ทารกมองเห็นตอนไหน …เด็กแรกเกิดจะเริ่มใช้สายตาตั้งแต่สัปดาห์แรกที่เกิดมา การช่วยฝึกสายตาและการมองให้ลูกจะช่วยพัฒนาการลูกได้มากทีเดียว การมองไม่เหมือนกับการได้ยิน ซึ่งทารกเริ่มใช้ได้ตั้งแต่อยู่ในท้อง
เคยสงสัยไหมคะว่าเด็กทารกแรกเกิดเขาสามารถมองเห็นได้ไกลแค่ไหน และเด็กทารกชอบมองอะไรเป็นพิเศษ วันนี้เรามีผลการวิจัยที่จะบอกได้ว่า เด็กทารกแรกเกิดนั้นสามารถมองเห็นได้แค่ไหน และพวกเขาชอบมองอะไรค่ะ
เด็กทารกชอบมองอะไรมากที่สุด
โดยธรรมชาติของเด็กแล้ว ใบหน้าของแม่คือสิ่งที่เด็กทุกคนชอบมองมากที่สุด เพราะเคลื่อนไหวไปมาได้ เป็นของเล่นของลูกได้ทุกเมื่อ แต่คุณแม่คงจะเหนื่อยถ้าจะต้องเล่นกับลูกตลอดเวลา มาหาผู้ช่วยกันดีกว่าค่ะ
นอกจากหน้าพ่อแม่แล้ว ลูกจะชอบมองสิ่งของที่มีรูปทรงซับซ้อนและมีสีสันสะดุดตา คุณพ่อคุณแม่อาจทดสอบสิ่งนี้ได้ด้วยการนำเอาสิ่งของที่แตกต่างกัน 2 แบบ อย่างแรกเป็นสิ่งของที่มีสีสันธรรมดา อีกแบบเป็นลวดลาย สีสดใส คุณจะเห็นว่าลูกจะมองสิ่งหลังมากกว่าค่ะ เพราะสะดุดตากว่านั่นเอง
Must read : โมบายสีขาว ดำ แดง กระตุ้นสมอง การมอง และสมาธิ ให้ลูกน้อย
Must read : แม่ท้องฟังเพลง คลาสสิค-โมสาร์ท ช่วยให้ทารกฉลาดขึ้นจริงหรือ?
Must read : พัฒนาการของทารกในครรภ์ ตั้งแต่ปฏิสนธิ จนกระทั่งเกิด (มีคลิป)
มีผลการวิจัยจาก Dr. Robert Fantz นักวิจัยด้านพฤติกรรมทารก ท่านได้ศึกษาเรื่องเด็กทารกชอบมองอะไรและได้ทดสอบจนได้ผลที่น่าสนใจดังนี้
- เด็กทารกชอบมองใบหน้าของพ่อแม่ที่แสดงออกถึงความรัก ความอ่อนโยน เพราะเวลาที่เด็กทารกมองนั้น เด็กจะมองจ้องที่ดวงตาของพ่อและแม่ เพราะรอยยิ้มและแววตาที่อ่อนโยนของพ่อแม่นั้นสร้างความอบอุ่นใจให้กับทารก
- เด็กทารกชอบมองวัตถุที่เคลื่อนไหวมากกว่าวัตถุที่อยู่นิ่งๆ
- เด็กทารกชอบมองวัตถุที่มีสีตัดกันชัดเจน เช่น สีดำตัดกับสีขาว
- เด็กทารกชอบมองวัตถุ 3 มิติมากกว่า 2 มิติ
ทารกมองเห็นตอนไหน
และนี่คือสายตาของเด็กทารกที่มองเห็นพ่อแม่ในแต่ละเดือน
เด็กทารกในช่วงขวบปีแรก จะมองเห็นสิ่งต่างๆ ไม่เหมือนกับที่ผู้ใหญ่เห็น แต่เมื่อเริ่มอายุเดือนมากขึ้น หนูน้อยก็จะมีสายตาที่คมชัดมากขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งเห็นพวกเราได้อย่างชัดเจนตอนอายุครบ 1 ปี
โดยหลังจากที่ทารกได้คลอดออกมาแล้ว โดยปกติเด็กทารกจะสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ในระยะ 1 ฟุต และสามารถจ้องมองสิ่งต่างๆ ค้างได้นานประมาณ 4-10 วินาที
ทารกแรกเกิดสามารถจดจำหน้าพ่อแม่ได้ภายใน 4 วันหลังคลอด พออายุ 1 เดือน เด็กทารกจะสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ในระยะ 15 นิ้ว ซึ่งการพัฒนาของการมองเห็นของลูกนั้นจะสามารถลำดับขั้นได้ดังนี้…
ระบบการมองเห็นและเทคนิคกระตุ้นการมองเห็นของลูกแต่ละช่วงวัย
โรเมช แอนกูนาเวลา ที่ปรึกษาด้านการผ่าตัดสายตาจากโรงพยาบาลตามัวร์ฟิลด์ ในลอนดอนได้จับมือกับคลินิกสายตา Clinic Compare ทำภาพเปรียบเทียบ พัฒนาการการมองเห็นของเด็กทารกทุกๆ เดือน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 1 ขวบ แล้วคุณจะรู้ว่า เด็กทารกมองเห็นโลกเป็นอย่างไรในแต่ละเดือน
