พัฒนาการเด็ก 0-5 ปี …คู่มือสำหรับส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด -5 ปี แบ่งพัฒนาการตามวัยออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ การเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา การเข้าใจภาษา การใช้ภาษา และการช่วยเหลือตัวเองและสังคม สำหรับคุณพ่อคุณแม่
ในหลายปีก่อนหน้านี้ มีการคัดกรอง พัฒนาการเด็ก 330,000 ราย ในจำนวนนี้มีเด็ก 4,000 ราย ที่พัฒนาการมีปัญหาต้องได้รับการแก้ไข พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต บอกว่า จำนวนเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการข้างต้นถือว่าน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจพัฒนาการของเด็กไทยทั่วประเทศที่พบว่า มีเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการถึงร้อยละ 30 แสดงให้เห็นว่า ยังมีเด็กจำนวนมากที่มีปัญหาพัฒนาการบกพร่องต้องได้รับการแก้ไข
“อัตราการเข้าถึงบริการของเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการ ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ยังมีน้อย เด็กที่บกพร่องทาง สติปัญญามีการเข้าถึงเพียง 33,592 คน หรือประมาณ 5.23% และเป็นเด็กออทิสติก 7,212 คน หรือประมาณ 12.02% ของประชากรเด็ก การค้นหาช่วยเหลือเด็กที่มีความเสี่ยงและการดูแลส่งเสริมให้มีพัฒนาการตามวัยที่ถูกต้องเหมาะสม ตั้งแต่ระยะแรกอย่างเป็นระบบจึงมีความสำคัญ ยิ่งที่จะส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นทรัพยากร ที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศต่อไป การค้นหาจึงมีความสำคัญยิ่ง”
คู่มือสำหรับส่งเสริม พัฒนาการเด็ก ตามวัย 0-5 ปี
ส่วนสาเหตุที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก พญ.พรรณพิมล อธิบายว่า ปัจจัยแรกมาจากสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสภาวะความสมบูรณ์ของเด็ก เช่น บางพื้นที่ยังมีปัญหาไอโอดีน ทำให้ส่งผลต่อการพัฒนาการทางสมอง การกินระหว่างตั้งครรภ์ของแม่ การดูแลลูกหลัง คลอด เป็นต้น การไม่รู้ของพ่อแม่ที่มาจากเวลาในการเลี้ยงดูที่จำกัด เนื่องจากปัจจุบัน แม่ต้องทำงานนอกบ้าน ทำให้มีเวลาเลี้ยงดู ลูกน้อยมาก ทำให้ไม่เห็นหรือสังเกตสิ่งบ่งบอกพัฒนาการของลูกว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ล่าช้าหรือมีปัญหาหรือไม่ ทั้งการนั่ง คว้าของ ส่งเสียง หันตามเสียงเรียก เป็นต้น เพื่อที่จะรีบแก้ไข และสุดท้ายคือโอกาสในการเข้าถึงบริการคัดกรอง
ด้วยเหตุนี้ที่ผ่านมาทางกรมสุขภาพจิตจึงได้มีการจัดทำเครื่องมือคัดกรองแบบง่ายๆ สำหรับพ่อแม่ในการติดตามดูพัฒนาการเด็กว่าเป็นไปตามวัยหรือไม่ จัดทำเป็นหนังสือ “คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด 0-5 ปี สำหรับผู้ปกครอง” โดยภายในเล่มจะมีรายละเอียดการพัฒนาการเด็กใน 4 ด้านอย่างที่ควรจะเป็นไปในแต่ละช่วงอายุ เพื่อให้พ่อแม่ได้สังเกต ได้แก่
พัฒนาการเด็ก 4 ด้านสำคัญ
1.การพัฒนาของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ดูได้จากการเคลื่อนไหวของเด็ก ทั้งการคว่ำ คลาน ยืนและเดิน
