


4-6 เดือน
เด็กจะเห็นภาพได้คมชัดดีใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ และมีพัฒนาการในการมองควบคู่กับการใช้มือหยิบจับ ในประเทศที่พัฒนาแล้วแนะนำให้เด็กได้รับการตรวจตา ถามว่าทำไมเด็กตัวแค่นี้ต้องตรวจตาด้วย เพราะอาจจะพบอุบัติการณ์ของมะเร็งจอตาได้ เพื่อการรักษาที่รวดเร็วหากเจอตั้งแต่เริ่มต้น ยังเป็นแค่จุดเล็ก ๆ เราสามารถรักษาด้วยการยิงเลเซอร์ก็อาจจะหายได้
- กระตุ้นพัฒนาการลูก ของเล่นต่าง ๆ ควรวางในระยะที่เขาเอื้อมถึงก็จะเป็นการกระตุ้นการมองเห็นของเขา ทั้งฝึกการมองและกล้ามเนื้อของเขา แล้วเขาก็จะเรียนรู้พื้นผิวของเล่น ฉะนั้นของเล่นควรเลือกแบบพื้นผิวไม่เรียบ และสีก็เป็นแบบปราศจากสารพิษตกค้าง
Must read : เผยรายชื่อ 10 ของเล่นอันตราย ประจำปี 2016
Must read : การเลือกของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก




7-12 เดือน
การมองเห็นเริ่มดีขึ้น ตา 2 ข้างเริ่มทำงานประสานกัน มีการทำงานของมือที่ประสานกับการทำงานของตาได้ดีขึ้น
- กระตุ้นพัฒนาการลูก คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้ด้วยการคลานเล่นกับลูก แล้วก็หาของเล่นที่มีสีสันแต่ไม่แหลมคม เช่น บล็อกไม้ ตัวต่อ เด็กก็จะรู้สึกสนุก และอยากที่จะเล่น เอาของเล่นวางไว้แล้วให้ลูกคลานไปหยิบก็เป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อให้มีการเคลื่อนไหวด้วย
สำหรับเด็กวัย 1-2 ขวบขึ้นไป จะเป็นช่วงเริ่มหัดเดิน การมองเห็นต่าง ๆ ก็จะเริ่มดีขึ้น ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่มาก แต่ช่วงวัยนี้สิ่งที่เราจะพบเจอได้บ่อยก็คือ ภาวะตาเหล่ ซึ่งเกิดจากภาวะสายตายาว ซึ่งถ้าพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด อาจจะให้ใส่แว่นสายตาเพื่อปรับระยะการมองเห็น ทั้งนี้ในวัย 3 ขวบขึ้นไป เป็นช่วงวัยที่เด็กจะเริ่มแสดงความผิดปกติทางสายตาออกมาให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น โดยปัญหาสายตาในเด็กเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ กรรมพันธุ์ และสิ่งแวดล้อม
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- เช็ดดวงตา และใบหูลูกน้อยทารก (มีคลิป)
- เช็คตาบอดสีในเด็กเล็ก
- เผยเคล็ดลับ! ส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยเริ่มที่พ่อแม่
- รวม 10 เรื่องที่คุณอาจไม่รู้ว่า สืบทอดผ่านยีนของพ่อแม่ได้
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : www.babytrick.com