การ เลี้ยงลูกแบบญี่ปุ่น เบื้องหลังความฉลาดของคนญี่ปุ่น ปัจจัยหลักที่สำคัญมาจากการเลี้ยงดูในวัยเด็กค่ะ เพราะว่าเด็กส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นจะโตมาด้วยสองมือของแม่ ทำให้การเติบโตสมวัย มีพัฒนาการที่ดีในทุกด้าน และในรับความรักความใกล้ชิดอย่างเต็มที่
เลี้ยงลูกแบบญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นเขาเลี้ยงลูกกันอย่างไร
สำหรับวิธีการเลี้ยงลูกของคนไทย คือ คนไทยส่วนใหญ่เอาใจใส่ลูกทำทุกๆอย่างเพื่อลูกเด็กไทยก็เลยติดพ่อ แม่ หรือผู้ที่เลี้ยงดูใกล้ชิด ทำให้เด็กไทยทำอะไรตัวคนเดียวไม่ได้ แต่การวิธีการเลี้ยงลูกของคนญี่ปุ่น คือ คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่เมื่อรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ก็จะลาออกจากงาน เพื่อทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้ลูก และจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนลูกอายุ2ปีแล้วค่อยปล่อยลูกให้ลูกแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รับผิดชอบชีวิตด้วยตนเอง ดังนั้นเด็กชาวญี่ปุ่นจึงมีความขยัน อดทน และพึ่งพาตนเองได้
-
เพราะเหตุใดจึงแตกต่างกัน
วิธีการเลี้ยงลูกของคนไทยกับญี่ปุ่น แตกต่างกัน ตรงที่ว่า แม่ชาวญี่ปุ่นจะให้อิสระแก่ลูก ให้ลูกกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกตั้งแต่เล็กๆ หัดให้ลูกช่วยตนเอง รับผิดชอบตนเอง ผิดกับคนไทยที่จะให้ลูกอยู่แต่ในกรอบที่พ่อแม่กำหนดไว้ทำให้ลูกไม่รู้จักโต ต้องขอเงินพ่อ แม่ใช้อยู่ตลอด ไม่แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เด็กไทยจึงขาดความเป็นผู้นำ
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : Life grid อย่าเลี้ยงลูกให้โตไปเป็นเด็กอนุบาล
-
ผลที่ออกมาลักษณะของเด็กแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
จาการเลี้ยงดูนั้นทำให้เด็กไทยและเด็กญี่ปุ่นที่มีอายุเท่ากัน ย่อมมีความแตกต่าง เพราะเด็กไทยโตขึ้นมาถึงจะอายุมากแต่ก็ติดพ่อแม่ และยังขอเงินพ่อแม่ใช้เหมือนเดิม ส่วนเด็กญี่ปุ่นจะมีความอดทน ความเป็นผู้นำสูง ขยัน และกล้าคิด กล้าทำ กล้าต่อสู้กับปัญหาด้วยตนเอง
ซึ่งหากคนไทยนำวิธีการเลี้ยงแบบนี้มาเลี้ยงลูก ก็จะทำให้เด็กไทยจะมีความเป็นผู้นำสูง กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกและกล้าเผชิญกับปัญหา
-
ผลที่ตามมาดีหรือไม่ดี เหมาะสมกับสังคมไทยหรือไม่ อย่างไร
ซึ่งผลนั้นย่อมดีและเหมาะสมกับสังคมไทยตอนนี้ เพราะสังคมไทยต้องการความเป็นผู้นำสูงจะได้นำพาประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง เนื่องจากคนไทยมีความคิด ความกล้า เป็นของตนเอง