2-3 วันแรก
เด็กจะยังไม่มอง ไม่มีโฟกัส คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องตกใจไปเพราะ 2-3 วันแรกเด็กจะยังโฟกัสไม่ได้ เมื่อมองหน้าแม่ก็จะเห็นเป็นแบบลาง ๆ เท่านั้นเอง ส่วนใหญ่ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีการตรวจตาเด็กตั้งแต่วันแรกที่เด็กคลอดออกมา เพราะจริง ๆ แล้วเราสามารถตรวจพบภาวะต้อกระจกได้ตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งถ้าต้อกระจกนี้เกิดขึ้นในเด็กแล้วจะส่งผลให้เด็กเกิดภาวะตาเหล่ ตาสั่น (ตาไม่อยู่นิ่ง สั่นตลอดเวลา) ภาวะตาขี้เกียจ หรือพัฒนาไปเป็นต้อหินได้
สัปดาห์แรก
มีระยะโฟกัสของเด็กจะอยู่แค่ 8-10 ลูกจะมองเห็นเป็นสีเทา ๆ เห็นหน้าแม่ราง ๆ เราพบว่าถ้าแม่เลี้ยงลูกด้วยการให้นมแม่ ให้นมทางซ้ายบ้างทางขวาบ้าง โดยที่แม่ไม่ได้เปลี่ยนทรงผมมาก เด็กจะจำหน้าแม่ได้เร็ว แล้วสิ่งนั้นจะส่งผลต่อพัฒนาการของลูกเป้นอย่างมามาก แล้วด้วยความที่เด็กยังมองเห็นไม่ชัด เป็นแค่โครงร่างสีเทา ๆ เมื่อเด็กเห็นโครงหน้าแม่แบบเดิม ๆ เขาก็จะจำได้ แล้วเมื่อมีคนอื่นที่ไม่ใช่แม่มาอุ้มเขาก็จะรู้ว่านี่ไม่ใช่แม่
- กระตุ้นพัฒนาการลูก วิธีที่จะช่วยกระตุ้นการมองเห็นเมื่อแรกเกิดที่ดีคือแม่ควรเป็นคนเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง แล้วก็เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ควรเปลี่ยนทรงผมบ่อย ควรทำทรงผมทรงเดิม ลูกจะจดจำได้ง่ายขึ้น
Must read : after birth 8 อาการลูกแรกเกิด แม่ (ไม่ต้อง) กังวล
1 เดือน
ในช่วง 1 เดือนแรกลูกอาจมีอาการตาเหล่ได้นิดหน่อย ทั้งตาเหล่เข้าในและออกนอก แต่ภาวะนี้จะหายไปเองเมื่ออายุ 2- 3 เดือน ยกเว้นว่าเหล่แบบที่ตาดำหายไปเลย อาการนี้ต้องรีบพาไปพบแพทย์ โดยสิ่งที่ลูกมองเห็นจะเป็นภาพสีขาวดำ และสายตาของเด็กยังไม่สามารถโฟกัสได้
- กระตุ้นพัฒนาการลูก ควรตกแต่งห้องด้วยสีสว่าง ๆ แขวนปลาตะเพียนหรือโมบายที่เป็นสีสันสดใส โดยเฉพาะสีแดง สีส้ม สีเหลือง สีเขียว ซี่งเด็กจะสามารถมองเห็นได้ดี ให้ขยับไปขยับมาในระยะประมาณ 1 ฟุต จะเป็นการกระตุ้นการมองเห็นของเด็กได้
2-3 เดือน
จากภาพที่เห็นราง ๆ ก็จะเริ่มมองเห็นได้ดีขึ้น เริ่มเป็นรูปร่าง เริ่มกลอกตาซ้ายขวาได้ การมองเห็นก็จะเริ่มดีขึ้น ในช่วงวัยนี้เด็กควรจะมองหน้าแม่แล้ว พอแม่ยิ้มเขาควรจะยิ้มตอบ ภาวะตาเหล่นิดหน่อยที่เห็นในช่วงเดือนแรกควรจะหายไป ตาควรจะอยู่ตรงกลาง ไม่ควรมีอาการตาสั่น เพราะถ้ายังสั่นน่าจะมีพยาธิสภาพเกิดขึ้น อาจเกิดจากลูกตาหรือระบบประสาท ถ้ายังมีอาการอยู่ควรพาไปพบแพทย์
- กระตุ้นพัฒนาการลูก ควรหาวัสดุใหม่ ๆ เข้ามาแต่งห้องให้มีสีสันเพิ่มมากขึ้น คุณแม่ควรจะพูดกับลูก เวลาเราเดินไปรอบ ๆ ห้องควรพูดกับเขาด้วย เพื่อฝึกเด็กในเรื่องการได้ยินและการมองตามคุณแม่
Must read : จุดบอบบางของลูก ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
Must read : ไขข้อสงสัย! ทารกแรกเกิดควรมีน้ำหนักเท่าไหร่?
อ่านต่อ >> “นี่คือสายตาของเด็กทารกที่มองเห็นพ่อแม่ในเดือนที่ 4-6” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
4-6 เดือน
เด็กจะเห็นภาพได้คมชัดดีใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ และมีพัฒนาการในการมองควบคู่กับการใช้มือหยิบจับ ในประเทศที่พัฒนาแล้วแนะนำให้เด็กได้รับการตรวจตา ถามว่าทำไมเด็กตัวแค่นี้ต้องตรวจตาด้วย เพราะอาจจะพบอุบัติการณ์ของมะเร็งจอตาได้ เพื่อการรักษาที่รวดเร็วหากเจอตั้งแต่เริ่มต้น ยังเป็นแค่จุดเล็ก ๆ เราสามารถรักษาด้วยการยิงเลเซอร์ก็อาจจะหายได้
- กระตุ้นพัฒนาการลูก ของเล่นต่าง ๆ ควรวางในระยะที่เขาเอื้อมถึงก็จะเป็นการกระตุ้นการมองเห็นของเขา ทั้งฝึกการมองและกล้ามเนื้อของเขา แล้วเขาก็จะเรียนรู้พื้นผิวของเล่น ฉะนั้นของเล่นควรเลือกแบบพื้นผิวไม่เรียบ และสีก็เป็นแบบปราศจากสารพิษตกค้าง
Must read : เผยรายชื่อ 10 ของเล่นอันตราย ประจำปี 2016
Must read : การเลือกของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
7-12 เดือน
การมองเห็นเริ่มดีขึ้น ตา 2 ข้างเริ่มทำงานประสานกัน มีการทำงานของมือที่ประสานกับการทำงานของตาได้ดีขึ้น
- กระตุ้นพัฒนาการลูก คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้ด้วยการคลานเล่นกับลูก แล้วก็หาของเล่นที่มีสีสันแต่ไม่แหลมคม เช่น บล็อกไม้ ตัวต่อ เด็กก็จะรู้สึกสนุก และอยากที่จะเล่น เอาของเล่นวางไว้แล้วให้ลูกคลานไปหยิบก็เป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อให้มีการเคลื่อนไหวด้วย
สำหรับเด็กวัย 1-2 ขวบขึ้นไป จะเป็นช่วงเริ่มหัดเดิน การมองเห็นต่าง ๆ ก็จะเริ่มดีขึ้น ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่มาก แต่ช่วงวัยนี้สิ่งที่เราจะพบเจอได้บ่อยก็คือ ภาวะตาเหล่ ซึ่งเกิดจากภาวะสายตายาว ซึ่งถ้าพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด อาจจะให้ใส่แว่นสายตาเพื่อปรับระยะการมองเห็น ทั้งนี้ในวัย 3 ขวบขึ้นไป เป็นช่วงวัยที่เด็กจะเริ่มแสดงความผิดปกติทางสายตาออกมาให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น โดยปัญหาสายตาในเด็กเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ กรรมพันธุ์ และสิ่งแวดล้อม
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- เช็ดดวงตา และใบหูลูกน้อยทารก (มีคลิป)
- เช็คตาบอดสีในเด็กเล็ก
- เผยเคล็ดลับ! ส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยเริ่มที่พ่อแม่
- รวม 10 เรื่องที่คุณอาจไม่รู้ว่า สืบทอดผ่านยีนของพ่อแม่ได้
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : www.babytrick.com