ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ …ฟันของเหล่าลูกน้อย จะแข็งแรงได้นั้น “ฟลูออไรด์” ต้องเพียงพอ เพราะ ฟลูออไรด์ เป็นสารช่วยป้องกัน และลดการผุของฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อฟัน คือ เมื่อฟันขึ้นแล้ว สารฟลูออไรด์จะช่วยลดการสร้างกรดจากจุลินทร์ทรีย์ และยังสามารถช่วยทำให้การผุชะลอตัว ไม่ผุเพิ่มขึ้นในฟันที่ผุเริ่มแรกได้
ฟลูออไรด์คืออะไร
ฟลูออไรด์เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ใช้ป้องกันโรคฟันผุ สามารถใช้ได้ 2 วิธี คือ
- ฟลูออไรด์ที่ใช้ในระบบทั่วร่างกาย คือ การเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำหรืออาหารเพื่อให้เด็กรับประทาน เพื่อมุ่งหวังผลให้ฟลูออไรด์เข้าไปอยู่ในฟันในขณะที่ฟันกำลังมีการเจริญเติบโต ซึ่งสามารถทำได้โดยการเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำดื่ม ในนม เสริมในรูปของยาฟลูออไรด์ ในอาหาร เช่น ใบชา อาหารทะเล (ปลาแห้ง กุ้งแห้ง) เนื้อสัตว์ ผัก ในน้ำบาดาล ในอากาศ เป็นต้น
- ฟลูออไรด์เฉพาะที่ คือ การใช้ฟลูออไรด์สัมผัสกับฟันโดยตรง ซึ่งสามารถทำได้โดยการแปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์ การใช้ยาบ้วนปากฟลูออไรด์ การเคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์ การขัดฟันด้วยสารฟลูออไรด์ การที่ยาฟลูออไรด์สัมผัสกับฟันก่อน
แนวทางการใช้ ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ สำหรับเด็ก 2560
การใช้ ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ เป็นวิธีที่ยอมรับกันทั่วไปว่าสามารถป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการป้องกันฟันผุของฟลูออไรด์ เป็นผลเฉพาะที่บนผิวฟันและบริเวณรอบ ๆ ตัวฟัน มากกว่าผลจากทางระบบกลไกหลักที่สำคัญของฟลูออไรด์ในการป้องกันฟันผุคือ การส่งเสริมการสะสมของแร่ธาตุผิวฟัน และทาให้เกิดการยับยั้งการละลายตัวของแร่ธาตุที่ผิวฟัน เมื่อมีฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูงกว่า 100 ส่วนในล้านส่วน จะสร้างแคลเซียมฟลูออไรด์ สะสมอยู่ในคราบจุลินทรีย์ และรูพรุนของผิวเคลือบฟัน ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของฟลูออไรด์ แคลเซียมฟลูออไรด์สามารถแตกตัวเกิดเป็นฟลูออไรด์อิสระ กระตุ้นให้เกิดการสะสมของแร่ธาตุและยับยั้งการละลายตัวของแร่ธาตุที่ผิวฟัน
การใช้ฟลูออไรด์มีหลายรูปแบบแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้
- ฟลูออไรด์สาหรับใช้ที่บ้าน (Home-use fluoride) แบ่งเป็น
– ฟลูออไรด์ชนิดที่ซื้อใช้ได้เอง ได้แก่ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ (Fluoride toothpaste) ยาอมบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ (Fluoride mouthrinse)
– ฟลูออไรด์ชนิดที่ทันตแพทย์สั่งจ่ายให้ ได้แก่ ฟลูออไรด์เจลสาหรับใช้ที่บ้าน (Home fluoride gel) ฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทาน (Fluoride supplement)
- ฟลูออไรด์ที่ใช้โดยทันตแพทย์หรือทันตบุคลากร (Professional applied fluoride) ได้แก่ ฟลูออไรด์เจล (Professional fluoride gel) ฟลูออไรด์วาร์นิช (Fluoride varnish) ซิลเวอร์ไดอะมีนฟลูออไรด์ (Silver diamine fluoride)
- ฟลูออไรด์สาหรับใช้ในชุมชน (Community-use fluoride) ได้แก่ น้าดื่มผสมฟลูออไรด์ (Fluoridated water) นมผสมฟลูออไรด์ (Fluoridated milk)
ข้อควรระวัง หรืออันตรายจากการใช้ฟลูออไรด์
ฟลูออไรด์ มีคุณสมบัติคล้ายสารอาหารอื่นๆ ถ้าได้รับในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ ของร่างกายก็จะเป็นประโยชน์ แต่ถ้าได้รับมากเกินไป ก็จะเกิดโทษต่อร่างกาย โทษของฟลูออไรด์ต่อร่างกาย พบได้ 2 ลักษณะคือ
- การเป็นพิษแบบเฉียบพลันเกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณสูงมาก ในครั้งเดียว มีอาการตั้งแต่คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสียหากได้รับปริมาณสูงมากๆ จะมีผลต่อระบบหัวใจ หรือเสียชีวิตได้
- การเป็นพิษแบบเรื้อรังเกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ในขนาดที่สูงกว่า ระดับที่เหมาะสม คือ 2-10 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี จะเกิดผลข้างเคียงต่อฟัน คือ ฟันมีสีขาวขุ่น จนถึงขั้นฟันตกกระ และมีผลต่อกระดูกด้วย แต่สำหรับนมฟลูออไรด์ จะมีขนาดฟลูออไรด์ที่เหมาะสม มีการควบคุมคุณภาพ และปริมาณฟลูออไรด์ จึงมีความปลอดภัยเพียงพอ ที่จะใช้ดื่มเป็นประจำ เพื่อป้องกันฟันผุ อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยในที่นี้ Amarin Baby & Kids จะขอหยิบยก นำเรื่อง ฟลูออไรด์สาหรับใช้ที่บ้าน ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลเรื่องฟันของลูกน้อยได้อย่างใกล้ชิด >> อ่าน แนวทางการใช้ ฟลูออไรด์สำหรับเด็ก 2560 แบบเต็มๆ ไฟล์ PDF คลิกที่นี่!!
อ่านต่อ >> “ฟลูออไรด์สำหรับใช้ที่บ้านเพื่อลูกน้อยโดยเฉพาะ” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ฟลูออไรด์สำหรับใช้ที่บ้าน
ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ : การใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่ความเข้มข้น 1,000 1,055 1,100 และ 1250 ส่วนในล้านส่วน สามารถลดฟันผุในชุดฟันผสมและฟันแท้ได้เฉลี่ยร้อยละ 23 (ร้อยละ 19-27) โดยความเข้มข้นของฟลูออไรด์ 1,500 ส่วนในล้านส่วน จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 เมื่อเปรียบเทียบกับ 1,000 ส่วนในล้านส่วน ในฟันน้านมการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ประมาณ 1,000 ส่วนในล้านส่วนสามารถลดฟันผุได้ร้อยละ 31 สาหรับประสิทธิภาพในการลดฟันผุของยาสีฟันที่มีความเข้มข้นของฟลูออไรด์น้อยกว่า 600 ส่วนในล้านส่วน ยังไม่ชัดเจน
⇒ ข้อบ่งชี้ : แนะนำให้ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในทุกกลุ่มอายุ และทุกระดับความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ เพราะเป็นการป้องกันฟันผุขั้นพื้นฐาน
√ วิธีใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
- แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์อย่างน้อยวันละ 2 ครั้งคือ เช้าและก่อนนอน
- ผลข้างเคียงของการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในเด็กคือ การกลืนยาสีฟัน ซึ่งจะส่งผลให้เด็กได้รับฟลูออไรด์มากเกินไปและเพิ่มโอกาสการเกิดฟันตกกระเพื่อลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ แนะนาการใช้ดังตารางที่ 1 และ 2
- การใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ในเด็กเล็กต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะช่วงก่อนอายุ 2 ปีซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เสี่ยงมากที่สุดต่อการเกิดฟันตกกระของฟันหน้าแท้บน ส่วนการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในเด็กที่สามารถควบคุมการกลืนได้แล้ว ควรบ้วนน้าแต่น้อยเพื่อให้ฟลูออไรด์อยู่ในช่องปากมากที่สุด
- ในกรณีที่เด็กมีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุสูงอาจพิจารณาใช้ยาสีฟันที่มีความเข้มข้นของฟลูออไรด์มากกว่า 1,000 แต่ไม่เกิน 1,500 ส่วนในล้านส่วน โดยผู้ปกครองเป็นผู้แปรงฟันและดูแลไม่ให้เด็กกลืนยาสีฟัน
ตารางที่ 1 ปริมาณยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่แนะนำ
ตารางที่ 2 ปริมาณยาสีฟัน และปริมาณฟลูออไรด์ของยาสีฟันความเข้มข้นฟลูออไรด์ 1,000 ส่วนในล้านส่วน
♥ การใช้ฟลูออไรด์จำเป็นต้องปรึกษาทันตแพทย์ก่อน!
เนื่องจากการได้รับฟลูออไรด์ในขนาดที่ไม่เหมาะสมจะทำให้ไม่ได้ผลเต็มที่ในการป้องกันฟันผุ แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไปก็จะทำให้เกิดอันตรายได้ การเกิดพิษของฟลูออไรด์ แบ่งได้เป็น
- การเกิดพิษชนิดเฉียบพลัน เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์เกินขนาด มักเกิดจากการรับ
ประทานฟลูออไรด์ที่มีอยู่ในยาสีฟัน ยาบ้วนปาก ยาฟลูออไรด์โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งจะมีอาการรุนแรงเพียงใด ขึ้นกับปริมาณฟลูออไรด์ที่ได้รับเข้าไป ตั้งแต่คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย จนกระทั่งถึงตายได้ - การเกิดพิษชนิดเรื้อรัง เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ในขนาดที่เกินกว่าขนาดที่สมควรจะ
ได้รับเป็นระยะเวลาติดต่อกันเป็นเวลานาน อาการที่แสดงออกได้แก่ ฟันตกกระ และจะมีปวดข้อมือ ข้อเท้า ถ้าเป็นมากลุกลามไปยังกระดูกสันหลังจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ทำให้หายใจลำบากและตายในที่สุด มักพบในผู้ที่ดื่มน้ำบาดาลในภาคเหนือ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
อ่านต่อ >> “การใช้ยาอมบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ในเด็ก” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ยาอมบ้วนปากผสมฟลูออไรด์
การใช้ยาอมบ้วนปากผสมฟลูออไรด์พบว่า สามารถป้องกันฟันผุได้ร้อยละ 28 ยาอมบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ที่ใช้ ได้แก่ โซเดียมฟลูออไรด์ (Sodium fluoride, NaF) ความเข้มข้นร้อยละ 0.05 แนะนาให้ใช้วันละครั้ง และโซเดียมฟลูออไรด์ ความเข้มข้นร้อยละ 0.2 แนะนาให้ใช้อาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง และควรเลือกใช้ชนิดที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
⇒ ข้อบ่งชี้ : ผู้มีความความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุสูงและมีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปที่สามารถควบคุมการกลืนและบ้วนทิ้งได้
√ วิธีใช้ยาอมบ้วนปากผสมฟลูออไรด์
- ใช้ปริมาณ 5-10 มิลลิลิตร อมและกลั้วให้ทั่วปากเป็นเวลาอย่างน้อย 1 นาที โดยความเข้มข้นและปริมาณฟลูออไรด์ของยาอมบ้วนปากฟลูออไรด์แสดงในตารางที่ 3
- ไม่ดื่มน้าหรือรับประทานอาหารหลังใช้อย่างน้อย 30 นาที
- ไม่ใช้ในเวลาเดียวกับการแปรงฟัน เพื่อเพิ่มความถี่ของการสัมผัสกับฟลูออไรด์
ตารางที่ 3 ความเข้มข้นและปริมาณฟลูออไรด์ของยาอมบ้วนปากฟลูออไรด์ปริมาตร 5-10 มิลลิลิตร
ฟลูออไรด์เจลสาหรับใช้ที่บ้าน
⇒ ข้อบ่งชี้ : การใช้ฟลูออไรด์ชนิดนี้แนะนาให้ใช้ในผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุสูงและมีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปสารประกอบฟลูออไรด์ที่ใช้ ได้แก่ โซเดียมฟลูออไรด์ ความเข้มข้นร้อยละ 1.1 การนาไปใช้ต้องได้รับการสั่งจ่ายจากทันตแพทย์
√ วิธีใช้ฟลูออไรด์เจลสาหรับใช้ที่บ้าน
- หลังการแปรงฟันด้วยยาสีฟัน ให้บีบเจลเป็นริ้วบาง ๆ บนแปรงสีฟันแล้วนาไปทาบนตัวฟันให้ทั่ว หรืออาจใช้ถาดเคลือบฟลูออไรด์ ทิ้งไว้บนตัวฟัน อย่างน้อย 1 นาที โดยเคลือบวันละหนึ่งครั้ง
- สาหรับเด็กให้บ้วนเจลส่วนเกินและบ้วนน้า สาหรับผู้ใหญ่บ้วนฟลูออไรด์ออกแต่ไม่ต้องบ้วนน้า
- ห้ามบ้วนน้า ดื่มน้า หรือรับประทานอาหาร เป็นเวลา 30 นาที ภายหลังการเคลือบหรือแปรงด้วยฟลูออไรด์เจล
ฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทาน
การใช้ฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทานเป็นอีกวิธีที่พบว่าสามารถป้องกันฟันผุได้ จากการศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างการรับประทานฟลูออไรด์เสริมในช่วงอายุ 6 ปีแรกกับฟันตกกระ โดยพบฟันตกกระระดับอ่อนมากถึงอ่อน (very mild to mild fluorosis) ซึ่งมีผลกระทบต่อความสวยงามไม่มากนัก
⇒ ข้อบ่งชี้ : เด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุสูง
√ วิธีจ่ายฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทาน
การจ่ายฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทานมีข้อพิจารณาดังนี้
- ก่อนจ่ายฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทานต้องประเมินปริมาณฟลูออไรด์ที่เด็กได้รับจากแหล่งต่าง ๆ เช่น น้าดื่ม นม ยาสีฟัน เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กได้รับฟลูออไรด์เกิน 0.05-0.07 มิลลิกรัมฟลูออไรด์ต่อน้าหนักตัว 1 กิโลกรัม
- ขนาดของฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทาน พิจารณาจากอายุ น้าหนักตัวและความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในน้าดื่มดังตารางที่ 4 ซึ่งจะพิจารณาจ่ายฟลูออไรด์เสริม เมื่อความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในน้าดื่มน้อยกว่า 0.3 ส่วนในล้านส่วน
- ต้องประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุเป็นระยะ หากความเสี่ยงลดลงก็ไม่จาเป็นต้องได้รับฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทาน
- การจ่ายฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทานแต่ละครั้งไม่ควรจ่ายเกิน 120 มิลลิกรัมฟลูออไรด์ เนื่องจากปริมาณดังกล่าวเป็นขนาดที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตสาหรับเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 8 กิโลกรัม และเป็นขนาดที่อาจก่อให้เกิดภาวะพิษในเด็กที่มีน้ำหนัก 24 กิโลกรัมหรือต่ำกว่า18
- ควรแบ่งขนาดยาที่ควรจะได้รับในแต่ละวันออกเป็นหลาย ๆ ครั้ง เช่น ถ้าเด็กควรจะได้รับวันละ 0.5 มิลลิกรัมฟลูออไรด์ ควรแบ่งให้ 0.25 มิลลิกรัมฟลูออไรด์ เช้า 1 ครั้ง และเย็น 1 ครั้ง จะได้ผลในการป้องกันดีกว่า
- แนะนาให้อมฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทาน เพื่อให้ยาสัมผัสฟันก่อนกลืน หรือละลายน้าแล้วให้ดื่มทีละน้อยจนหมด
หมายเหตุ
– กรุงเทพมหานครมีปริมาณฟลูออไรด์ในน้าประปา 0.12 ± 0.4 ส่วนในล้านส่วน
– องค์การอาหารและยาได้มีข้อกำหนดให้น้าดื่มบรรจุขวดมีฟลูออไรด์ได้ไม่เกิน 0.7 ส่วนในล้านส่วน
– ข้อมูลฟลูออไรด์ในน้าบริโภคสามารถหาได้ที่ www.dental.anamai.moph.go.th
ตารางที่ 4 การจ่ายฟลูออไรด์เสริม
นอกจากการใช้ ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ แล้ว การทานอาหารก็ส่งผลต่อสุขภาพฟันเช่นกัน และการใส่ใจพบทันตแพทย์ก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญ เพราะทันตแพทย์เฉพาะทางจะช่วยให้คุณทราบถึงการดูแลและปัญหาที่เกิดขึ้นกับฟันของลูกคุณ ได้อย่างตรงจุด อย่าลืมพาลูกน้อยมาตรวจสุขภาพฟันและหมั่นแปรงฟันทุกวันหลังอาหารนะคะ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- ลำดับการขึ้นของฟัน และวิธีดูแลฟันลูกอย่างถูกวิธีตั้งแต่ซี่แรก
- 7 STEP หนูน้อยฟันสวยด้วยมือคุณแม่ (มีคลิป)
- รีวิวยาสีฟันสำหรับเด็ก เลือกสิ่งที่เหมาะสมกับลูกน้อย
ขอบคุณข้อมูลจาก : ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ แนวทางการใช้ฟลูออไรด์ 2560