ทั้งนี้ ด้านสื่อของประเทศออสเตรเลีย ได้เผยแพร่สารคดีที่สะท้อนภาพสังคมของญี่ปุ่น ซึ่งฝึกเด็กให้แข็งแกร่ง ปล่อยให้เดินทางไปโรงเรียนเองระยะทางไกลๆ โดยตั้งแต่เริ่มเรียนประถมศึกษา ซึ่งจากคลิปสารคดี ผู้เป็นแม่ชาวญี่ปุ่นชี้ว่า นี่เป็นการฝึกให้เด็กพึ่งพาและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ขณะที่ฝรั่งเผย แม้แต่ชุมชนในเมืองซิดนีย์ที่ว่าปลอดภัยก็ยังไม่กล้า
อ่านต่อ >> “เลี้ยงลูกแบบญี่ปุ่น ให้พึ่งพาตัวเองได้ มีวินัย ไม่งอแง” (มีคลิป) คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
สารคดี Japan’s independent kids จาก SBS VICELAND
โดยคลิปวีดีโอนี้เป็นสารคดีเรื่อง “เด็กพึ่งตัวเองของญี่ปุ่น (Japan’s independent kids)” ในช่วงรายการเดอะฟีด (The Feed) ซึ่งเผยแพร่ผ่านทาง youtube ด้วย โดยเนื้อหาเป็นคลิปวิดีโอความยาว 8.21 นาที กล่าวถึงสังคมญี่ปุ่นที่ พ่อแม่ผู้ปกครองมีธรรมเนียมปฏิบัติให้ลูกช่วยเหลือพึ่งพาตัวเอง และเดินทางไปโรงเรียนเองตั้งแต่ยังเล็ก
ในสารคดีดังกล่าวได้ยกตัวอย่าง ชีวิตประจำวันของสามพ่อแม่ลูกแห่งครอบครัวอันโด ที่คุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกสาววัย 7 ขวบเดินทางไปโรงเรียนเองทุกเช้าเป็นระยะทางไกลทั้งเดินด้วยเท้า และขึ้นรถไฟต่อเนื่องหลายสายกว่าจะถึงจุดหมาย
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : ข้อคิดจากการ “เดินไปโรงเรียน” ของเด็กญี่ปุ่น
“เธออาบน้ำ แปรงฟัน สระผมด้วยตัวเอง … ฉันคิดว่าก็นอกจากการดูแลบ้านแล้ว เธอก็ดูแลตัวเองได้เกือบหมด” ซาโตโกะ อันโด คุณแม่วัย 39 ปีบอก “เนื่องจากโรงเรียนของเธออยู่ไกล ทำให้เธอต้องเดินทางไปเรียนด้วยรถไฟ ซึ่งเธอเดินทางไปเอง”
“หนูเดินไปสถานีรถไฟเอง ก่อนขึ้นรถไฟสายยามาโนเตะไปที่ชินจูกุ จากชินจูกุก็เปลี่ยนไปรถไฟสายชูโอ เพื่อไปปลายทางที่โคคุบันจิ” ดญ.โนเอะ อันโด สาธยายวิธีการเดินทางไปเรียนของเธอให้ฟังอย่างละเอียด
ขณะที่คุณแม่ยืนยันว่าลูกสาวต้องเดินทางไปโรงเรียนด้วยตัวคนเดียวโดยไม่มีพ่อแม่ ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะทำให้เธอต้องเรียนรู้ในการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเกิดหลงทางหรือขึ้นรถไฟผิดขบวนก็ต้องแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ไม่อย่างนั้นก็จะกลับบ้านไม่ได้
ด้านสื่อออสเตรเลียระบุว่า ครอบครัวอันโดไม่ได้เป็นครอบครัวญี่ปุ่นครอบครัวเดียวที่ปล่อยให้เด็กๆ เดินทางไปและกลับโรงเรียนเป็นระยะทางไกลๆ เอง แต่ครอบครัวชาวญี่ปุ่นมีการปลูกฝังเด็กให้พึ่งพาตัวเองตั้งแต่ยังอายุน้อยมากๆ เช่นนี้เป็นเรื่องปกติ ซึ่งวัฒนธรรมเช่นนี้แตกต่างจากครอบครัวชาวออสเตรเลียอย่างชัดเจน แม้ว่าอัตราการเกิดอาชญากรรมกับเด็กในชุมชนจะน้อยมากเหมือนสังคมญี่ปุ่นก็ตาม แต่พ่อแม่ชาวออสเตรเลียก็ยังไม่วางใจให้ลูกเดินทางไปโรงเรียนเองจนกระทั่งขึ้นชั้นมัธยมปลาย แม้ตัวเด็กเองจะมีความประสงค์ก็ตาม
นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตด้วยว่า สังคมญี่ปุ่นออกแบบให้วิถีชีวิตประชาชนเป็นเช่นนี้เพื่อที่ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองจะได้ไม่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและระบบการทำงานในบริษัท หรือในองค์กรเพื่อสนองตอบต่อการเลี้ยงดูเด็กและเยาวชน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
จากคลิปสารคดี Japan’s independent kids จึงเกิดคำถามที่น่าสนใจที่ว่า? คนญี่ปุ่นเขาเลี้ยงลูกอย่างไร จึงทำให้เด็กๆ รู้จักการรับผิดชอบตัวเองได้ตั้งแต่อายุน้อยๆ แล้วทำไมพ่อแม่ชาวญี่ปุ่นถึงเชื่อใจเด็กๆ และยอมปล่อยให้ลูกน้อยเผชิญการเดินทางคนเดียวได้อย่างมั่นใจ
ซึ่งพฤติกรรมการช่วยเหลือตัวเองได้ตั้งแต่ยังเด็ก และการปล่อยให้ลูกเดินทางขึ้นรถไฟไปโรงเรียนเองทุกวัน อาจเป็นเรื่องที่น่าแปลกและน่าตกใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายประเทศ แต่สำหรับที่ญี่ปุ่นนั้น เราจะพบเห็นเด็กน้อยที่เดินทางไปไหนมาไหนคนเดียวได้จนชินตา
ซึ่งถ้าไม่นับเรื่องความปลอดภัยของบ้านเมืองที่ประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทย ที่ญี่ปุ่นนั้นสามารถตัดความกังวลใจเรื่องการปล่อยให้เด็กๆ ได้เดินไปไหนมาไหนได้ตามลำพังแล้ว ในเรื่องการเลี้ยงลูกของพ่อแม่ชาวญี่ปุ่น และการได้รับการอบรมสั่งสอนในโรงเรียนนั้นถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการบ่มเพาะวินัยในตัวเองให้กับเด็กญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก
โดย ดเวย์น ดิกซ์สัน นักมนุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัยดุ๊ก ได้ศึกษาถึงเหตุผลที่ว่าทำไมเด็กญี่ปุ่นถึงสามารถรับผิดชอบตัวเองได้ตั้งแต่ยังเล็กซึ่งแตกต่างจากเด็กๆ ชาวตะวันตกไว้ว่า
1. ยอมปล่อยให้เด็กมีอิสรภาพและให้ลองรับผิดชอบตัวเองตั้งแต่ยังเล็ก
เช่น เด็กญี่ปุ่นส่วนมากเมื่ออายุได้ตั้งแต่ 2 ขวบ คุณพ่อคุณแม่ชาวญี่ปุ่นก็ลองปล่อยให้ลูกน้อยได้ช่วยเหลือตัวเองเท่าที่ลูกจะทำได้ แต่ก็มีการดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น ให้ลองใส่เสื้อผ้า ตักข้าวกินเอง และให้ลองแปรงฟันด้วยตัวเอง และเมื่อลูกๆ ทำได้ก็จะพูดชมเชย เช่น “โอ้โห ลูกทำเองคนเดียวเลยเหรอ เก่งมาก” แต่ก็มีสิ่งที่ควรระวังก็คือ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกๆ ทำอะไรเกินความสามารถที่ร่างกายของพวกเขายังไม่สามารถทำได้และต้องไม่กดดันลูกน้อยเกินไป
2. โรงเรียนในญี่ปุ่นสอนให้เด็กๆ รู้จักรับผิดชอบแบบส่วนรวม โดยการให้ลงมือทำ
เช่น แทนที่จะให้เด็กๆ วางถาดอาหารกลางวันเมื่อกินเสร็จ โรงเรียนที่ญี่ปุ่นกลับให้เด็กๆ ล้างถาดอาหารของตัวเองให้เรียบร้อย หรือเมื่อถึงเวลาเล่นของเล่นเสร็จก็ต้องเก็บให้เข้าที่เดิม ฯลฯ ซึ่งผลลัพธ์ของการให้เด็กๆ รู้จักรับผิดชอบของส่วนรวมตั้งแต่ยังเป็นเด็กน้อยนี้ ก็มีผลอย่างมากต่อการสร้างนิสัยรักระเบียบและเกรงอกเกรงใจผู้อื่นเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากสังคมญี่ปุ่นที่ไม่ว่าจะเป็นการต่อคิวอะไร คนญี่ปุ่นก็ยืนต่อแถวกันเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ หรือการไม่ทิ้งขยะเรี่ยราดรายทางตามท้องถนนของคนญี่ปุ่น เป็นต้น
3. การเลี้ยงลูกที่ใกล้ชิดแต่ไม่ตามใจ
การเลี้ยงลูกแบบนี้ทำให้เด็กๆ มีการกำกับควบคุมตัวเอง ที่เร็วกว่าเด็กชาวตะวันตกที่ถูกเลี้ยงดูมาในลักษณะให้กล้าแสดงออกและกล้าบอกความรู้สึกของตัวเอง ซึ่งทำให้เด็กชาวตะวันตกนั้นมีการรับรู้ตัวเอง เร็วกว่าเด็กชาวญี่ปุ่น และการเลี้ยงดูที่แตกต่างกันทั้ง 2 แบบนี้เอง ทำให้เด็กญี่ปุ่นส่วนมากเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีระเบียบวินัยและมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเพราะไม่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ในขณะที่เด็กๆ ในประเทศฝั่งตะวันตกจะเป็นตัวของตัวเอง กล้าคิดและกล้าแสดงออก
ทั้งจะเห็นได้ว่าการฝึกให้เด็กมีความเป็นอิสระ และมั่นใจนี้ พ่อแม่ไม่เพียงแต่ไว้วางใจในตัวเด็กอย่างเต็มที่เท่านั้น แต่พวกเขายังมั่นใจในชุมชนทั้งหมดอีกด้วย “มีเด็กจำนวนมากที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้อาศัยอยู่ทั่วโลก” ดเวย์น ดิกซ์สัน กล่าวสรุป และยังบอกอีกว่าแต่สิ่งที่ชาวตะวันตกรู้สึกประทับใจในญี่ปุ่นนั้น คือความรู้สึกของความไว้วางใจและความร่วมมือที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยไม่จำเป็นต้องพูดหรือร้องขอใดๆ เลย นั้นคือสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นมีซึ่งไม่เหมือนประเทศฝั่งตะวันตก
อย่างไรก็ตาม หากจะพูดถึงการเลี้ยงเด็ก ก็คงไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ว่าวิธีเลี้ยงแบบใดดีกว่ากัน แต่การได้เรียนรู้ถึงวิธีการสอนและวิธีการเลี้ยงดูเด็กในหลายๆ วิธี ของคนต่างสังคมและต่างวัฒนธรรม ก็น่าจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ชาวไทยหลายๆ คนได้ลองนำไปเปรียบเทียบถึงข้อดีและข้อเสียของการสอนลูกๆ ได้ แบบไหนน่าเอาอย่างและน่าจะนำมาปรับใช้กับเด็กๆ ในบ้านได้
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!
- 7 เรื่องพื้นฐานที่ควรสอนลูกให้ติดเป็นนิสัย! ตามแบบฉบับคนญี่ปุ่น
- 5 เทคนิค ฝึกระเบียบให้ลูก แบบครอบครัวญี่ปุ่น
- สร้างวินัยให้ลูก เหมือนเด็กญี่ปุ่น พ่อแม่ทำได้!
- วิธีฝึกลูกน้อยสู่คนคุณภาพ ตามแบบญี่ปุ่น
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.citylab.com , www.winnews.tv , www.jokergameth.com