2.การพัฒนาการใช้งานของกล้ามเนื้อ มัดเล็กและสติปัญญา ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กันในการพัฒนาการต่อเนื่อง
3.การพัฒนา ทางอารมณ์และการเข้าสังคมของลูก
4.การพัฒนาภาษา การพูดของลูก ซึ่งพ่อแม่จะสังเกตลูกได้ไม่ยาก โดยหนังสือเล่มนี้เป็นเครื่องมือที่ผ่านการวิจัยและพัฒนามาหลายปีจนได้รับรางวัลระดับนานาชาติ United nations public service awards
ทั้งนี้ ระยะเวลาของการพัฒนาการเด็กยังแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ก่อนที่จะถึงอายุ 5 ปี คือ ระยะอายุ 9 เดือน, 18 เดือน, 36 เดือน และ 42 เดือน โดยในช่วงขวบปีแรก คือ อายุ 9 เดือน อยากให้พ่อแม่ดูเป็นพิเศษ ซึ่งเด็กจะสามารถบอกถึงการพัฒนาการของตนเองได้ เพื่อที่จะได้นำไปสู่การแก้ไขในกรณีที่พบปัญหา ซึ่งหนังสือนี้ยังเป็นเครื่องมือในการค้นหาเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการเพื่อนำเข้าสู่การแก้ไขเพื่อให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น
คลิกดาวน์โหลด >> “คู่มือสำหรับส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด -5 ปี”
คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
พญ.พรรณพิมล บอกด้วยว่า หนังสือคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด 0-5 ปี สำหรับผู้ปกครองต่างจากสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กเล่มสีชมพูที่ดูเด็กในทุกด้าน โดยเรื่องพัฒนาการเด็กจะสอดอยู่ใน หน้าหนึ่งเท่านั้น มีรายละเอียดไม่มาก ซึ่งเราอยากให้พัฒนาการเป็นเรื่องสำคัญและพ่อแม่ต้องใส่ใจ จึงดึงออกมาทำเป็นอีกเล่มหนึ่ง โดยเฉพาะเพื่อเป็นเล่มเสริม โดยผู้ปกครองยังต้องใช้สมุดสีชมพูเป็นหลักในการดูแลลูกต่อไป
พญ.พรรณพิมล แนะนำเพิ่มเติมว่า ในกรณีพ่อแม่ต้องทำงาน ไม่สามารถเลี้ยงลูกเอง ซึ่งในสังคมปัจจุบันเริ่มมีมากขึ้น โดย แยกเป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ต้องจ้างคน มาเลี้ยงดู อยากบอกว่าในช่วงที่ลูกยังเล็ก การมีเวลาอยู่กลับลูกเป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งช่วงเย็นหลังจากทำงานแล้วต้องอยู่กับลูกมากๆ เพราะเด็กจะมีสัญชาตญาณในการจดจำ รู้ว่าคนนี้เป็นแม่ คนนี้เป็นคนเลี้ยงดู เด็กจะจำกลิ่น เสียง การอุ้ม การสัมผัสได้ โดยเป็นสายสัมพันธ์ที่เกิดภายใต้ 3 เงื่อนไข คือ ความสม่ำเสมอ ความมั่นคง และความต่อเนื่องที่เป็นสิ่งสำคัญ ไม่มีใครให้ได้เหมือนกับพ่อแม่และล้วนแต่ส่งผลต่อการพัฒนาเติบโตอย่างมีคุณภาพ
ดาวน์โหลด
“หนังสือคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด 0-5 ปี”
พัฒนาการเด็ก ที่สำคัญในแต่ละวัย
พัฒนาการเด็ก วัยทารก (0-2 ปี) อายุ 0-6 สัปดาห์
เด็กมองหน้าแม่ ทำเสียงในลำคอ ฟังเสียงคุยแล้วยิ้มตอบ
พัฒนาการเด็ก อายุ 4-6 เดือน
จำหน้าแม่ได้ ส่งเสียงอ้อแอ้และยิ้มตามเสียง เด็กสามารถเอื้อมคว้าจับสิ่งของมาเข้าปาก
พัฒนาการเด็ก อายุ 6-9 เดือน
สามารถแยกเสียงของแม่ได้ เริ่มแยกแยะความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ชัดเจน เด็กจำหน้าแม่ได้ เด็กจะแสดงอาการแปลกหน้ากับผู้ที่ไม่ คุ้นเคย และจะติดแม่ เรียกว่า กลัวคนแปลกหน้า (Stranger anxiety)
พัฒนาการเด็ก อายุ 9-12 เดือน
เด็กมีความผูกพันใกล้ชิดกับผู้เลี้ยงดู (Attachment)และจะติดผู้เลี้ยงดู เมื่อต้องแยกจากพ่อแม่/ผู้เลี้ยงดู เด็กจะร้องไห้และร้องตาม เมื่อพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูกลับมา เด็กจะแสดงความดีใจโผเข้าหาและเข้ามาคลอเคลีย เด็กวัยนี้จะเริ่มกลัวการพลัดพราก (Separation anxiety)
พัฒนาการเด็ก อายุ 12-18 เดือน
-เด็กหัดเดินและชอบสำรวจ ระยะนี้เด็กจะกระตือรือร้นที่จะสำรวจสิ่งแวดล้อมค้นหาสิ่งแปลกใหม่เด็กมัก จะใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสำรวจตรวจตรา ดังนั้นควรระมัดระวังสิ่งที่เป็นอันตราย
– ในวัยนี้เด็กจะทดสอบสิ่งต่างๆ และดูผลของการกระทำต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ถ้าพอใจเด็กจะโยนของเล่น ว่าจะตกลงมาอย่างไร ถ้าพอใจเด็กจะโยนซ้ำ ถ้าไม่พอใจเด็กจะหยุดหรือหาวิธีอื่นๆ บางครั้งเด็กจะกรีดร้องจะเอาของมาโยนอีก
– เด็กเริ่มพูดได้ เป็นคำๆอย่างน้อย 10 คำ
อ่านต่อ >> “พัฒนาการที่สำคัญในแต่ละวัย 1 ขวบครึ่ง –5 ปี” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
พัฒนาการเด็ก อายุ 18-24 เดือน
เด็กเรียนรู้ภาษาอย่างรวดเร็ว และจดจำคำศัพท์ได้ดี
พัฒนาการเด็ก อายุ 2-3 ปี
– เด็กเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
– เด็กรู้ว่าตนเองเป็นบุคคลหนึ่งที่แยกจากสภาพแวดล้อม ทำให้เด็กต้องการเป็นตัวของตัวเอง เด็กจะ พยายาม ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง เช่น จับช้อนตักอาหารเอง เด็กจึงมีพฤติกรรมต่อต้าน (Negativism) ชอบพูดว่า “ไม่” “ไม่เอา” “ไม่ทำ” เป็นต้น
พัฒนาการเด็กอายุ 3-5 ปี
- พัฒนาการด้านร่างกาย
-เด็กบังคับกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น เด็กชอบปีนป่ายเตะบอล รักลูกบอล ชอบเล่นในสนาม เด็กสามารถขี่ จักรยานสามล้อได้ พัฒนาการด้านสติปัญญา
– เด็กเชื่อว่าสิ่งของทุกอย่างมีชีวิติ (Animism) เด็กชอบเล่นสมมุติโดยจะเอาตุ๊กตาตามมาเล่นแล้วสมมุติ เป็นพ่อแม่ลูก แสดงท่าป้อนข้าวลูก อาบน้ำแต่งตัวให้ลูก แสดงเป็นเรื่องราวเหมือนว่าตุ๊กตาเป็นสิ่งมีชีวิต
– เด็กเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดหมาย เด็กมักถามว่า “ทำไม” “ทำไมรถจึงวิ่ง” ฯลฯ
– เด็กจะเชื่อมโยงปรากฏการณ์ 2 อย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกันว่าเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกัน
- พัฒนาการด้านภาษา
พัฒนาอย่างรวดเร็ว เด็กชอบใช้คำถาม “นั่นอะไร” “นี่อะไร” “พ่อไปไหน” เด็กสามารถเข้าใจ คำสั่งง่ายๆได้ เด็กอายุ 4 ขวบชอบใช้คำถาม “ทำไม”
- พัฒนาการด้านอารมณ์
เด็กเริ่มมีลักษณะอารมณ์แบบผู้ใหญ่ คือ โกรธ อิจฉา กังวล ก้าวร้าว พอใจ เป็นต้น เด็กจะแสดงความโกรธ ด้วยการกรีดร้อง ดิ้นกับพื้น หรือทำร้ายตัวเองแสดงความอิจฉาเมื่อมีน้องใหม่เวลาเล่นสนุกๆก็จะแสดง ความพอใจ แต่เมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้องเด็กก็จะกลัว
- พัฒนาการด้านสังคม
– เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น อาบน้ำ แต่งตัว ใส่รองเท้าเอง บอกเวลาจะถ่ายได้ ถอดกางเกง เข้าห้องน้ำเอง และทำความสะอาดหลังขับถ่ายได้
– เด็กเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตัว เพื่อให้สังคมยอมรับ ทำตัวให้เข้ากลุ่มได้ รู้จักให้ รับ รู้จักผ่อนปรน รู้จักแบ่งปัน เด็กเรียนรู้จากคำสอน คำอธิบายและการกระทำของพ่อแม่ เด็กรู้สึกละอายใจเมื่อทำผิด เด็กเริ่มรู้จักเห็นใจ ผู้อื่น เมื่อเห็นแม่เสียใจเด็กอาจเอาตุ๊กตามาปลอบ เป็นต้น
พ่อแม่ควรฝึกหัดและส่งเสริมให้เด็กวัยอนุบาลได้ช่วยเหลือตนเอง เช่น รับประทานอาหาร อาบน้ำ แต่งตัว การขับถ่าย เป็นต้น เด็กอายุ 1-5 ปี อาจติดสิ่งของบางอย่าง เช่น ผ้าห่ม ตุ๊กตา เด็กจะนำสิ่งของเหล่านี้ติดตัวไปด้วยทุกแห่ง หรือเข้านอน ด้วยการนำมาอุ้ม กอด และถือไว้ ใช้สำหรับปลอบใจ ทำให้รู้นึกมั่นใจและสบายใจ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องห่างจากแม่ เวลาไม่สบายหรือ เวลาเข้านอน เพื่อทดแทนความสัมพันธ์ที่ห่างเหิน และเด็กก็เริ่มไปมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น สิ่งของเหล่านี้เรียกว่า Trasitional – object
การเลี้ยงดูที่เหมาะสมจะทำให้เด็กพัฒนาไปได้ดี ในขณะเดียวกัน สังคมก็จะคาดหวังเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กในแต่ละวัย ซึ่ง เราเรียกว่า งานพัฒนาการ (Deelopmental task) ถ้าเด็กสามารถทำได้ตามขั้นตอนพัฒนาการเด็กจะยอมรับนับถือตนเอง ได้รับ การยอมรับจากผู้อื่นและเด็กก็จะมีความสุขตามมา เมื่อเด็กมีความสุข เด็กจะมีกำลังใจ มีแรงจูงใจในการทำงานตามที่มุ่งหวัง และ สามารถทนต่อความขัดแย้งได้ดี ทำให้ประสบความสำเร็จตามมา ถ้าเด็กไม่สามารถทำได้ตามขึ้นตอนพัฒนาการ เด็กจะรู้สึกเป็นปมด้อย และจะทำงานในขั้นตอนพัฒนาการที่สูงขึ้นได้ยาก
ส่วนกรณีที่ต้องส่งลูกไปให้ปู่ย่าตายายเลี้ยงดูนั้น รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต บอกว่า เริ่มมีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะในแถบภาคอีสาน เพราะพ่อแม่ต้องลงมาทำงานในเมือง ไม่มีเวลาเลี้ยงดู ปู่ย่าตายายจึงต้องทำหน้าที่เป็นพ่อและแม่แทน ทางกรมสุขภาพจึงเตรียมทำเครื่องมือการให้ความรู้การวัดพัฒนาการเด็กเพื่อดูแลหลาน ซึ่งจะมีรายละเอียดไม่ต่างจากเล่มนี้เพียงแต่อาจลดทอนตัวหนังสือ เพิ่มภาพเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการได้รับการแก้ไขที่เหมาะสม
“เด็กจะจำกลิ่น เสียง การอุ้ม-สัมผัสได้ โดยเป็นสายสัมพันธ์ที่เกิดภายใต้ 3 เงื่อนไขคือ ความสม่ำเสมอ ความมั่นคง และความต่อเนื่องที่เป็นสิ่งสำคัญ ไม่มีใครให้ได้เหมือนพ่อแม่”
ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ 196 หมู่ 10 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180 โทร 053 890238 – 44 โทรสาร 053 121 185 , www.thaihealth.or.th
Save