โรคกลัวสังคม

8 วิธีป้องกันลูกจาก “โรคกลัวสังคม (ฮิคิโคโมริ ซินโดรม)”

Alternative Textaccount_circle
event
โรคกลัวสังคม
โรคกลัวสังคม

โรคกลัวสังคม หรือ ฮิคิโคโมริ ซินโดรม เป็นอาการทางจิตอย่างหนึ่ง ที่หากปล่อยไว้ อาจนำไปสู่โรคซึมเศร้า และการฆ่าตัวตายในที่สุด พ่อแม่จึงควรป้องกันลูกให้ห่างไกลจากโรคนี้ด้วย 8 วิธีนี้

8 วิธีป้องกันลูกจาก “โรคกลัวสังคม (ฮิคิโคโมริ ซินโดรม)”

ฮิคิโคโมริ ซินโดรม คืออะไร?

โรคกลัวสังคม หรือ ฮิคิโคโมริ ซินโดรม เป็นอาการทางจิตอย่างหนึ่ง ที่อธิบายถึงพฤติกรรมของคนที่แยกตัวออกจากสังคม กักขังตัวเองอยู่แต่ในห้อง กลัวการเข้าสังคม พยายามหลบหนี เพื่อเจอผู้คนให้ได้น้อยที่สุด หรืออาจเรียกได้ว่าพยายามทำตัวให้หายไปจากโลกความจริง ซึ่งหากโรคนี้ เกิดกับเด็กวัยเรียนรู้ วัยที่กำลังพัฒนาในด้านต่าง ๆ ก็จะทำให้เกิดการปิดกั้นพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของลูกทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา การใช้ภาษา และการแก้ปัญหา จนทำให้ไม่กล้าแสดงออก ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง มีอารมณ์ที่ไม่มั่นคง ไม่สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้

เนื่องจากโรคนี้ไม่ใช่การเจ็บป่วยทางด้านร่างกาย แต่เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจ ทำให้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยจิตแพทย์ ก็อาจนำไปสู่การเกิดโรคซึมเศร้า และการฆ่าตัวตายได้ในที่สุด โรคนี้เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากญี่ปุ่นมีระบบการศึกษาที่ต้องเคี่ยวเข็ญเด็กอย่างหนัก จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2553 พบว่า มีชาวญี่ปุ่นประมาณร้อยละ 1.2 ที่เป็นโรคฮิคิโคโมริ และในปี พ.ศ.2559 รัฐบาลญี่ปุ่นได้รายงานว่า มีประชากรอายุระหว่าง 15‐39 ปี จำนวนประมาณ 541,000 คน ที่เป็นโรคฮิคิโคโม แต่ก็มีรายงานว่าพบเด็กที่มีอาการคล้ายคลึงกันนี้จากประเทศเกาหลี ไต้หวัน และสิงคโปร์ด้วย และยังไม่มีรายงานกลุ่มอาการนี้อย่างเป็นทางการในประเทศไทย

แม้ว่ายังไม่มีโรคนี้อย่างเป็นทางการในไทย แต่ก็มีผู้ป่วยที่มีอาการคล้าย ๆ กัน เช่น โรคแยกตัวจากสังคม โรคกลัวสังคม เป็นต้น โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้มักจะเกิดจากปัจจัยรอบข้าง เช่นน แรงกดดันและความคาดหวังจากพ่อแม่ที่มากเกินไป ความผิดหวังจากเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างรุนแรง การถูกกลั่นแกล้งและล้อเลียนบ่อย ๆ เป็นต้น

ฮิคิโคโมริ
ฮิคิโคโมริ

ฮิคิโคโมริ ซินโดรม, Introvert, และขี้อาย ต่างกันอย่างไร?

สำหรับคนที่มีบุคลิกภาพแบบ Introvert และคนที่ขี้อายนั้น ไม่ถึงเป็นความผิดปกติแต่อย่างใด เพราะคนที่มีบุคลิกภาพแบบ Introvert และคนที่ขี้อายนั้น ยังสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้ปกติ เพียงแต่จะชอบที่จะอยู่กับตัวเองมากกว่า สามารถใช้ความคิดได้ดีเมื่ออยู่ลำพัง และเมื่อไหร่ก็ตามที่จะต้องไปพบปะผู้คน ก็จะไม่ออกอาการประหม่ามากจนเกินไป หรือหนีออกจากสังคมเหมือนผู้ที่ป่วยเป็น ฮิคิโคโมริ ซินโดรม

เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อมและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เด็กได้เจอมา ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันให้ลูกอยู่ห่างไกลจากโรคนี้ได้ โดย 8 วิธีนี้

8 วิธีป้องกันลูกจาก “โรคกลัวสังคม (ฮิคิโคโมริ ซินโดรม)”

