AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ของทารกวัยแรกเกิด ถึง 3 ปี

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่

ในเด็กวัยแรกเกิดนั้น พัฒนาการต่าง ๆ สำคัญมาก คุณพ่อคุณแม่จะสามารถเห็นความแข็งแรงของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างรวดเร็วในวัยนี้ และพัฒนาการที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามคือ พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และ พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นพัฒนาการขั้นพื้นฐานที่จะส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวันและการเรียนรู้ต่าง ๆ ของลูกได้เลย

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ของทารกวัยแรกเกิด ถึง 3 ปี

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ คืออะไร?

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่

ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor Skills) คือ ความสัมพันธ์กันของอวัยวะต่าง ๆ รวมถึง กล้ามเนื้อบริเวณลำตัว แขน ขา พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ จะช่วยให้เด็กรู้จักการทรงตัว สร้างสมดุลให้กับร่างกายได้ มีความแข็งแรง มีความทะมัดทะแมง ความไวในการเปลี่ยนท่าทาง ได้แก่ การวิ่ง การคลาน การกระโดด เป็นต้น โดย พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ นี้จะเริ่มพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามลำดับ โดยเริ่มตั้งแต่แรกเกิด และจะพัฒนาโดยเริ่มจากส่วนหัวไปสู่ส่วนขา โดย คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ซึ่งจัดทำโดย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึง พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก ดังนี้

พัฒนาการกล้ามเนื้อคอ เริ่มพัฒนาได้ตั้งแต่ 1-3 เดือน โดยทารกจะเริ่มชันคอได้
ลูกจะสามารถนั่งหลังตรงได้เมื่ออายุ 5-7 เดือน

(อ่านต่อ 7 ท่าคลานทารก เมื่อลูกน้อยคลาน ลูกเราคลานท่าไหนนะ)

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ของทารกวัยแรกเกิด ถึง 3 ปี

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก ของเด็กวัย 0-3 ปี

(อ่านต่อ ลูก 1 ขวบยังไม่เดิน ช้าไปไหม?)

(อ่านต่อ 4 อุบัติเหตุไม่คาดฝันในบ้าน พ่อแม่ห้ามประมาท)

เมื่อลูกอยู่ในวัย 2 ขวบ ลูกจะสนุกกับการเคลื่อนไหวร่างกาย

สำหรับทารกบางคน พัฒนาการอาจจะไม่ตรงตามที่ระบุไว้ อาจจะข้ามพัฒนาการบางขั้นตอนไปได้ เช่น ลูกไม่พลิกคว่ำ พลิกหงาย แต่กลับนั่งได้เร็ว เป็นต้น การข้ามขั้นตอนนี้ ไม่ถือว่าผิดปกติแต่อย่างใดค่ะ แต่การช่วยเหลือที่มากจนเกินไปของพ่อแม่ ก็อาจะเป็นสาเหตุให้ลูกไม่มีโอกาสในการพัฒนากล้ามเนื้อในด้านนั้น ๆ จนทำให้เกิดความล่าช้าได้ เช่น อุ้มลูกไว้ตลอดเวลา โดยไม่ปล่อยให้ลูกได้มีโอกาสได้คลานหรือนั่งเองเลย เป็นต้น ดังนั้น พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกมีโอกาสเคลื่อนไหว และใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของตนเองตาม วัย และหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกใช้รถหัดเดิน เพราะนอกจากไม่ได้ช่วยลูกให้เดินได้ด้วยตัวเอง แต่กลับยิ่งทำให้ มีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ล่าช้าได้ ลูกมักเดินด้วยปลายเท้า เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

วิธีสังเกตว่าพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ล่าช้าหรือเคลื่อนไหวผิดปกติหรือไม่?

แม้ว่าพัฒนาการของเด็กทารกแต่ละคนไม่เหมือนกัน เด็กบางคนอาจมีพัฒนาการบางอย่างล่าช้า แต่กลับมีพัฒนาการอีกอย่างที่พัฒนาได้รวดเร็วจนเกินไป ทางราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย จึงได้ให้ข้อสังเกตมาว่า หากลูกอยู่ในช่วงวัยต่อไปนี้ แล้วยังไม่สามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้ ควรรีบพาลูกไปปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและวางแผนการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

ข้อควรสังเกตหากลูกมีพัฒนาการที่ผิดปกติ

พัฒนาการของเด็กในวัยแรกเกิดจึงถึง 3 ปี เป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากจะบ่งบอกถึงความแข็งแรง และความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขของคุณพ่อคุณแม่ ที่ได้เห็นลูกเจริญเติบโตอย่างสมวัยอีกด้วย

อ่านต่อบทความดี ๆ ได้ที่นี่

ระวังลูกนั่งหลังโก่ง-ค่อม เสี่ยงพัฒนาการช้า!

10 กิจกรรมเล่นกับลูก เสริมสร้าง พัฒนาการทารกแรกเกิด

ฝึกลูกนั่งกระโถน ก่อนวัย 1 ขวบ ด้วย 6 เทคนิคง่ายๆ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids