AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ท่านอนของทารก ท่าไหนปลอดภัย ท่าไหนอันตราย?

ท่านอนของทารก

ท่านอนของทารก เป็นสิ่งที่แม่ ๆ ควรสังเกต เนื่องจากท่าที่ทารกนอนบางท่า อาจทำให้เกิดอันตรายจากโรค Sudden Infant Death Syndrome (SIDS) หรืออาการเสียชีวิตกระทันหันของทารกได้

ท่านอนของทารก ท่าไหนปลอดภัย ท่าไหนอันตราย?

อาการเสียชีวิตกระทันหันของทารก หรือ  Sudden Infant Death Syndrome นั้น เป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตลูกน้อยมากกว่าสามพันคนต่อปี โดยสาเหตุหลักของการเสียชีวิตกระทันหันนี้ ได้แก่

ท่านอนของทารก ท่าไหนปลอดภัย ท่าไหนอันตราย?

1. ท่านอนหงาย

ทารกแรกเกิดควรจะนอนในท่าหงาย ไม่ว่าจะเป็นการนอนกลางวันในช่วงสั้น ๆ หรือช่วงเวลากลางคืนก็ตาม การนอนหงายจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคไหลตายในทารก (SIDS) ได้เป็นอย่างดี เพราะท่านี้จะช่วยให้ระบบทางเดินหายใจของทารกทำงานได้สะดวก ข้อเสียเพียงอย่างเดียวของทารกที่นอนหงาย คือ อาจทำให้ทารกหัวเบี้ยว หัวแบนได้ อย่างไรก็ตาม อาการหัวเบี้ยวหัวแบนจะกลับมาเป็นปกติเมื่ออายุ 1 ขวบ แต่อาการนี้ คุณแม่สามารถป้องกันได้โดยการจัดศีรษะทารกให้สลับด้านบ่อย ๆ ระหว่างหลับ

2. ท่านอนคว่ำ

ความอันตรายของการนอนคว่ำนั้น คือ ทารกอาจขาดอากาศหายใจจนทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากท่านอนที่กดบริเวณกราม จะทำให้ไปปิดอากาศที่จะเข้าไปในร่างกาย โดยเฉพาะทารกที่นอนในที่นอนที่นิ่มจนเกินไป จะทำให้ทารกหายใจไม่ออกได้ นอกจากนี้ การนอนคว่ำ จมูกของทารกจะอยู่แนบชิดกับเตียงนอนที่อาจจะมีฝุ่นหรือเชื้อโรคเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ทารกต้องหายใจนำฝุ่นเข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งสิ่งนี้อาจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคภูมิแพ้ในเด็กได้

สำหรับทารกบางคนที่มีกรดไหลย้อนรุนแรงหรือมีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ แพทย์บางคนอาจพิจารณาว่าการนอนคว่ำในเด็กที่มีโรคนี้อาจอันตรายน้อยกว่า เนื่องจากเด็กอาจอาเจียนขณะนอนหลับจนทำให้สำลักได้ และไม่มีแรงพอที่จะหันคอเพื่อหายใจ อย่างไรก็ตามแพทย์จะพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นหากให้ทารกนอนคว่ำ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนนะคะ

ท่านอนคว่ำเป็นท่าที่จะช่วยให้ทารกนอนหลับสบาย ไม่สะดุ้งตื่นบ่อย แต่กลับอันตราย เพราะเป็นสาเหตุของโรคไหลตายในทารก

3. ท่านอนตะแคง

การให้ลูกนอนตะแคงนั้นมีความอันตรายไม่ต่างจากท่านอนคว่ำ เพราะเมื่อลูกอยู่ในวัยที่สามารถพลิกคว่ำได้แล้ว จะทำให้ลูกพลิกไปนอนในท่านอนคว่ำได้ และหากกล้ามเนื้อคอยังไม่แข็งแรงพอที่จะหันไปมา หรือหันคอไปด้านข้างได้ จะทำให้ลูกหน้าคว่ำจนขาดอากาศหายใจได้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ 10 วิธีป้องกันโรคไหลตายในทารก

10 วิธีป้องกันโรคไหลตายในทารก

  1. ควรแยกที่นอนทารกออกจากที่นอนของพ่อแม่ วัสดุรองนอนของทารกต้องแข็งแรงและไม่อ่อนยวบเมื่อวางตัวทารกลงไปเพราะอาจเป็นสาเหตุของการอุดทางเดินหายระหว่างหลับได้ ไม่นำตุ๊กตาหรือของเล่นวางไว้บนที่นอนของทารก วัสดุที่ใช้กันขอบเตียงควรใช้ผ้าทอรูปร่างคล้ายตาข่ายที่สามารถหายใจผ่านได้สะดวกและห้ามมีรอยต่อระหว่างเตียงนอนของทารกเพราะเด็กอาจพลิกตัวคว่ำหน้าลงไปในรอยต่อนั้นได้
  2. อย่าหาอะไรมาคลุมหัวลูก การห่มผ้าห่มให้ทารกที่ถูกต้องนั้น ไม่ควรห่มเหนือหน้าอก และควรนำมือของทารกออกมาทับผ้าห่ม เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกปัดผ้าห่มขึ้นมาปิดหน้าและจมูกได้ การห่มผ้าควรเลือกเฉพาะผ้าห่มที่สามารถหายใจผ่านได้ ไม่ควรใช้ผ้าห่มนวมหนาในการห่มตัวทารก นอกจากนี้ ถุงนอน ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่นำมาใช้แทนผ้าห่มได้ เนื่องจากคุณแม่จะมั่นใจได้ว่าลูกจะไม่ปัดผ้าห่มมาปิดหน้าตัวเองได้ และสำหรับทารกแรกคลอด การห่อตัวจะช่วยป้องกันไม่ให้ทารกพลิกตัวได้อีกทางหนึ่ง และยังช่วยให้ลูกไม่สะดุ้งตื่นได้อีกด้วย
  3. อุณหภูมิของห้องนอนทารกไม่ควรอุ่นหรือเย็นเกินไป เนื่องจากอากาศที่ร้อนทำให้ทารกไม่สบายตัว หายใจลำบากมากขึ้น ส่วนอากาศที่เย็นเกินไปอาจทำให้ทารกป่วยได้ อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับทารกคือ 25-26 องศาเซลเซียส
  4. ในบางงานวิจัย ระบุว่าการได้รับวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ตรงตามกำหนดฉีด นอกจากจะช่วยป้องกันโรค ยังจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคไหลตายในทารกได้อีกด้วย
  5. ใช้จุกนมปลอม (เฉพาะช่วงเวลาที่ลูกหลับ) เพื่อให้ทารกหลับสบายขึ้น เพราะการดูดจุกนมมีส่วนช่วยให้ทารกหายใจได้สม่ำเสมอ
  6. จัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้น่านอนอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมของควันไฟโดยเฉพาะควันบุหรี่ เพราะเป็นสาเหตุหลักของการหายใจที่ผิดปกติของทารกอาจก่อให้เกิดภูมิแพ้หรือหลอดลมตีบเฉียบพลันได้
  7. ใช้เทคโนโลยี ในสมัยนี้ที่มีเครื่องมือ และอุปกรณ์ในการอำนวยความสะดวก และป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ อยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นกล้องวงจรปิดสำหรับมองดูทารก (Baby Monitors) หรือคุณพ่อคุณแม่สามารถใช้แอพพลิเคชั่นในการตรวจวัดอุนหภูมิร่างกายของลูก หรือการแจ้งเตือนเมื่อลูกนอนอยู่ในท่าที่อันตราย เป็นต้น
  8. ไม่ควรนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่ โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา เนื่องจากอาจจะหลับสนิทจนเผลอทับทารกได้
  9. สำหรับ ท่านอนของทารก ควรให้เด็กทารกนอนหงาย เพราะทารกจะหายใจนำอากาศเข้าปอดได้ดีกว่าท่านอนคว่ำ
  10. ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ถึงแม้ยังไม่มีการศึกษาแน่ชัดว่านมแม่มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคไหลตายในทารกได้หรือไม่ แต่การศึกษาวิจัยพบว่านมแม่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะไหลตายในทารกได้ นอกจากนั้นนมแม่ยังอุดมไปด้วยภูมิคุ้มกันจากแม่และเป็นสายใยรักของแม่ส่งผ่านสู่ทารกโดยตรงอีกด้วย
การที่พ่อแม่ที่สูบบุหรี่หรือดื่มเหล้าแล้วนอนกับลูก อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคไหลตายในทารกได้ เพราะพ่อแม่นอนหลับสนิท

ในเด็กทารกวัยแรกเกิด – 1 ขวบ ใช้เวลาในการนอนมากกว่าเด็กโต ท่านอนของทารก จึงมีความสำคัญ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรคอยระมัดระวัง และจัดท่านอนให้ลูก โดยให้ลูกนอนในท่าและสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ก็จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่คาดไม่ถึงได้

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

พ่อแชร์เทคนิคดี๊..ดี ฝึกลูกนอนเอง นอนยาว แบบ “Cry it out”

ไอเดียสุดเจ๋ง ถุงมือแทนมือแม่แก้ ลูกติดมือ นอนหลับยาก

แม่อยากรู้ ลูกนอนหนุนหมอน ได้เมื่อไร?

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.momjunction.comwww.pharmacy.mahidol.ac.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids