หรือโซเดียมในปริมาณมาก เช่น ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม พิซซ่าเป็นต้น   หลาย ๆ คน คงทราบว่าอาหารขยะมีส่วนช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนในวัยเด็ก โรคหัวใจ และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ในอีกด้านหนึ่งเมื่อรับประทานอาหารขยะปริมาณมาก หรือกินบ่อย อาจส่งผลให้ระบบความจำทำงานได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากขาดสารอาหารที่มีประโยชน์ไปบำรุงสมอง ทำให้มีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และเกี่ยวข้องกับภาวะต่าง เช่น ภาวะซึมเศร้า การสูญเสียความจำ การวิตกกังวล  และ ภาวะสมองเสื่อม

ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ควรเลี่ยงการให้ลูกน้อยทานอาหารขยะ อาจให้ทานได้ในรูปแบบนาน ๆ ทีครั้งหนึ่ง แต่ไม่ควรให้ทานมากจนเกินไป เพราะ อาจนำมาซึ่งผลกระทบตามที่กล่าวมาข้างต้น

 

6. ปล่อยลูกทานของหวาน

สมอง ไม่ใช่ความรักที่จะต้องหมั่นเติมความหวานอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะเด็กที่ชอบหม่ำของหวานติดเป็นนิสัยแล้ว ซึ่งส่งผลให้น้ำตาลไปขัดขวางการดูดซึมของโปรตีนและสารอาหาร เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สมองทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร

7. ปล่อยลูกเผชิญปัญหามลพิษ pm2.5

มลพิษทางอากาศที่เราหายใจเอาเข้าร่างกายในทุกวัน เป็นอีกหนึ่งตัวอันตรายสำคัญทำลายสมองได้ โดยเฉพาะฝุ่นละเองขนาดเล็ก pm 2.5ที่กระทบสุขภาพของเด็กโดยตรง ด้วยขนาดฝุ่นพิษที่เล็กจิ๋ว จึงสามารถซึมผ่านเข้าไปยังกระแสเลือดและเดินทางไปถึงส่วนสำคัญอย่าง ปอด หัวใจ และสมองโดยตรง  หากสะสมเข้าไปในร่างกายมาก ๆ จะส่งผลกระทบต่อทักษะด้านการคิด การทำความเข้าใจ และการจดจำ

8.  ปล่อยลูกนอนดึกบ่อย ๆ

เด็กแต่ละวัยก็มีชั่วโมงการนอน หลับพักผ่อนแตกต่างกัน ตามนาฬิกาในสมอง (Biological clock) เด็กเล็กควรนอนตั้งแต่ 2 ทุ่มหรือ 2 ทุ่มครึ่งช้าที่สุด นอนหลับลึกช่วงกลางคืน 10-12 ชั่วโมง ถ้าหากนอนดึก ตื่นเช้าบ่อย ๆ แล้วล่ะก็  อาจทำให้เด็ก ๆ สูงไม่ตรงตามเกณฑ์ของวัย เเละ อาจจะทำให้เซลล์สมองไม่ได้รับการทดแทนจากการฟักตัวของเซลล์ใหม่ เซลล์สมองที่ตายแล้วจะสะสมจนมีปริมาณมาก ทำให้สมองไม่พัฒนาเท่าที่ควร

9. ลูกได้รับสารอาหารจากมื้อเช้า ไม่เพียงพอ

อาหารเช้าเป็นแหล่งพลังงานมื้อสำคัญของร่างกาย เพื่อเตรียมพร้อมกับกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโตตั้งแต่อนุบาล ประถม จำเป็นต้องรับประทานอาหารเช้า เพราะมีส่วนช่วยในการทำงานกลไกของสมองซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก การงดอาหารเช้า หรือ กินอาหารเช้าที่สารอาหารไม่ครบถ้วน จึงอาจนำไปสู่ปัญหาในเรื่องของความจำ การเรียนรู้

เด็กควรได้รับสารอาหารให้ครบ ทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ในแต่ละวันได้ใช้พลังงานอย่างเต็มที่ ระยะเวลาทานอาหารเช้าที่เหมาะสม คือช่วง 7.00 – 9 โมงเช้า เพราะเป็นช่วงที่ระบบย่อยอาหารจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

10. ของเล่นไม่ได้มาตรฐาน

ของเล่นสีสวย น่าเล่นอาจมีสารพิษและสารเคมีประเภทตะกั่วหรือสารปรอทปนเปื้อนอยู่ เด็กเล็กๆมันหยิบของเล่นเข้าปากเป็นประจำ จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่ง หากไสั่งสมเป็นเวลานาน และปริมาณมากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นอันตรายต่อสมองได้ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้อของเล่นที่ได้รับเครื่องหมาย มอก. (มาตรฐานอุตสาหกรรม) จึงจะมั่นใจได้ว่าปลอดภัยแน่นอน

11. ปล่อยลูกอยู่ใกล้ควันบุหรี่

สำหรับบ้านที่เต็มไปด้วยควันบุหรี่ สภาพแวดล้อมในบ้านไม่ปลอดโปร่ง อาจทำให้สมองของเด็กได้รับสารพิษ และเป็นการสกัดกั้นและบั่นทอนศักยภาพสมองให้ลดลงได้ เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะที่ต้องการออกซิเจน และอากาศที่สดชื่น

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกประเมินว่า ครึ่งหนึ่งของประชากรเด็กทั้งโลก ได้หายใจเอาอากาศที่ปนเปื้อนควันบุหรี่เข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเด็กอยู่ในบ้าน จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเด็กมากๆ เพราะยิ่งเด็กหายใจเข้าไปมากเท่าไร สมองก็ยิ่งจะเสื่อมลงไปทุกที ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย ควรคิดให้ดีก่อนจุดบุหรี่ขึ้นมาสูบในบ้าน

12. ตามใจนิสัยการกินของลูก จนเด็กน้อยอ้วนตุ๊ต๊ะ 

จากสถิติพบว่าเด็กไทย 1 ใน 5 เสี่ยงต่อภาวะการเป็นโรคอ้วน ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างน่ากังวล เนื่องจากการปล่อยให้ลูก ๆ มีภาวะการเป็นโรคอ้วนนับเป็นความเสี่ยงทางสุขภาพ

หากคุณลูกเลือกหม่ำทุกอย่างที่ขวางหน้า จนน้ำหนักตัวเริ่มฉุดไม่อยู่แล้ว กลายเป็นคนอ้วนตุ๊ต๊ะขึ้นมา ก็อาจส่งผลให้เส้นเลือดในสมองหนาขึ้น เพราะการเกาะตัวของไขมันจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้จะส่งผลทำให้สมองทำงานได้ช้าลงเช่นเดียวกัน

มั่นใจ 12 พฤติกรรมเลี่ยงเเล้วไม่ ทำลายสมองลูก

การลดความเสี่ยงของปัจจัยต่าง ๆ ที่ ทำลายสมองลูก ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการสำคัญที่จะช่วยให้ลูกน้อยเติบโตมาด้วยสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สามารถใช้ศักยภาพสมองได้อย่างเต็มที่ พร้อมรับมือกับการใช้ชีวิตในอนาคต


ขอบคุณที่มาของข้อมูล :  หนังสือ “คู่มือ พัฒนา สมองลูกด้วยสองมือพ่อเเม่” เรียบเรียงจากนิตยสารบทความนิตยสารรักลูก

โพสต์ทูเดย์  MThai BangkokHealth  คณะการเเพทย์แผนไทยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

อ่านบทความเพิ่มเติม

อาหาร ขยะ ภัยร้ายทำลายสมองลูกไอคิวต่ำ !!

9 สิ่งอันตราย รอบตัวแม่ท้อง “ทำลายสมองและพัฒนาการลูกในครรภ์”

เตือนแม่ท้อง สูดฝุ่น PM2.5 เสี่ยงทำลายสมองลูก

ปล่อยให้ลูกร้องไห้นานๆ ทำลายสมองจริงหรือ?