AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกติดมือ ไม่มีจริง! ยิ่งอุ้มลูกบ่อย ลูกยิ่งเลี้ยงง่าย อารมณ์ดี

คุณพ่อคุณแม่ไม่ว่าจะมือใหม่หรือมือเก่า น่าจะเคยได้ยินคำแนะนำจากผู้ใหญ่หรือคุณย่าคุณยายมาบ้างว่า “ อย่า อุ้มลูกบ่อย เดี๋ยวจะทำให้ติดมือ! ”     เพราะเมื่อลูกน้อยร้องไห้ทีไร   เมื่อเข้าไปอุ้มลูกก็จะหยุดร้องไห้ทันที!   ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนชะงัก  ลังเลที่จะอุ้มลูกเวลาร้องไห้    กลัวว่าอุ้มแล้วจะทำให้ลูกเคยตัว  ทำให้ต้องอุ้มตลอดเวลา เหมือนที่ผู้ใหญ่เตือนมาหรือเปล่า?

อุ้มลูกบ่อย จะติดมือไหม ปัญหาคาใจพ่อแม่มือใหม่

ก่อนอื่นอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจกันใหม่   โดยต้องถอดคำว่า “ติดมือ” ออกจากพจนานุกรมของการเลี้ยงลูกไปเลย โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่มีเบบี๋วัยแรกเกิด  0-6 เดือน งานวิจัยและคุณหมอเด็กหลายท่านให้ข้อมูลไปในทางเดียวกันว่า เด็กแรกเกิดเคยชินกับการใช้ชีวิตอยู่ในท้องคุณแม่ที่แสนอบอุ่น มืดๆ ห่อๆ  มีน้ำคร่ำที่ทำให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวยุกยิกอยู่ตลอดเวลา

แต่พอออกมาลืมตาดูโลกแล้ว โลกนี้มันช่างกว้างใหญ่ หนูนอนอยู่คนเดียวมันเคว้งคว้าง น่ากลัวเสียเหลือเกิน ด้วยเหตุนี้ หนูเลยต้อง “สื่อสาร” บอกพ่อแม่ให้รู้ว่า “หนูไม่โอเคกับความรู้สึกโดดเดี่ยวแบบนี้นะ”   ใครก็ได้ช่วยมาให้ความอบอุ่นหนูหน่อยเถอะ

MUST READ : ปล่อยให้ลูกร้องไห้นานๆ ทำลายสมองจริงหรือ?

MUST READ: แม่อุ้มลูก ข้างซ้ายเพราะอะไร

” อุ้มลูกบ่อยไม่ดี”   แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าตอนไหนควรอุ้ม

สำหรับเด็กแรกเกิด – 6 เดือน ไม่มีคำว่า “อุ้มลูกบ่อย เกินไป” หรือ “ติดมือ” เมื่อลูกเรียกร้อง คุณแม่ควรอุ้มลูกเสมอ เพราะเด็กวัยนี้กำลังสร้างความไว้ใจ (trust) กับโลกใบใหม่  และผู้มีบทบาทสำคัญที่สุด ก็คือแม่หรือคนเลี้ยงดู ทารกที่ได้รับการตอบสนอง มีคนมาอุ้ม กอด พูดคุยปลอบโยน จะมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เลี้ยง เด็กจะมั่นใจว่ามีคนคอยดูแล

เมื่อโตขึ้น เด็กๆเหล่านี้จึงมีแนวโน้มที่จะเลี้ยงง่าย มีความมั่นคงทางจิตใจ และอารมณ์ดี ต่างกับเด็กทารกที่ไม่มีคนดูแล           ทำความสะอาดร่างกาย ปล่อยให้ไม่สบายตัวหรือหวาดกลัวนานๆ ซึ่งนั่นอาจทำให้เด็กขาดความอบอุ่น โตขึ้นมักมีนิสัยเรียกร้องความสนใจตามมา

แต่เมื่อลูกโตขึ้น และเข้าสู่วัย 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พ่อแม่และลูกน้อยทำความรู้จักจนเริ่มรู้ใจ   ไว้ใจกันมากขึ้นแล้ว อาจไม่ต้องเด้งตัว พุ่งไปหาลูกทันทีอเวลาได้ยินเสียงร้องไห้ เหมือนตอนช่วงแรกๆ  แค่ส่งเสียงตอบรับรู้ พูดคุย บอกให้รอ แล้วค่อยๆ วางมือจากภารกิจตรงหน้าอย่างไม่เร่งร้อน  ก่อนไปหาลูก วิธีการนี้จะช่วยให้ลูกเริ่มรู้จักการรอคอยและเชื่อใจว่า  เดี๋ยวก็จะมีคนมาดูแลแน่นอน

อ่าน เทคนิคแสดงความรักแบบลูกไม่ติดมือ หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ถ้าอุ้มลูกบ่อย มีผลดีขนาดนี้ ต้องอุ้มตลอดเวลาเลยหรือเปล่า

ถึงแม้การตอบสนองทารกอย่างเต็มที่ ให้ความรักความอบอุ่นอยู่ตลอดเวลาจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าการกระทำนี้ ทำให้พ่อแม่รู้สึกเหนื่อยเกินไป หรือถึงขั้นไม่ได้หลับได้นอน ก็อาจเกิดผลเสียตามมาอีกมาก ดังนั้นช่วงไหนที่คุณแม่รู้สึกเหนื่อยมาก อ่อนล้า หรือพอดีกับช่วงที่ลูกหลับ ลองใช้เทคนิคเสริมสร้างความอบอุ่น (แบบเสมือน) เพื่อให้ลูกสงบและและพ่อแม่มีเวลาพักผ่อนดูบ้าง เช่น

MUST READ : ถุงมือแทนมือแม่แก้ ลูกติดมือ นอนหลับยาก

แต่หากอุ้มลูกบ่อยแล้วให้กินนม เปลี่ยนผ้าอ้อม ตรวจดูร่างกายแล้วว่าไม่ป่วยหรือผิดปกติใดๆ ลูกยังร้องไห้หนัก ร้องไห้เกิน 50% ของเวลาที่ตื่นนอน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพของลูกว่ามีอะไรผิดปกติหรือเปล่า แต่ถ้าอุ้มแล้วหาย แต่วางปุ๊บร้องปั๊บ ต้องอุ้มกันตลอด    คุณพ่อคุณแม่คงต้องทำใจร่มๆ ส่งยิ้มหวาน  ปาดเหงื่อเบาๆ แล้วคิดว่าลูกจะติดหนึบเราแบบนี้อีกไม่นาน   ถ้าวันไหนลูกไม่ให้อุ้มแล้วอาจจะเสียดายทีหลัง ใช้ช่วงเวลาได้อุ้ม กอดลูกแบบนี้ให้คุ้มค่าที่สุด  เพราะสิ่งที่สำคัญกว่าความกังวลว่า “ลูกจะติดมือ” คือการสร้างพื้นฐานทางอารมณ์ นิสัย และความมั่นคงทางจิตใจที่จะติดตัวลูกรักไปอีกนานแสนนานนั่นเอง

บทความน่าสนใจอื่นๆ 

วิธีอุ้มลูก ที่ถูกต้องจะช่วยทำให้หยุดร้องไห้ได้

โรคในทารกแรกเกิด 10 โรคฮิตลูกมักเป็นในขวบปีแรก

 


แหล่งข้อมูล  www.metroparent.com, www.thebabycorner.com, พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids