ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ กับการใช้ยาสีฟันที่ถูกต้องในเด็ก โดยสมาคมทันตแพทย์ - amarinbabyandkids

ฟลูออไรด์สาหรับเด็ก กับการใช้ยาสีฟันที่ถูกต้องในเด็ก โดยสมาคมทันตแพทย์ ปี 2560

event

 

ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ

ยาอมบ้วนปากผสมฟลูออไรด์

การใช้ยาอมบ้วนปากผสมฟลูออไรด์พบว่า สามารถป้องกันฟันผุได้ร้อยละ 28 ยาอมบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ที่ใช้ ได้แก่ โซเดียมฟลูออไรด์ (Sodium fluoride, NaF) ความเข้มข้นร้อยละ 0.05 แนะนาให้ใช้วันละครั้ง และโซเดียมฟลูออไรด์ ความเข้มข้นร้อยละ 0.2 แนะนาให้ใช้อาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง และควรเลือกใช้ชนิดที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์

⇒ ข้อบ่งชี้ : ผู้มีความความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุสูงและมีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปที่สามารถควบคุมการกลืนและบ้วนทิ้งได้

√ วิธีใช้ยาอมบ้วนปากผสมฟลูออไรด์

  • ใช้ปริมาณ 5-10 มิลลิลิตร อมและกลั้วให้ทั่วปากเป็นเวลาอย่างน้อย 1 นาที โดยความเข้มข้นและปริมาณฟลูออไรด์ของยาอมบ้วนปากฟลูออไรด์แสดงในตารางที่ 3
  • ไม่ดื่มน้าหรือรับประทานอาหารหลังใช้อย่างน้อย 30 นาที
  • ไม่ใช้ในเวลาเดียวกับการแปรงฟัน เพื่อเพิ่มความถี่ของการสัมผัสกับฟลูออไรด์

ตารางที่ 3 ความเข้มข้นและปริมาณฟลูออไรด์ของยาอมบ้วนปากฟลูออไรด์ปริมาตร 5-10 มิลลิลิตร

ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ

 

ฟลูออไรด์เจลสาหรับใช้ที่บ้าน

⇒ ข้อบ่งชี้ : การใช้ฟลูออไรด์ชนิดนี้แนะนาให้ใช้ในผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุสูงและมีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปสารประกอบฟลูออไรด์ที่ใช้ ได้แก่ โซเดียมฟลูออไรด์ ความเข้มข้นร้อยละ 1.1 การนาไปใช้ต้องได้รับการสั่งจ่ายจากทันตแพทย์

√ วิธีใช้ฟลูออไรด์เจลสาหรับใช้ที่บ้าน

  • หลังการแปรงฟันด้วยยาสีฟัน ให้บีบเจลเป็นริ้วบาง ๆ บนแปรงสีฟันแล้วนาไปทาบนตัวฟันให้ทั่ว หรืออาจใช้ถาดเคลือบฟลูออไรด์ ทิ้งไว้บนตัวฟัน อย่างน้อย 1 นาที โดยเคลือบวันละหนึ่งครั้ง
  • สาหรับเด็กให้บ้วนเจลส่วนเกินและบ้วนน้า สาหรับผู้ใหญ่บ้วนฟลูออไรด์ออกแต่ไม่ต้องบ้วนน้า
  • ห้ามบ้วนน้า ดื่มน้า หรือรับประทานอาหาร เป็นเวลา 30 นาที ภายหลังการเคลือบหรือแปรงด้วยฟลูออไรด์เจล

 

ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ

ฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทาน

การใช้ฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทานเป็นอีกวิธีที่พบว่าสามารถป้องกันฟันผุได้ จากการศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างการรับประทานฟลูออไรด์เสริมในช่วงอายุ 6 ปีแรกกับฟันตกกระ โดยพบฟันตกกระระดับอ่อนมากถึงอ่อน (very mild to mild fluorosis) ซึ่งมีผลกระทบต่อความสวยงามไม่มากนัก

⇒ ข้อบ่งชี้ : เด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุสูง

√ วิธีจ่ายฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทาน

การจ่ายฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทานมีข้อพิจารณาดังนี้

  • ก่อนจ่ายฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทานต้องประเมินปริมาณฟลูออไรด์ที่เด็กได้รับจากแหล่งต่าง ๆ เช่น น้าดื่ม นม ยาสีฟัน เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กได้รับฟลูออไรด์เกิน 0.05-0.07 มิลลิกรัมฟลูออไรด์ต่อน้าหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • ขนาดของฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทาน พิจารณาจากอายุ น้าหนักตัวและความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในน้าดื่มดังตารางที่ 4 ซึ่งจะพิจารณาจ่ายฟลูออไรด์เสริม เมื่อความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในน้าดื่มน้อยกว่า 0.3 ส่วนในล้านส่วน
  • ต้องประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุเป็นระยะ หากความเสี่ยงลดลงก็ไม่จาเป็นต้องได้รับฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทาน
  • การจ่ายฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทานแต่ละครั้งไม่ควรจ่ายเกิน 120 มิลลิกรัมฟลูออไรด์ เนื่องจากปริมาณดังกล่าวเป็นขนาดที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตสาหรับเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 8 กิโลกรัม และเป็นขนาดที่อาจก่อให้เกิดภาวะพิษในเด็กที่มีน้ำหนัก 24 กิโลกรัมหรือต่ำกว่า18
  • ควรแบ่งขนาดยาที่ควรจะได้รับในแต่ละวันออกเป็นหลาย ๆ ครั้ง เช่น ถ้าเด็กควรจะได้รับวันละ 0.5 มิลลิกรัมฟลูออไรด์ ควรแบ่งให้ 0.25 มิลลิกรัมฟลูออไรด์ เช้า 1 ครั้ง และเย็น 1 ครั้ง จะได้ผลในการป้องกันดีกว่า
  • แนะนาให้อมฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทาน เพื่อให้ยาสัมผัสฟันก่อนกลืน หรือละลายน้าแล้วให้ดื่มทีละน้อยจนหมด

หมายเหตุ
– กรุงเทพมหานครมีปริมาณฟลูออไรด์ในน้าประปา 0.12 ± 0.4 ส่วนในล้านส่วน
– องค์การอาหารและยาได้มีข้อกำหนดให้น้าดื่มบรรจุขวดมีฟลูออไรด์ได้ไม่เกิน 0.7 ส่วนในล้านส่วน
– ข้อมูลฟลูออไรด์ในน้าบริโภคสามารถหาได้ที่ www.dental.anamai.moph.go.th

ตารางที่ 4 การจ่ายฟลูออไรด์เสริม

ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ

นอกจากการใช้ ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ แล้ว การทานอาหารก็ส่งผลต่อสุขภาพฟันเช่นกัน  และการใส่ใจพบทันตแพทย์ก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญ เพราะทันตแพทย์เฉพาะทางจะช่วยให้คุณทราบถึงการดูแลและปัญหาที่เกิดขึ้นกับฟันของลูกคุณ ได้อย่างตรงจุด อย่าลืมพาลูกน้อยมาตรวจสุขภาพฟันและหมั่นแปรงฟันทุกวันหลังอาหารนะคะ

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ แนวทางการใช้ฟลูออไรด์ 2560

และ www.ldcdental.com , www.si.mahidol.ac.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up