การเลี้ยงดูอย่างเข้าใจ และการส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ จากพ่อแม่เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกันลูกไม่ให้เป็นโรคนี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องทำอย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ

  1.  สร้างจิตใจที่เข้มแข็งจากการให้เวลา ความรัก และการโอบกอดจากทั้งพ่อและแม่

ให้เวลาคุณภาพกับลูก โดยคุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาอยู่กับลูกทั้งวันทั้งคืน เพียงแค่หาเวลาร่วมกันอย่างน้อยวันละ 3-4 ชั่วโมง โดยคุณพ่อคุณแม่จะต้องไม่สนใจ งาน มือถือ หรือสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากลูก ควรใช้เวลาเล่น พูดคุย ทานข้าว หากิจกรรมทำร่วมกัน อย่างเช่นที่บ้านของแม่พริมาเอง จะมีกฎว่าต้องทานอาหารเย็นกันอย่างพร้อมหน้า โดยไม่มีการดูทีวี มือถือ ทั้งพ่อแม่และลูกจะได้พูดคุย เล่าเรื่องต่าง ๆ ที่เจอมาที่โรงเรียน หรือแม้แต่เรื่องของพ่อแม่เอง ก็จะนำมาแบ่งปัน เล่าให้ลูกฟังว่าเกิดอะไรกับที่ทำงานของพ่อแม่บ้าง สิ่งเหล่านี้ จะทำให้ลูกได้รู้สึกปลอดภัยมากขึ้น เมื่อลูกเกิดปัญหาจากสังคมภายนอก ลูกจะรับรู้ว่ากลับมาบ้านนจะยังมีพ่อแม่ที่คอยให้กำลังใจ ให้คำปรึกษา โอบกอดจากความรักเสมอ

2. พาลูกน้อยไปเจอสังคมภายนอกอย่างสม่ำเสมอ

โดยดูจากอายุของลูก สำหรับเด็กเล็ก อาจพาไปสนามเด็กเล่น เพื่อเจอเด็กที่อยู่ในวัยเดียวกัน ลองปล่อยให้ลูกได้ไปพูดคุยและเล่นกับเพื่อน โดยคุณพ่อคุณแม่อาจช่วยพาลูกไปคุยด้วยก่อน หลังจากนั้นค่อยปล่อยให้เด็ก ๆ เล่นกันเอง โดยคุณพ่อคุณแม่คอยดูอยู่ใกล้ ๆ สำหรับเด็กโต คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกไปสถานที่ที่มีกิจกรรมสำหรับเด็ก หรือร่วมค่ายต่าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้เขาได้มีโอกาสพัฒนาทักษะทางสังคมจากการพบปะเพื่อนฝูงในวัยเดียวกันหรือวัยที่แตกต่างกัน แค้มป์หรือสถานที่เหล่านี้ มักจะจำลองปัญหาต่าง ๆ ที่ลูกอาจจะต้องเจอในอนาคต เพื่อให้ลูกได้ฝึกการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในอนาคตได้ (บทความที่น่าสนใจ ปิดเทอม ให้ลูกเรียนอะไรดี 7 กิจกรรมปิดเทอม เปิดประสบการณ์ เติมทักษะ ใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์)

ทักษะทางสังคม
ทักษะทางสังคม

3. ไม่คาดหวังและกดดันให้เขาทำให้สิ่งที่พ่อแม่คาดหวัง

เช่น ต้องเรียนพิเศษอย่างหนักเพื่อสอบเข้าโรงเรียนดังให้ได้ ต้องซ้อมกีฬาอย่างหนักเพื่อเป็นตัวแทนนักกีฬาหรืออาชีพที่พ่อแม่ต้องการให้ได้ เป็นต้น พ่อแม่ทุกคนย่อมอยากให้ลูกอยู่ในสังคม สภาพแวดล้อมที่ดีกับตัวเขาเองในอนาคต ทำให้อดไม่ได้ที่จะคาดหวังและกดดันให้ลูกต้องแข่งขัน การคาดหวังไม่ใส่สิ่งไม่ดี เพราะการคาดหวังนั้น ๆ มาจากความต้องการให้ลูกเจอสิ่งดี ๆ แต่หากคาดหวังมากเกินไป ก็อาจทำให้ลูกรู้สึกได้และรู้สึกกดดันจนโทษตัวเองที่ทำตามที่พ่อแม่หวังไม่ได้เช่นกัน สิ่งนี้จะบั่นทอน Self-Esteem ของลูกอย่างรุนแรงจนอาจทำให้ลูกเป็น โรคกลัวสังคม หรือฮิคิโคโมริ ซินโดรม ได้

4. ปล่อยให้ลูกได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบและถนัด

เด็กทุกคนมีความชอบและสิ่งที่ถนัดต่างกัน เด็กที่ไม่เก่งภาษาอาจชอบบวกลบเลขมากกว่า เด็กที่ไม่ถนัดวิชาการแต่อาจมีทักษะในการเข้าสังคมและเอาตัวรอดมากกว่า ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหาสิ่งที่ลูกชอบและถนัดให้เจอแต่เล็ก และควรส่งเสริมสิ่งนั้น ๆ ให้ลูก เพื่อให้ลูกเห็นคุณค่าของตัวเองและมีความมั่นใจเมื่ออยู่ในสังคม

5. ฝึกนิสัยยอมรับความผิดพลาด

ให้ลูกได้รู้ว่าความผิดพลาดไม่ใช่เรื่องน่าละอาย ความผิดพลาดสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ สอนให้ลูกรู้จักประโยชน์ของความผิดพลาด และสอนให้ลูกจักยอมรับผิด ขอโทษผู้ที่ได้รับผลกระทบจากข้อผิดพลาดนั้น ๆ  เรียนรู้ที่จะแก้ไขในสิ่งที่ถูก และจดจำความผิดพลาดไม่ให้กลับมาทำซ้ำอีก (บทความที่น่าสนใจ แพ้ ภูมิคุ้มกันความผิดหวังที่แม่สร้างให้ลูกได้)

6. ฝึกหลักธรรมพรหมวิหาร 4

“พรหมวิหาร 4” ประกอบด้วยหลักใหญ่ 4 ประการ ได้แก่

    • เมตตา คือ ความ ปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
    • กรุณา คือ การช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์
    • มุทิตา คือ การยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
    • อุเบกขา คือ การรู้จักวางเฉยนั้น

การปลูกฝังลูกให้ยึดหลักพรหมวิหาร 4 จะช่วยให้ลูกรู้จักมี Empathy มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จักเข้าใจผู้อื่น ก่อนจะทำอะไรจึงจะรู้จักคิดก่อนจะพูดหรือทำว่าผู้อื่นจะรู้สึกอย่างไร จะเสียใจหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ จะทำให้ลูกรู้จักวางตัวได้ดีในสังคม ไม่กลัวสังคมได้ (บทความที่น่าสนใจ เดนมาร์กสอนวิชา “ความเห็นใจผู้อื่น” ในชั้นเรียน)

7. ฝึกฝนบุคลิกที่หนักแน่น

การเป็นคนที่หนักแน่น รู้จักนำคำพูดของผู้อื่นมาคิด วิเคราะห์ ว่าคำพูดหรือการกระทำที่ไม่ดีจากผู้อื่นนั้น ทำไปด้วยความหวังดีหรือประสงค์ร้าย หากเป็นไปด้วยความหวังดี เมื่อลูกรู้จักยอมรับความผิดพลาด ก็จะยอมรับในเหตุผลของผู้หวังดีคนนั้นและนำกับมาแก้ไขเพื่อพัฒนาตนเอง แต่หากเป็นไปด้วยความประสงค์ร้าย ลูกจะไม่ใส่ใจคำพูดที่ไม่ดีได้เอง

8. ชมเชยและให้กำลังใจเพื่อให้เขารู้ว่าพ่อแม่มีความเชื่อมั่นในทางที่เขาเลือก

ให้ลูกรับรู้ว่าไม่ว่าลูกจะเลือกเดินทางไหน ลูกจะได้รับการสนับสนุนจากพ่อแม่เสมอ และเมื่อลูกทำสิ่งใดผิดพลาดจากทางที่เค้าเลือก ลูกก็จะรู้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะให้กำลังใจและให้คำแนะนำที่ดีให้เขาได้เสมอ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกมีความมั่นใจ กล้าคิด กล้าพูด และกล้าทำสิ่งต่าง ๆ ได้นั่นเอง

วิธีป้องกันที่ได้กล่าวถึงไปนี้ ไม่ได้ใช้เพื่อป้องกัน โรคกลัวสังคม หรือ ฮิคิโคโมริ ซินโดรม เพียงอย่างเดียว แต่หากคุณพ่อคุณแม่ปฎิบัติ สั่งสอน และฝึกลูกได้ตาม 8 ข้อนี้ ก็จะทำให้ลูกเป็นเด็กที่มีความสุข มีความมั่นใจ มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เป็นคนที่เห็นคุณค่าในตนเอง และสามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ชวนมาเก็บ MQ ให้ลูกใน สนามเด็กเล่น กันเถอะ!!

ท่องศีล5 ลูกได้แค่จำ ลองวิธีใหม่ช่วยเข้าถึงแก่นธรรมง่ายๆ

เกมฝึกทักษะ การแก้ปัญหา ฝึกลูกก่อนเผชิญของจริง

วิธีการ พัฒนาทักษะ “การแก้ปัญหา” อย่างเป็นขั้นตอน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : th.anngle.org, pobpad.com, กระทรวงศึกษาธิการ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up